กรุงเทพโพลล์: ท่วม...ทุกข์...คนไทย

ข่าวผลสำรวจ Monday November 2, 2020 08:54 —กรุงเทพโพลล์

จากสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดในประเทศไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 72.5 มีความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจและเกษตรกรรมในพื้นที่ประสบภัย จะย่ำแย่ โดยร้อยละ 70.9 เห็นการเตรียมการรับมือน้ำท่วมในครั้งนี้ผ่านการแจ้งเตือนคนในพื้นที่เสี่ยงจาก กรมอุตุศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทั้งนี้ร้อยละ 53.3 เห็นการ ให้ความช่วยเหลือเยียวยาจากทุกภาคส่วนด้วยการแจกถุงยังชีพ และเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ส่วนร้อยละ 61.6 ระบุว่ามีส่วนร่วมต่อ การรณรงค์ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ต่อสถานการณ์น้ำท่วม ด้วยการส่งกำลังใจและความห่วงใยผ่านทางความรู้สึก

เนื่องจากในขณะนี้ หลายๆ จังหวัดของประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมจากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง ?ท่วม...ทุกข์...คนไทย? โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,184 คน พบว่า

เรื่องที่ประชาชน วิตกกังวลต่อสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดของประเทศมากที่สุดร้อยละ 72.5 คือ เศรษฐกิจและเกษตรกรรมในพื้นที่ย่ำแย่ รองลงมา ร้อยละ 48.8 ระบุว่าภาวะติดเชื้อจากโรคระบาด เชื้อโรคที่มากับน้ำ และสัตว์มีพิษ และร้อยละ 48.6 คือ ประชาชน/ครัวเรือน ยกของ ขนของไม่ทัน

เมื่อถามว่า ?เห็นการเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำท่วม จากทุกภาคส่วนอย่างไร? ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.9 ระบุว่า เห็นการแจ้งเตือนคนในพื้นที่ เสี่ยงจาก กรมอุตุฯ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ฯลฯ รองลงมาร้อยละ 66.5 ระบุว่าเห็นการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเตรียมรับมือ และร้อยละ 39.1 ระบุว่า เห็นการแจ้งเตือนจากผู้นำท้องถิ่นให้เตรียมอาหาร น้ำดื่ม ขนย้ายของ สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร

ส่วนการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาน้ำท่วม จากทุกภาคส่วนอย่างไร นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.3 ระบุว่า เห็นความรวดเร็วในการแจกถุงยังชีพ และ เครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัยจากภาคส่วนต่างๆ รองลงามาร้อยละ 49.6 ระบุว่า เห็นการเร่งระบายน้ำให้ลดโดยเร็ว สามารถเปิดเส้นทางสัญจรได้ และร้อยละ 46.1 ระบุว่า เห็นการตั้งจุดรับบริจาคสิ่งของ น้ำ อาหาร แก่ผู้ประสบภัย

สำหรับการมีส่วนร่วมต่อการรณรงค์ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ต่อสถานการณ์น้ำท่วม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.6 ระบุว่า ได้ส่งกำลังใจและความห่วงใยผ่าน ความรู้สึก รองลงมาร้อยละ 34.5 ระบุว่า ได้บริจาคเงิน อาหาร เรือ สิ่งของเครื่องใช้ ผ่านช่องทางต่างๆ และร้อยละ 19.5 ระบุว่า ได้ส่ง SMS โพสต์ แชร์ ส่งข่าว เหตุการณ์น้ำท่วมในโลกโซเชียล

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. เรื่องที่วิตกกังวลต่อสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดของประเทศ (เลือกตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
เศรษฐกิจ และ เกษตรกรรม ในพื้นที่ย่ำแย่                                                  ร้อยละ 72.5
ภาวะติดเชื้อจากโรคระบาด เชื้อโรคที่มากับน้ำ และสัตว์มีพิษ                                     ร้อยละ 48.8
ประชาชน/ครัวเรือน ยกของ ขนของไม่ทัน                                                  ร้อยละ 48.6
พายุฝนที่มาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้สถานการณ์ หนักหน่วง น้ำล้นทะลัก                               ร้อยละ 43.3
พื้นที่น้ำท่วม ขยายวงกว้างขึ้น                                                            ร้อยละ 42.2
อุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์น้ำท่วม                                                   ร้อยละ 29.4
สถานที่สำคัญได้รับความเสียหาย                                                          ร้อยละ 28.7

2. ท่านเห็นการเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำท่วม จากทุกภาคส่วนอย่างไร (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
การแจ้งเตือนคนในพื้นที่เสี่ยงจาก กรมอุตุฯ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ฯลฯ                           ร้อยละ 70.9
การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเตรียมรับมือ                      ร้อยละ 66.5
การแจ้งเตือนจากผู้นำท้องถิ่นให้เตรียมอาหาร น้ำดื่ม ขนย้ายของ สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร           ร้อยละ 39.1
การขุดลอกคูคลองไม่ให้ตื้นเขิน เพื่อรองรับการระบายน้ำ                                        ร้อยละ 30.4
การนำถุงทรายมากั้น เพื่อป้องกันน้ำท่วม                                                    ร้อยละ 25.7
กำชับโรงพยาบาลเตรียมความพร้อม ขนย้ายยาและเวชภัณฑ์ ไม่ให้กระทบบริการ                       ร้อยละ 20.0


3. ท่านเห็น การให้ความช่วยเหลือ เยียวยาน้ำท่วม จากทุกภาคส่วนอย่างไร (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ) ความรวดเร็วในการแจกถุงยังชีพ และเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย
จากภาคส่วนต่างๆ                                                                    ร้อยละ 53.3
การเร่งระบายน้ำให้ลดโดยเร็ว สามารถเปิดเส้นทางสัญจรได้                                    ร้อยละ 49.6
การตั้งจุดรับบริจาคสิ่งของ น้ำ อาหาร แก่ผู้ประสบภัย                                          ร้อยละ 46.1
การลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ของ นายกรัฐมนตรี  ผู้ว่าฯ และส.ส.ในพื้นที่                           ร้อยละ 43.6
การสกัดน้ำไม่ให้ทะลักไปท่วมพื้นที่อื่น                                                       ร้อยละ 30.6
เปิดบัญชีรับบริจาคเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม                                                    ร้อยละ 31.0
การซ่อมแซมบ้านเรือน โรงเรียน ถนนหนทางให้กลับสู่สภาพเดิม                                   ร้อยละ 23.6

4. ท่านมีส่วนร่วมต่อการรณรงค์ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ต่อสถานการณ์ น้ำท่วมอย่างไร (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)
ส่งกำลังใจและความห่วงใยผ่านความรู้สึก                                                   ร้อยละ 61.6
บริจาคเงิน อาหาร เรือ สิ่งของเครื่องใช้ ผ่านช่องทางต่างๆ                                    ร้อยละ 34.5
ส่ง SMS โพสต์ แชร์ ส่งข่าว เหตุการณ์น้ำท่วมในโลกโซเชียล                                    ร้อยละ 19.5
เดินทางไปร่วมเป็นอาสาสมัคร บรรเทาภัย                                                  ร้อยละ  5.9
ไม่มีส่วนร่วมใดๆ                                                                     ร้อยละ 12.6
?
รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความกังวล ที่มีต่อสถานการณ์น้ำท่วมตามจังหวัดต่างๆในขณะนี้ ตลอดจนการเตรียมรับมือ การช่วยเหลือ และการ มีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวง มหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 26-28 ตุลาคม 2563

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 1 พฤศจิกายน 2563

ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ