กรุงเทพโพลล์: สภาวการณ์ทางการเงินของคนไทย ในปี 2563

ข่าวผลสำรวจ Monday November 16, 2020 11:32 —กรุงเทพโพลล์

คนไทยร้อยละ 41.4 ระบุว่าภาพรวมทางการเงินในปีนี้ มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม รองลงมาร้อยละ 28.3 ระบุว่า มีรายได้ไม่เพียงพอต้อง หยิบยืม/กู้เงิน โดยร้อยละ 61.3 ระบุว่าปัจจัยที่ทำให้มีเงินออมลดลง/ไม่พอเก็บออม/รายได้ไม่เพียงพอ มาจากข้าวของเครื่องใช้ประจำวันมีราคาแพงขึ้น

ทั้งนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.7 เลือกใช้วิธีใช้จ่ายให้ประหยัดขึ้น และคิดก่อนซื้อ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยร้อยละ 80.8 ระบุว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องคงไว้มากที่สุดคือ หมวดค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง ? สภาวการณ์ทางการเงินของคนไทย ในปี 2563 ? โดยเก็บ ข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,221 คน พบว่า

ภาพรวมทางการเงินของคนไทยในปีนี้ ร้อยละ 41.4 ระบุว่า มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม รองลงมาร้อยละ 28.3 ระบุว่า มีรายได้ไม่เพียงพอ ต้องหยิบยืม/กู้เงิน และร้อยละ 17.6 ระบุว่า มีรายได้เพียงพอ แต่มีเงินออมลดลง

ส่วนปัจจัยที่ทำให้มีเงินออมลดลง/ไม่พอเก็บออม/รายได้ไม่เพียงพอในปัจจุบัน นั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.3 ระบุว่าข้าวของเครื่องใช้ประจำวันมีราคาแพงขึ้น รองลงมาร้อยละ 36.8 ระบุว่าต้องผ่อนรถ/ผ่อนบ้าน และร้อยละ 29.3 ระบุว่ามีลูกค้าน้อยลง ธุรกิจแย่/ค้าขายไม่ดี

สำหรับวิธีจัดการ/ปรับวิธีใช้จ่ายเงินเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในการใช้จ่ายท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.7 ระบุว่า ใช้จ่ายให้ ประหยัดขึ้น และคิดก่อนซื้อ รองลงมา ร้อยละ 55.7 ระบุว่า ใช้วิธีลดการทานอาหารนอกบ้าน ลดปริมาณการท่องเที่ยว และร้อยละ 22.7 ระบุว่าใช้วิธีหารายได้พิเศษ เช่น ขายของออนไลน์ ขายของตลาดนัด ขับรถส่งสินค้า ฯลฯ

ทั้งนี้เมื่อถามว่า ?ในสภาวการณ์แบบนี้หากต้องคงไว้ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ท่านจะคงหมวดใดไว้มากที่สุด? โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 80.8 ระบุว่าหมวด ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ รองลงมาร้อยละ 73.3 ระบุว่าหมวดค่าอาหาร เครื่องใช้ต่างๆ และร้อยละ 43.8 ระบุว่าหมวด ค่าการศึกษาของตนเองและ บุตรหลาน

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ภาพรวมทางการเงินของท่านในปีนี้เป็นอย่างไร
มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม                       ร้อยละ  41.4
มีรายได้ไม่เพียงพอต้องหยิบยืม/กู้เงิน                          ร้อยละ  28.3
มีรายได้เพียงพอ แต่มีเงินออมลดลง                           ร้อยละ  17.6
มีรายได้เพียงพอ มีเงินออมตามเป้าทุกเดือน                     ร้อยละ  12.7

2. ปัจจัยใดที่ทำให้มีเงินออมลดลง/ไม่พอเก็บออม/รายได้ไม่เพียงพอในปัจจุบัน (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)
ข้าวของเครื่องใช้ประจำวันมีราคาแพงขึ้น                       ร้อยละ  61.3
ต้องผ่อนรถ/ผ่อนบ้าน                                      ร้อยละ  36.8
ลูกค้าน้อยลง ธุรกิจย่ำแย่/ค้าขายไม่ดี                          ร้อยละ  29.3
มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการดูแลผู้สูงอายุ คนป่วย คนพิการ               ร้อยละ  26.0
ตนเอง/คนในครอบครัวตกงาน/ถูกเลิกจ้าง                      ร้อยละ  21.4
พืชผลทางการเกษตรเสียหาย/ราคาตก                         ร้อยละ  20.6
ถูกลดเงินเดือน/ลดโอที/ลดวันทำงาน                          ร้อยละ  15.1
ผ่อนสินค้า/ผ่อนบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น                             ร้อยละ  13.7
มีค่าเดินทางแต่ละวันเพิ่มขึ้น                                 ร้อยละ  12.8
จ่ายดอก จ่ายหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น                             ร้อยละ  10.2
ถูกโกงเงิน/ถูกเบี้ยวเงิน                                   ร้อยละ   6.1

3. วิธีจัดการ/ปรับวิธีใช้จ่ายเงินเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในการใช้จ่าย ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)
ใช้จ่ายประหยัดขึ้น คิดก่อนซื้อ                                ร้อยละ  81.7
ลดการทานอาหารนอกบ้าน ลดปริมาณการท่องเที่ยว                ร้อยละ  55.7
หารายได้พิเศษ เช่น ขายของออนไลน์ ขายของตลาดนัด            ร้อยละ  22.7
ขับรถส่งของ ฯลฯ
กู้เงินนอกระบบ/ในระบบ                                   ร้อยละ  15.7
ลดการสต็อกสินค้าไว้ขาย  เพราะลูกค้าลดลง                    ร้อยละ   6.9
ลงทุนทำธุรกิจระยะสั้นที่ได้ผลตอบแทนสูง                        ร้อยละ   3.9
ใช้จ่ายปกติ ตามเดิม ไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม                     ร้อยละ  11.8

4. ในสภาวการณ์แบบนี้หากต้องคงไว้ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ท่านจะคงหมวดใดไว้มากที่สุด (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)
ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์      ร้อยละ  80.8
ค่าอาหาร เครื่องใช้ต่างๆ                                  ร้อยละ  73.3
การศึกษาของตนเอง และ บุตรหลาน                          ร้อยละ  43.8
ค่าผ่อนบ้าน/ผ่อนรถ                                       ร้อยละ  35.2
ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต                                  ร้อยละ  27.5
ค่าเดินทาง                                             ร้อยละ  25.8
ค่ารักษาพยาบาล                                         ร้อยละ  18.7
อื่นๆ อาทิ ค่าชำระหนี้ ค่าผ่อนสินค้า ค่าต้นทุนในการผลิตสินค้า ฯลฯ    ร้อยละ   2.0

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ สภาวการณ์ทางการเงินในปี 2563 วิธีการจัดการหรือปรับวิธีใช้จ่ายเงินให้สามารถมีเงินหมุนเวียนในการ ใช้จ่ายท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธี การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวง มหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 9 -11 พฤศจิกายน 2563

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 14 พฤศจิกายน 2563

ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ