กรุงเทพโพลล์: พ่อค้าแม่ค้าว่าไง...การขายในโครงการคนละครึ่ง

ข่าวผลสำรวจ Monday November 30, 2020 08:27 —กรุงเทพโพลล์

พ่อค้า แม่ค้าส่วนใหญ่ร้อยละ 88.3 พอใจโครงการคนละครึ่งช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมยอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 30.2 ร้อยละ 68.0 ชี้ข้อดีที่ได้จากโครงการฯ ทำให้เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น และร้อยละ 61.2 ทำให้สะดวก รวดเร็วเวลาจ่ายเงิน ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.5 เห็นว่าใน ภาพรวมโครงการคนละครึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด โดยพ่อค้า แม่ค้าวอนอยากให้มีการขยายระยะเวลาโครงการต่อไปอีก และอยาก ให้เพิ่มคนเข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่ร้อยละ 97.9 พร้อมเข้าร่วมโครงการฯ หากมีอีกในปีหน้า

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง ?พ่อค้าแม่ค้าว่าไง...การขายในโครงการคนละครึ่ง? โดยเก็บข้อมูลจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ร้านค้าที่ตอบแบบสอบถามมากที่สุดคือ ร้านอาหารทั่วไปคิดเป็นร้อยละ 44.3 รองลงมาคือ ร้านสะดวกซื้อ คิดเป็นร้อยละ 10.0 และร้านขายเครื่องดื่มและร้านขายเสื้อผ้ามีร้อยละ 9.7 เท่ากัน

เมื่อถามว่าโครงการคนละครึ่ง ช่วยทำให้ยอดขายเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.3 เห็นว่าช่วยทำให้ขายได้เพิ่มขึ้น (โดยในภาพรวมยอดขาย เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 30.2) ส่วนร้อยละ 11.2 เห็นว่าขายได้เท่าเดิม และร้อยละ 0.5 เห็นว่าขายได้ลดลง (โดยในภาพรวมยอดขายลดลงเฉลี่ยร้อยละ 7.1)

ส่วนความเห็นต่อโครงการคนละครึ่งมีผลอย่างไรบ้าง นอกเหนือจากการกระตุ้นยอดขาย ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.0 เห็นว่าทำให้เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น รองลงมาร้อยละ 61.2 เห็นว่าทำให้สะดวก รวดเร็วเวลาจ่ายเงิน และร้อยละ 57.3 เห็นว่าทำให้ใช้แอพพลิเคชั่นโอน -ถอนเงินเป็น

เมื่อถามความเห็นต่อภาพรวมโครงการคนละครึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประเทศได้มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.5 เห็นว่าช่วยได้ค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด ส่วนร้อยละ 35.8 เห็นว่าช่วยได้ระดับปานกลาง ขณะที่มีเพียงร้อยละ 0.7 เห็นว่าช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

สำหรับเรื่องที่อยากเสนอแนะให้ปรับปรุงพบว่า อยากให้มีการขยายระยะเวลาโครงการต่อไปอีกคิดเป็นร้อยละ 28.5 รองลงมาคือ อยากให้เพิ่มจำนวน คนเข้าร่วมโครงการ ให้ทุกคนเข้าถึงสิทธิ์ได้ คิดเป็นร้อยละ 21.0 และอยากให้ปรับปรุงไม่ให้แอปฯล่ม ให้แก้ปัญหาสแกน QR code จ่ายเงินให้เร็วกว่านี้ คิดเป็น ร้อยละ 17.8

สุดท้ายเมื่อถามว่าหากมีมาตรการแบบโครงการคนละครึ่งอีกในปีหน้า ท่านจะเข้าร่วมหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 97.9 ระบุว่าจะเข้าร่วม ส่วนร้อยละ 1.9 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ ขณะที่มีเพียงร้อยละ 0.2 ระบุว่าจะไม่เข้าร่วม

รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้

1. ประเภทร้านที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง
ร้านขายอาหารทั่วไป                                                  ร้อยละ  44.3
ร้านสะดวกซื้อ                                                       ร้อยละ  10.0
ร้านขายเครื่องดื่ม                                                    ร้อยละ   9.7
ร้านขายเสื้อผ้า                                                      ร้อยละ   9.7
ร้านขายของสด เช่น หมู ไก่ ผัก                                         ร้อยละ   9.5
ร้านขายผลไม้                                                       ร้อยละ   5.6
ร้านธงฟ้า                                                          ร้อยละ   1.7
ร้าน OTOP                                                         ร้อยละ   1.2
อื่นๆ อาทิเช่น ร้านขายยา เครื่องสำอาง แว่นตา เครื่องใช้ไฟฟ้า                 ร้อยละ   8.3

2. ข้อคำถาม ?โครงการคนละครึ่ง ช่วยทำให้ยอดขายเป็นอย่างไร?
ขายได้เพิ่มขึ้น                                                       ร้อยละ  88.3

โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 30.2

ขายได้เท่าเดิม                                                      ร้อยละ  11.2
ขายได้ลดลง
          โดยลดลงเฉลี่ยร้อยละ 7.1                                   ร้อยละ   0.5

3. ความเห็นต่อโครงการคนละครึ่งมีผลอย่างไรบ้าง นอกเหนือจากการกระตุ้นยอดขาย(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ทำให้เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น                                           ร้อยละ  68.0
ทำให้สะดวก รวดเร็วเวลาจ่ายเงิน                                       ร้อยละ  61.2
ทำให้ใช้แอพพลิเคชั่นโอน -ถอนเงินเป็น                                    ร้อยละ  57.3
ทำให้สังคมไร้เงินสดอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต                                 ร้อยละ  54.5
ทำให้ไม่จำเป็นต้องไปธนาคารบ่อยๆ                                       ร้อยละ  41.0
อื่นๆ เช่น ไม่มีแบงค์ปลอม                                              ร้อยละ   0.3


4. ความเห็นต่อภาพรวมโครงการคนละครึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประเทศได้มากน้อยเพียงใด
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                                                ร้อยละ  63.5
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 48.2 และมากที่สุดร้อยละ 15.3)
ปานกลาง                                                          ร้อยละ  35.8
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด                                                ร้อยละ   0.7
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 0.7 และน้อยที่สุดร้อยละ 0.0)

5. เรื่องที่อยากเสนอแนะให้ปรับปรุง (5 อันดับแรก)(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
อยากให้มีการขยายระยะเวลาโครงการต่อไปอีก                              ร้อยละ  28.5
อยากให้เพิ่มจำนวนคนเข้าร่วมโครงการ ให้ทุกคนเข้าถึงสิทธิ์ได้                   ร้อยละ  21.0
อยากให้ปรับปรุงไม่ให้แอปฯล่ม ให้แก้ปัญหาสแกน QR code จ่ายเงินให้เร็วกว่านี้      ร้อยละ  17.8
อยากให้เพิ่มยอดเงิน เพิ่มวงเงินในการใช้ให้มากกว่านี้                         ร้อยละ  13.5
อยากให้โอนเงินให้ร้านค้าเร็วกว่านี้                                       ร้อยละ   6.0

6. ข้อคำถาม ?หากมีมาตรการแบบโครงการคนละครึ่งอีกในปีหน้า ท่านจะเข้าร่วมหรือไม่?
เข้าร่วม                                                           ร้อยละ  97.9
ไม่เข้าร่วม                                                         ร้อยละ   0.2
ไม่แน่ใจ                                                           ร้อยละ   1.9

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนความเห็นของโครงการคนละครึ่ง ในประเด็นยอดขายของร้านค้าเป็นอย่างไร และผลที่ได้รับนอกเหนือจากการกระตุ้นยอดขาย

2) เพื่อสะท้อนภาพรวมโครงการคนละครึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประเทศได้มากน้อยเพียงใด

3) เพื่อสะท้อนถึงการเข้าร่วมอีกในปีหน้า และเรื่องที่อยากเสนอแนะให้ปรับปรุง

ประชากรที่สนใจศึกษา

สำรวจจากกลุ่มร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ในพื้นที่กรุงเทพฯ แบ่งพื้นที่การเก็บข้อมูลออกเป็น เขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต บางกะปิ บางขุนเทียน บางนา ประเวศ ราษฎร์บูรณะ วังทองหลาง และจังหวัดปริมณฑล 2 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ ได้กลุ่มตัวอย่างร้านค้าทั้งสิ้น 411 ร้าน

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ?5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20-25 พฤศจิกายน 2563

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 28 พฤศจิกายน 2563

ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ