เรื่องที่คนไทยมีความกังวลใจมากที่สุดจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ลักลอบเข้าประเทศ คือ กลัวจะมีรายอื่นๆ ที่ลักลอบเข้ามาแบบ เดียวกันอีกแต่ไม่กล้าเผยตัว โดยมีความกังวลเฉลี่ย 7.48 คะแนน จากเต็ม 10 คะแนน
โดยร้อยละ 85.9 วอนภาครัฐเข้มงวดเรื่องตรวจคนเข้าเมืองโดยเฉพาะบริเวณตะเข็บชายแดนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในประเทศ มากที่สุด
ทั้งนี้ร้อยละ 96.1 ระบุว่าจะมีส่วนร่วมในการป้องกันเพื่อไม่ให้มีคนป่วยเพิ่มขึ้นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง ทางสังคมอย่างเคร่งครัด
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง ? ความกังวลใจของคนไทยต่อ สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ลักลอบเข้าประเทศ ? โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,082 คน พบว่า ความกังวลใจของคนไทยต่อกรณีมีผู้ลัก ลอบเข้าไทยตามพรมแดนธรรมชาติ และติดเชื้อ COVID - 19 ในภาพรวมมีความกังวลเฉลี่ย 6.76 คะแนน จากเต็ม 10 คะแนน
โดยเรื่องที่มีความกังวลใจมากที่สุดคือ กลัวจะมีรายอื่นๆ ที่ลักลอบเข้ามาแบบเดียวกันอีกแต่ไม่กล้าเผยตัว ได้ค่าเฉลี่ย 7.48 คะแนน รองลง มาคือ กลัวการแพร่กระจายของเชื้อโรคจะขยายวงกว้างจนควบคุมไม่ได้ ได้ค่าเฉลี่ย 6.94 คะแนน กลัวจะกลับไปสู่สถานการณ์ Lock down ประเทศอีก ครั้งได้ค่าเฉลี่ย 6.92 คะแนน และกลัวจะมีการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 เหมือนกรณีสนามมวย ได้ค่าเฉลี่ย 6.88 คะแนน
ส่วนเรื่องที่อยากให้ภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในประเทศมากที่สุดคือ เข้มงวดเรื่องตรวจคนเข้าเมืองโดย เฉพาะบริเวณตะเข็บชายแดน และช่องทางธรรมชาติ ร้อยละ 85.9 รองลงมาคือ ลงโทษขั้นเด็ดขาดกับผู้ที่ฝ่าฝืน มาตรการป้องกัน COVID-19 ร้อยละ 74.5 และกลับมาเข้มงวดเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างทางสังคม ร้อยละ 68.3
เมื่อถามว่า ?ตัวท่านเองจะมีส่วนร่วมในการป้องกันเพื่อไม่ให้มีคนป่วยเพิ่มขึ้นได้อย่างไร? คนไทยส่วนใหญ่ ระบุว่า ป้องกันตัวเองด้วยการสวม หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 96.1 รองลงมาระบุว่า ไม่ไปในสถานที่ที่มีคนเยอะ พลุกพล่าน เพื่อลด ความเสี่ยง ร้อยละ 70.2 และระบุว่า วางแผนท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย ร้อยละ 64.4
ความกังวลใจ คะแนนเฉลี่ย
(เต็ม 10 คะแนน)
กลัวจะมีรายอื่นๆ ที่ลักลอบเข้ามาแบบเดียวกันอีกแต่ไม่กล้าเผยตัว 7.48 กลัวการแพร่กระจายของเชื้อโรคจะขยายวงกว้างจนควบคุมไม่ได้ 6.94 กลัวจะกลับไปสู่สถานการณ์ Lock down ประเทศอีกครั้ง 6.92 กลัวจะมีการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 เหมือนกรณีสนามมวย 6.88 กลัวโรงแรม รถทัวร์ ตั๋วเครื่องบิน ในจังหวัดที่พบผู้ป่วย ถูกยกเลิก ไม่มีคนไป 6.74 กลัวลูกหลานต้องหยุดเรียนเหมือนช่วงที่ผ่านมา 6.66 กลัวอุปกรณ์ทางการแพทย์ และยารักษาโรคจะรองรับผู้ป่วยไม่เพียงพอ 6.28 กลัวตนเองและครอบครัวจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น 6.14 เฉลี่ยรวม 6.76 2. เรื่องที่อยากให้ภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในประเทศ (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ) เข้มงวดเรื่องตรวจคนเข้าเมืองโดยเฉพาะบริเวณตะเข็บชายแดน และช่องทางธรรมชาติ ร้อยละ 85.9 ลงโทษขั้นเด็ดขาดกับผู้ที่ฝ่าฝืน มาตรการป้องกัน COVID-19 ร้อยละ 74.5 กลับมาเข้มงวดเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างทางสังคม ร้อยละ 68.3 รณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ ถึงโทษของการหลบหนีเข้าเมืองและผู้ที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 64.8 รายงานความคืบหน้า การตรวจเชื้อผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย และกลุ่มเฝ้าระวังให้ประชาชนรับทราบ ร้อยละ 59.7 ให้สาธารณสุขลงพื้นที่ พ่นยาฆ่าเชื้อตามสถานที่ต่างๆ เพื่อการันตีความปลอดภัย ร้อยละ 53.4 3. เมื่อถามว่า ?ตัวท่านเองจะมีส่วนร่วมในการป้องกันเพื่อไม่ให้มีคนป่วยเพิ่มขึ้นได้อย่างไร? (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ) ป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่างทางสังคม ร้อยละ 96.1 ไม่ไปในสถานที่ที่มีคนเยอะ พลุกพล่าน เพื่อลดความเสี่ยง ร้อยละ 70.2 วางแผนท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย ร้อยละ 64.4 สแกนไทยชนะทุกครั้ง เมื่อไปตามสถานที่ต่างๆ ร้อยละ 58.3 ช่วยกันเป็นหูเป็นตา สอดส่อง หากพบเห็นผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/ผู้นำชุมชน ร้อยละ 49.6 รายละเอียดการสำรวจ วัตถุประสงค์การสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ลักลอบเข้าประเทศ รวมถึงการมีส่วน ร่วมในการป้องกันเพื่อไม่ให้มีคนป่วยเพิ่มขึ้น เพื่อทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุง เทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ของกรมการปกครอง กระทรวง มหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบ ด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 7-9 ธันวาคม 2563
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 12 ธันวาคม 2563
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์