กรุงเทพโพลล์: หยุดยาวหน้าหนาวนี้คนไทยไปไหนกัน

ข่าวผลสำรวจ Monday December 14, 2020 08:39 —กรุงเทพโพลล์

คนไทยคอนเฟิร์มมีแผนที่จะท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวหน้าหนาวนี้ถึงร้อยละ 25.2 ขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.0 คิดว่ายังไม่มีแผนท่องเที่ยว โดยให้เหตุผลว่า ไม่มี เวลาต้องทำงาน ไม่มีเงิน มีภาระค่าใช้จ่ายสูง โดยจังหวัดท่องเที่ยวที่อยากไปมากที่สุดคือ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.9 รับทราบถึงโครงการเราเที่ยว ด้วยกัน และมีถึงร้อยละ 38.6 ที่คิดจะใช้โครงการฯ แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.4 คิดว่าจะไม่ใช้โครงการฯ โดยให้เหตุผลว่า ใช้แอปฯ ไม่เป็น ไม่ค่อยใช้เทคโนโลยี ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.5 เชื่อมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจจะทำให้คนออกมาเที่ยวค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง ?หยุดยาวหน้าหนาวนี้คนไทยไปไหนกัน? โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,137 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.0 ไม่มีแผนที่จะไปท่องเที่ยวเมืองไทย ในช่วงหยุดยาวหน้าหนาวนี้ โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 20.0 ไม่มีเวลาต้องทำงาน/เรียน รองลงมาร้อยละ 11.7 ไม่มีเงินใช้ มีภาระค่าใช้จ่ายมาก และร้อยละ 8.8 มีปัญหาสุขภาพ ขณะที่ร้อยละ 25.2 มีแผนที่จะไปท่องเที่ยว และร้อยละ 20.8 อาจจะไป/ยังไม่แน่ใจ

เมื่อถามว่าจังหวัดท่องเที่ยวที่อยากไปเที่ยวเพื่อรับบรรยากาศหนาวมากที่สุดคือ จังหวัดเชียงใหม่คิดเป็นร้อยละ 25.0 รองลงมาคือ จังหวัดเชียงรายคิดเป็นร้อยละ 9.0 จังหวัดน่าน คิดเป็นร้อยละ 6.6 จังหวัดเพชรบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 6.4 และจังหวัดเลยคิดเป็นร้อยละ 5.1

ส่วนการรับทราบถึงมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ โครงการเราเที่ยวด้วยกันพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.9 รับทราบถึงโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ขณะที่ ร้อยละ 32.1 ไม่ทราบ

ทั้งนี้เมื่อถามว่า ?หากท่องเที่ยวในประเทศไทย ท่านจะใช้สิทธิ์โครงการเราเที่ยวด้วยกันหรือไม่? ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.4 คิดว่าจะไม่ใช้ โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 18.5 ให้เหตุผลว่าใช้แอปฯ ไม่เป็น ไม่ค่อยใช้เทคโนโลยี รองลงมาร้อยละ 15.5 ให้เหตุผลว่าขั้นตอนการลงทะเบียนยุ่งยาก และร้อยละ 3.5 ให้เหตุผลว่าขั้นตอนการจองโรงแรม ที่พัก ยุ่งยาก ขณะที่ร้อยละ 38.6 คิดว่าจะใช้

สุดท้ายเมื่อถามความเห็นต่อมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ทำให้อยากออกมาท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.5 เห็นว่าทำให้อยากออกมาเที่ยวค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ44.8 เห็นว่าค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้

1. ข้อคำถาม ?มีแผนที่จะไปท่องเที่ยวเมืองไทย ในช่วงหยุดยาวหน้าหนาวนี้หรือไม่ (ธันวาคม - มกราคม)?
ไม่มีแผนที่จะไปท่องเที่ยว โดย                                              ร้อยละ 54.0
(ตอบเพียง 1 ข้อ) ไม่มีเวลาต้องทำงาน/เรียน                  ร้อยละ 20.0
               ไม่มีเงินใช้ มีภาระค่าใช้จ่ายมาก              ร้อยละ 11.7
               มีปัญหาสุขภาพ                            ร้อยละ  8.8
               กลัวคนเยอะ กลัวติด COVID-19              ร้อยละ  6.4
               ข้าวของ น้ำมัน ที่พัก อาหาร ราคาแพง         ร้อยละ  1.8
               มีแผนจะไปเที่ยวต่างประเทศ                 ร้อยละ  0.1
               อื่นๆ เช่น รถติด อุบัติเหตุ ไม่ชอบเที่ยว         ร้อยละ  5.2
มีแผนที่จะไปท่องเที่ยว                                                    ร้อยละ 25.2
อาจจะไป/ยังไม่แน่ใจ                                                    ร้อยละ 20.8

2. จังหวัดท่องเที่ยวที่อยากไปเที่ยวเพื่อรับบรรยากาศหนาวมากที่สุด
เชียงใหม่                                              ร้อยละ 25.0
เชียงราย                                              ร้อยละ  9.0
น่าน                                                  ร้อยละ  6.6
เพชรบูรณ์                                              ร้อยละ  6.4
เลย                                                  ร้อยละ  5.1
โคราช                                                ร้อยละ  4.9
กาญจนบุรี                                              ร้อยละ  2.9
แม่ฮ่องสอน                                             ร้อยละ  1.8
อุบลราชธานี                                            ร้อยละ  1.6
หนองคาย                                              ร้อยละ  1.2
อื่นๆ อาทิเช่น บึงกาฬ ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย                  ร้อยละ 35.5

3. การรับทราบถึงมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
ทราบ                                                 ร้อยละ 67.9
ไม่ทราบ                                               ร้อยละ 32.1

4. ข้อคำถาม ?หากท่องเที่ยวในประเทศไทย ท่านจะใช้สิทธิ์โครงการเราเที่ยวด้วยกันหรือไม่?
ไม่ใช้ เพราะ                                                          ร้อยละ 61.4
          ใช้แอปฯ ไม่เป็น ไม่ค่อยใช้เทคโนโลยี               ร้อยละ 18.5
          ขั้นตอนการลงทะเบียนยุ่งยาก                      ร้อยละ 15.5
          ขั้นตอนการจองโรงแรม ที่พัก ยุ่งยาก                ร้อยละ  3.5

อื่นๆ อาทิเช่น ไม่สนใจท่องเที่ยว ไม่มีเวลา ไม่มีเงิน ร้อยละ 23.9

ใช้                                                                  ร้อยละ 38.6

5. ความเห็นต่อมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ทำให้อยากออกมาท่องเที่ยวมากน้อยเพียงใด
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                                                   ร้อยละ 55.2
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 45.2 และมากที่สุดร้อยละ 10.0)
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด                                                   ร้อยละ 44.8
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 29.4 และน้อยที่สุดร้อยละ 15.4)

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนถึงการวางแผนที่จะไปท่องเที่ยวเมืองไทย ในช่วงหน้าหนาวนี้

2) เพื่อสะท้อนถึงจังหวัดท่องเที่ยวที่ท่านอยากไปเที่ยวเพื่อรับบรรยากาศหนาวมากที่สุด

3) เพื่อต้องการทราบเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 30 พฤศจิกายน -3 ธันวาคม 2563

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 10 ธันวาคม 2563

ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ