ผลสำรวจเรื่อง ?เยียวยา เราชนะ คนไทยได้หรือไม่ได้?
กลุ่มประชาชนร้อยละ 28.2 มั่นใจได้รับสิทธิ์ ?เราชนะ? จากการตรวจสอบคุณสมบัติตนเอง
โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 40.4 อยู่ในโครงการคนละครึ่ง
ส่วนร้อยละ 35.3 ไม่ได้รับสิทธ์แน่นอน ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.8 บอกว่าเพราะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 82.2 เห็นด้วยหากมีการเยียวยา ?โครงการเราชนะ? แก่ประชาชนทั่วประเทศ
โดยคนไทยร้อยละ 47.8 เห็นว่าโครงการเราชนะ จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนได้ระดับปานกลาง
ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.3 วอนรัฐบาลให้ทุกคนทุกกลุ่มได้รับสิทธิ์เยียวยา ไม่ต้องลงทะเบียนให้ยุ่งยาก
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง ?เยียวยา เราชนะ คนไทยได้หรือไม่ได้? โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,206 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 35.3 ไม่ได้รับสิทธ์เข้าร่วมโครงการ ?เราชนะ? ขณะที่ร้อยละ 28.2 ได้รับสิทธิ์ ส่วนร้อยละ 20.4 ไม่รู้ว่าตัวเองได้รับสิทธิ์หรือไม่ และร้อยละ 16.1 ไม่แน่ใจ ต้องคัดกรองคุณสมบัติก่อน
เมื่อถามกลุ่มได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ ว่าได้รับสิทธิ์จากกลุ่มใดพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.4 อยู่ในกลุ่มเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติ รองลงมาร้อยละ 35.2 อยู่ในกลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และร้อยละ 24.4 อยู่ในกลุ่มที่ไม่เคยรับสิทธิ์ ที่มีคุณสมบัติ
ทั้งนี้เมื่อถามกลุ่มไม่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ ว่าไม่ได้รับสิทธิ์เพราะสาเหตุใดพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.8 เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 รองลงมาคือ เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ข้าราชการการเมือง คิดเป็นร้อยละ 27.5 และเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 16.3
เมื่อถามว่า ?เห็นด้วยหรือไม่ หากมีการเยียวยา ?โครงการเราชนะ? แก่ประชาชนทั่วประเทศแทนการเยียวยาเฉพาะกลุ่ม? ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.2 เห็นด้วย โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 41.4 คิดว่าทุกคน ทุกกลุ่มเดือดร้อนเหมือนกัน และร้อยละ 40.8 เป็นสิทธิ์ที่ทุกคนควรได้รับ เพื่อความเท่าเทียมกัน ขณะที่ร้อยละ 17.8 ไม่เห็นด้วย โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 14.5 เห็นว่าควรช่วยเหลือแต่คนจน และร้อยละ 3.3 เห็นว่าสิ้นเปลืองงบประมาณ
สำหรับความเห็นต่อ โครงการเราชนะ จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนมากน้อยพียงใด จากสถานการณ์ COVID-19 ระลอกใหม่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.8 เห็นว่าช่วยได้ระดับปานกลาง ส่วนร้อยละ 35.0 เห็นว่าช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 17.2 เห็นว่าช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
สุดท้ายเมื่อถามถึงเรื่องที่อยากขอรัฐบาลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเราชนะพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.3 อยากให้ทุกคนทุกกลุ่มได้รับสิทธิ์เยียวยา ไม่ต้องลงทะเบียนให้ยุ่งยาก รองลงมาร้อยละ 49.3 อยากให้ใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสาธารณูปโภคได้ และร้อยละ 38.5 อยากให้ขยายระยะเวลาการใช้ให้มากขึ้น
รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
1. ข้อคำถาม ?ท่านอยู่ในกลุ่มได้รับสิทธ์เข้าร่วมโครงการ เราชนะ หรือไม่?
ไม่ได้รับสิทธิ์ ร้อยละ 35.3 ได้รับสิทธิ์ ร้อยละ 28.2 ไม่รู้ว่าตัวเองได้รับสิทธิ์หรือไม่ ร้อยละ 20.4 ไม่แน่ใจ ต้องคัดกรองคุณสมบัติก่อน ร้อยละ 16.1 2. ข้อคำถาม ?กรณีได้รับสิทธิ์ ท่านได้รับสิทธิ์จากกลุ่มใด? (ถามเฉพาะกลุ่มได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ) อยู่ในกลุ่มเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติ ร้อยละ 40.4 อยู่ในกลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้อยละ 35.2 อยู่ในกลุ่มไม่เคยรับสิทธิ์ ที่มีคุณสมบัติ ร้อยละ 24.4 3. ข้อคำถาม ?กรณีไม่ได้รับสิทธิ์ เพราะสาเหตุใด? (ถามเฉพาะกลุ่มไม่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ร้อยละ 51.8 เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ข้าราชการการเมือง ร้อยละ 27.5 เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท ร้อยละ 16.3 เป็นผู้รับบำนาญปกติหรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ ร้อยละ 14.8 มีเงินฝากรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ร้อยละ 7.6 4. ข้อคำถาม ?เห็นด้วยหรือไม่ หากมีการเยียวยา โครงการเราชนะ แก่ประชาชนทั่วประเทศแทนการเยียวยาเฉพาะกลุ่ม? เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ร้อยละ 82.2 คิดว่าทุกคน ทุกกลุ่มเดือดร้อนเหมือนกัน ร้อยละ 41.4 เป็นสิทธิ์ที่ทุกคนควรได้รับ เพื่อความเท่าเทียมกัน ร้อยละ 40.8 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ร้อยละ 17.8 ควรช่วยเหลือแต่คนจน ร้อยละ 14.5 สิ้นเปลืองงบประมาณ ร้อยละ 3.3 5. ความเห็นต่อ โครงการ เราชนะ จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนมากน้อยพียงใด จากสถานการณ์ COVID-19 ระลอกใหม่ ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 25.5 และมากที่สุดร้อยละ 9.5) ร้อยละ 35.0 ปานกลาง ร้อยละ 47.8 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 14.0 และน้อยที่สุดร้อยละ 3.2) ร้อยละ 17.2 6. เรื่องที่อยากขอรัฐบาลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเราชนะ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) อยากให้ทุกคนทุกกลุ่มได้รับสิทธิ์เยียวยา ไม่ต้องลงทะเบียนให้ยุ่งยาก ร้อยละ 72.3 อยากให้ใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสาธารณูปโภคได้ ร้อยละ 49.3 อยากให้ขยายระยะเวลาการใช้ให้มากขึ้น ร้อยละ 38.5 อยากให้รัฐเพิ่มช่องทางรับเงิน เช่นเติมเข้าบัตร สมาร์ทการ์ด เป็นต้น ร้อยละ 34.2 อยากให้เพิ่มวงเงินให้มากกว่านี้ ร้อยละ 28.6 อยากให้เพิ่มร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการมากกว่านี้ ครอบคลุมห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 21.6 อื่นๆ อาทิเช่น ลงทะเบียนง่ายกว่านี้ ไม่ลงทะเบียนแบบออนไลน์ อยากได้เงินสด ร้อยละ 16.2 รายละเอียดการสำรวจ วัตถุประสงค์การสำรวจ 1) เพื่อสะท้อนถึงการเข้าร่วมโครงการเราชนะ 2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อโครงการ เราชนะ จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนมากน้อยพียงใด จากสถานการณ์ COVID-19 ระลอกใหม่ 3) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่อยากขอรัฐบาลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเราชนะ ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25 ? 27 มกราคม 2564 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 30 มกราคม 2564
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) โทร. 02-407-3888 ต่อ 2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th
Twitter : http://twitter.com/bangkok_poll Facebook : https://facebook.com/bangkokpoll
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 584 48.4 หญิง 622 51.6 รวม 1,206 100.0 อายุ 18 ปี - 30 ปี 96 8.0 31 ปี - 40 ปี 196 16.3 41 ปี - 50 ปี 327 27.1 51 ปี - 60 ปี 296 24.5 61 ปี ขึ้นไป 291 24.1 รวม 1,206 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 767 63.6 ปริญญาตรี 344 28.5 สูงกว่าปริญญาตรี 95 7.9 รวม 1,206 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 147 12.2 ลูกจ้างเอกชน 273 22.6 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 493 40.9 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 37 3.1 ทำงานให้ครอบครัว 3 0.2 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 183 15.2 นักเรียน/ นักศึกษา 7 0.6 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 63 5.2 รวม 1,206 100.0
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์