ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา คนไทยร้อยละ 99.3 เรียนรู้เพื่อให้ตนเองอยู่รอดปลอด COVID-19 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง โดยร้อยละ 50.1 ระบุว่า หากการระบาดยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อเรื่องรายได้ และการประกอบอาชีพมากที่สุด
ส่วนบทเรียนสำคัญที่ได้เรียนรู้จาก COVID-19 ในรอบ 1 ปีนี้ คือ การปล่อยให้มีการลักลอบเข้าประเทศส่งผลเสียรุนแรง
สำหรับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่กำลังจะมานี้ คนไทยร้อยละ 51.3 มีความหวังปานกลางว่าจะป้องกันและหยุดเชื้อในประเทศได้ โดยส่วนใหญ่กังวลเรื่องผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีนมากที่สุด
ผลสำรวจเรื่อง ?ถอดบทเรียน 365 วัน กับ COVID-19 คนไทย...เรียนรู้อะไร ?
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?ถอดบทเรียน 365 วัน กับ COVID-19 คนไทย...เรียนรู้อะไร? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,186 คน พบว่า
ตลอดปีที่ผ่านมา สิ่งที่คนไทยเรียนรู้และปฎิบัติตัวเพื่อให้อยู่รอดปลอด COVID-19 มากที่สุด คือ การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง ร้อยละ 99.3 รองลงมาคือ ระวังตัวมากขึ้นเวลาไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ร้อยละ 86.6 และเช็กไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อ เช็กข่าวพื้นที่เสี่ยงอยู่เสมอ ร้อยละ 74.8
ทั้งนี้คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 50.1 ระบุว่า หากการระบาดของ COVID-19 ยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อเรื่องรายได้ และการประกอบอาชีพมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 27.4 ส่งผลกระทบต่อความวิตกกังวลว่าตนเองและคนในครอบครัวจะติดเชื้อ และร้อยละ 15.0 ส่งผลกระทบต่อเรื่องการเดินทาง
เมื่อถามถึงความหวังกับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่กำลังจะมานี้เพียงใดว่าจะช่วยป้องกันและหยุดยั้งเชื้อในประเทศได้ คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 51.3 ระบุว่า มีความหวังปานกลาง รองลงมาร้อยละ 32.8 ระบุว่า มีความหวังมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 15.9 ระบุว่า มีความหวังน้อยถึงน้อยที่สุด
ส่วนเรื่องที่คนไทยกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน COVID-19 คือ เรื่องผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน ร้อยละ 39.6 รองลงมาคือ เรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน ร้อยละ 17.0 และเรื่องเชื้ออาจกลายพันธุ์ต้องคิดค้นวัคซีนใหม่
สำหรับบทเรียนสำคัญที่คนไทยได้เรียนรู้จาก COVID-19 ในรอบ 1 ปี คือ การปล่อยให้มีการลักลอบเข้าประเทศส่งผลเสียรุนแรง ร้อยละ 40.2 รองลงมาคือ การปิดบังข้อมูลเท่ากับทำให้คนอื่นมีความเสี่ยง ร้อยละ 20.3 และ คนเพียงบางกลุ่มที่ไม่ระวังตัวทำให้คนส่วนมากเดือดร้อน ร้อยละ 17.6
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา ท่านได้เรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้อยู่รอด ปลอด COVID-19
สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง ร้อยละ 99.3 ระวังตัวมากขึ้นเวลาไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ร้อยละ 86.6 เช็กไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อ เช็กข่าวพื้นที่เสี่ยง อยู่เสมอ ร้อยละ 74.8 ทานแต่อาหารร้อน ปรุงสุกใหม่ๆ ร้อยละ 69.1 สแกนไทยชนะ หมอชนะ ทุกครั้ง ร้อยละ 47.3 ปรับวิธีทำงานให้สามารถทำทั้งที่บ้านและที่ทำงานได้ ร้อยละ 46.1 ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อเลี่ยงการสัมผัส ร้อยละ 45.1 ไม่ไป คลุกคลีกับผู้ที่อยู่ในช่วงกักตัว 14 วัน ร้อยละ 42.9 2. หากการระบาดของ COVID-19 ยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อท่านในเรื่องใดมากที่สุด รายได้ และการประกอบอาชีพ ร้อยละ 50.1 ความวิตกกังวลว่าตนเองและคนในครอบครัวจะติดเชื้อ ร้อยละ 27.4 การเดินทาง ร้อยละ 15.0 การซื้อสินค้า และอาหารตุนไว้อุปโภคบริโภค ร้อยละ 4.0 รายจ่ายสำหรับซื้ออุปกรณ์ป้องกัน ร้อยละ 3.2 อื่นๆ อาทิ การเรียน และการศึกษาของบุตร ร้อยละ 0.3 3. ท่านมีความหวังกับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่กำลังจะมานี้เพียงใดว่าจะช่วยป้องกันและหยุดยั้งเชื้อในประเทศได้ มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 32.8 ปานกลาง ร้อยละ 51.3 น้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 15.9 4. เรื่องที่ท่านกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน COVID-19 กังวลเรื่องผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน ร้อยละ 39.6 กังวลเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน ร้อยละ 17.0 กังวลว่าเชื้อกลายพันธุ์ต้องคิดค้นวัคซีนใหม่ ร้อยละ 12.8 กังวลว่าจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่รับวัคซีนฟรี ร้อยละ 12.7 กังวลว่าค่าฉีดวัคซีนมีราคาแพงเกินไป ร้อยละ 10.1 กังวลว่าจะมีการลักลอบนำวัคซีนมาโดยไม่ผ่าน อย. ร้อยละ 7.8 5. บทเรียนสำคัญที่คนไทยได้เรียนรู้จาก COVID-19 ในรอบ 1 ปี การปล่อยให้มีการลักลอบเข้าประเทศส่งผลเสียรุนแรง ร้อยละ 40.2 การปิดบังข้อมูลเท่ากับทำให้คนอื่นมีความเสี่ยง ร้อยละ 20.3 คนเพียงบางกลุ่มที่ไม่ระวังตัวทำให้คนส่วนมากเดือดร้อน ร้อยละ 17.6 ความร่วมมือในมาตรการต่างๆ ทำให้จำนวนการแพร่เชื้อลดลง ร้อยละ 8.8 การรวมกลุ่ม ชุมนุมในพื้นที่จำกัด เป็นแหล่งแพร่เชื้อชั้นดี ร้อยละ 5.2 การเดินทางข้ามจังหวัดเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เชื้อแพร่กระจาย ร้อยละ 4.4 การปิดประเทศทำให้ลดการรับเชื้อ ร้อยละ 3.5 รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ การปฏิบัติตัวเพื่อให้อยู่รอดจากการติดเชื้อ COVID-19 บทเรียนสำคัญที่คนไทยได้เรียนรู้ ตลอดจนความคาดหวังและข้อกังวลใจเกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18-20 มกราคม 2564
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 549 46.3 หญิง 637 53.7 รวม 1,186 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 81 6.8 31 ? 40 ปี 199 16.8 41 ? 50 ปี 304 25.7 51 ? 60 ปี 349 29.4 61 ปีขึ้นไป 253 21.3 รวม 1,186 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 693 58.4 ปริญญาตรี 383 32.3 สูงกว่าปริญญาตรี 110 9.3 รวม 1,186 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 186 15.7 ลูกจ้างเอกชน 221 18.6 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 447 37.7 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 87 7.3 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 195 16.5 นักเรียน/ นักศึกษา 19 1.6 ว่างงาน 30 2.5 รวม 1,186 100.0 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์