ผลสำรวจเรื่อง ?เซ่นไหว้ แบบไหน ในตรุษจีนปีฉลู?
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.2 ระบุว่าในวันไหว้ตรุษจีนปีนี้จะใช้วิธีแยกกันไหว้ไม่รวมญาติเหมือนทุกปี เพื่อปรับให้เหมาะกับสถานการณ์ ส่วนในวันเที่ยวส่วนใหญ่ร้อยละ 86.0 ระบุว่าในปีนี้งดเที่ยว งดสังสรรค์ โดยร้อยละ 41.6 ระบุว่าปีนี้จะงดแจกอั่งเปา
ทั้งนี้กลุ่มประชาชนทั่วไปร้อยละ 95.3 ระบุว่าในวันหยุดยาวช่วงตรุษจีนไม่มีแผนจะไปเที่ยว เนื่องจากติดสถานการณ์ COVID-19 และต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนผู้ที่มีแผนจะไปเที่ยวนั้นส่วนใหญ่ร้อยละ 64.8 ระบุว่า จะเที่ยวภายในจังหวัดตัวเอง
เนื่องด้วยวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นี้เป็นวันตรุษจีนและเป็นวันที่รัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษในปี 2564 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?เซ่นไหว้ แบบไหน ในตรุษจีนปีฉลู? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,212 คน พบว่า
เมื่อถามผู้ที่ไหว้เทพเจ้า ไหว้บรพบุรุษ และทำกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณีจีน พบว่าได้มีการปรับรูปแบบการทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ดังนี้
- ในวันจ่ายส่วนใหญ่ร้อยละ 63.5 ยังคงซื้อของไหว้ในวันจ่ายตามประเพณีเหมือนทุกปี รองลงมาร้อยละ 29.6 ระบุว่าปรับเป็นซื้อของไหว้เตรียมไว้ล่วงหน้าเพื่อลดความแออัดในวันจ่าย และร้อยละ 5.1 ระบุว่าสั่งซื้อของไหว้ออนไลน์
- ในวันไหว้ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.2 ระบุว่าแยกกันไหว้ ไม่รวมญาติเหมือนทุกปี รองลงมาร้อยละ 28.5 ระบุว่ายังไหว้แบบรวมญาติและทานอาหารร่วมกันเหมือนทุกปี และร้อยละ 11.7 ระบุว่าไหว้แบบรวมญาติเหมือนเดิม แต่งดทานอาหารร่วมกัน
- ในวันเที่ยวส่วนใหญ่ร้อยละ 86.0 ระบุว่าปีนี้งดเที่ยว งดสังสรรค์ รองลงมาร้อยละ 9.0 ระบุว่า แยกกันไปไม่รวมญาติท่องเที่ยวเหมือนทุกปี และร้อยละ 5.0 ระบุว่า ยังรวมญาติท่องเที่ยวสังสรรค์เหมือนทุกปี
- ในการแจกอั่งเปา พบว่าร้อยละ 49.4 แจกอั่งเป่าด้วยเงินสดใส่ซองเหมือนทุกปี ขณะที่ร้อยละ 41.6 ระบุว่าปีนี้งดแจกอั่งเปา
เมื่อถามประชาชนทั่วไปว่าการกำหนดให้ "วันตรุษจีน" ในปีนี้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษทำให้มีการหยุดติดกัน 3 วัน มีแผนจะไปท่องเที่ยวหรือไม่อย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 95.3 ระบุว่า ไม่มีแผนจะไปท่องเที่ยวโดยให้เหตุผลว่า ติดช่วง COVID-19 จึงไม่อยากเดินทาง ร้อยละ 40.7 รองลงมาคือ ช่วงนี้ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายร้อยละ 21.3 และ ที่ทำงานไม่ได้หยุด ร้อยละ 19.2
สำหรับการให้"วันตรุษจีน" เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษในปีนี้ ประชาชนร้อยละ 46.0 เห็นว่าจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ปานกลาง รองลงมาร้อยละ 42.0 เห็นว่าช่วยได้น้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 12.0 ระบุว่า ช่วยได้มากถึงมากที่สุด
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ท่านได้ปรับรูปแบบการทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร
(ถามเฉพาะที่ ไหว้และทำกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณีจีน)
ซื้อของไหว้ในวันจ่ายตามประเพณีเหมือนทุกปี ร้อยละ 63.5 ซื้อของไหว้เตรียมไว้ล่วงหน้าเพื่อลดความแออัด ร้อยละ 29.6 สั่งซื้อของไหว้ออนไลน์ ร้อยละ 5.1 งดจ่าย/งดไหว้ ร้อยละ 1.8
- วันไหว้
แยกกันไหว้ ไม่รวมญาติเหมือนทุกปี ร้อยละ 58.2 รวมญาติไหว้และทานอาหารร่วมกันเหมือนทุกปี ร้อยละ 28.5 รวมญาติไหว้เหมือนเดิม แต่งดทานอาหารร่วมกัน ร้อยละ 11.7 งดไหว้/ไม่ไหว้ ร้อยละ 1.6
- วันเที่ยว
งดเที่ยว/งดสังสรรค์ ร้อยละ 86.0 แยกกันไปไม่รวมญาติท่องเที่ยว เหมือนทุกปี ร้อยละ 9.0 รวมญาติ ท่องเที่ยว สังสรรค์เหมือนทุกปี ร้อยละ 5.0 - การแจกอั่งเปา แจกอั่งเป่าด้วยเงินสดใส่ซองเหมือนทุกปี ร้อยละ 49.4 งดแจกอั่งเปา ร้อยละ 41.6 แจกอั่งเป่า ด้วยการโอนเงินแทนการรับซอง ร้อยละ 9.0 2. การกำหนดให้"วันตรุษจีน" เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษในปีนี้ทำให้มีการหยุดติดกัน 3 วัน มีแผนจะไปท่องเที่ยวหรือไม่อย่างไร (ประชาชนทั่วไป) ไม่มีแผนจะไปเที่ยว ร้อยละ 95.3 โดยให้เหตุผลว่า..... -ติดช่วง COVID-19 ไม่อยากเดินทาง ร้อยละ 40.7 -ช่วงนี้ต้องประหยัดค่าใช้จ่าย ร้อยละ 21.3 -ที่ทำงานไม่ได้หยุด ร้อยละ 19.2 -ไม่ชอบเที่ยวช่วงเทศกาล ร้อยละ 18.4 -อื่นๆ อายุมากแล้ว มีโรคประจำตัว ฯลฯ ร้อยละ 0.4 มีแผนจะไปเที่ยว ร้อยละ 4.7 โดยระบุว่า..... -เที่ยวภายในจังหวัดตัวเอง ร้อยละ 64.8 -เที่ยวข้ามจังหวัด/ไปต่างจังหวัด ร้อยละ 35.2 3. การให้"วันตรุษจีน" เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษในปีนี้ จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ได้เพียงใด (ประชาชนทั่วไป) มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 12.0 ปานกลาง ร้อยละ 46.0 น้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 42.0 รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำกิจกรรมในช่วงตรุษจีนภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ตลอดจนแผนการท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาว 3 วัน ในช่วงตรุษจีน เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3-5 กุมภาพันธ์ 2564
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 10 กุมภาพันธ์ 2564
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 589 48.6 หญิง 623 51.4 รวม 1,212 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 79 6.5 31 ? 40 ปี 185 15.3 41 ? 50 ปี 319 26.3 51 ? 60 ปี 338 27.9 61 ปีขึ้นไป 291 24.0 รวม 1,212 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 724 59.7 ปริญญาตรี 373 30.8 สูงกว่าปริญญาตรี 115 9.5 รวม 1,212 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 147 12.1 ลูกจ้างเอกชน 220 18.2 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 470 38.8 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 78 6.4 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 240 19.8 นักเรียน/ นักศึกษา 16 1.3 ว่างงาน 41 3.4 รวม 1,212 100.0 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์