คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 88.0 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจว่าตนเองอยู่ในกลุ่มระยะใด ตามนโยบายฉีดวัคซีน
ร้อยละ 47.9 มีความหวังว่าการฉีดวัคซีนจะทำให้วิถีการดำเนินชีวิตกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว
ทั้งนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.1 ยังคงกังวลว่าหลังการฉีดวัคซีนจะมีผลกระทบต่อภูมิต้านทาน และสุขภาพร่างกาย
แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.7 ยังอยากฉีดวัคซีน โดยจะขอดูผลข้างเคียงของคนที่ฉีดไปแล้วก่อน
โดยร้อยละ 31.6 มีคำถามฝากว่ากลุ่มใดบ้างที่ควรฉีด และไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด ? 19 เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรีมีครรภ์
ผลสำรวจเรื่อง ?คนไทยกับการฉีดวัคซีนโควิด 19?
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง ?คนไทยกับการฉีดวัคซีนโควิด 19? โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,258 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 88.0 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจว่าตนเองอยู่ในกลุ่มต้องฉีดวัคซีนโควิด - 19 ในระยะใดตามนโยบายฉีดวัคซีน ขณะที่ร้อยละ 6.5 อยู่ในกลุ่มนโยบายระยะที่ 1 กุมภาพันธ์ ? พฤษภาคม 2564 ใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และร้อยละ 5.5 อยู่ในกลุ่มนโยบายระยะที่ 2 มิถุนายน ? ธันวาคม 2564
เมื่อถามว่าหากได้สิทธิ์ในการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ท่านจะฉีดหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.7 คิดว่าจะฉีด โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 54.1 จะดูผลข้างเคียงของคนที่ฉีดไปแล้วก่อน ส่วนร้อยละ 14.6 จะฉีดทันทีเพราะกลัวติดโควิด ? 19 ขณะที่ร้อยละ 31.3 คิดว่าจะไม่ฉีด โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 16.8 ให้เหตุผลว่ากลัวมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย และร้อยละ 14.5 คิดว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยงที่จะติด
ส่วนความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด - 19 พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 69.1 กังวลว่าผลกระทบหลังการรับวัคซีนต่อภูมิต้านทาน และสุขภาพร่างกาย รองลงมาร้อยละ 42.8 กังวลว่าวัคซีนผ่านมาตรฐานการรับรองหรือไม่ ปลอดภัยหรือไม่ และร้อยละ 27.2 กังวลว่าราคา ค่าใช้จ่ายแพงในการฉีดวัคซีน หากไม่มีการควบคุมจากภาครัฐ
สำหรับความหวังหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ในประเทศไทยพบว่า ประชาชนร้อยละ 47.9 หวังว่าวิถีการดำเนินชีวิตประชาชนจะกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว รองลงมาร้อยละ 22.5 หวังว่าจะช่วยปกป้อง/สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ประชาชน และร้อยละ 18.8 หวังว่าจะเกิดการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้ปกติ เร็วที่สุด
สุดท้ายคำถามเพิ่มเติมที่อยากฝากถามเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด ? 19 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.6 ฝากถามว่ากลุ่มใดบ้างที่ควรฉีดและไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด ? 19 เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรีมีครรภ์ รองลงมาร้อยละ 23.2 ฝากถามว่าวัคซีนที่ได้รับจะคุ้มครองได้นานแค่ไหน ต้องฉีดเพิ่มหรือไม่ และร้อยละ 19.9 ฝากถามว่าการฉีดวัคซีนมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
1. ข้อคำถาม ?ท่านอยู่ในกลุ่มนโยบายฉีดวัคซีนโควิด - 19 ระยะใด?
ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจว่าต้องฉีดวัคซีนในระยะใด ร้อยละ 88.0 ระยะที่ 1 กุมภาพันธ์ ? พฤษภาคม 2564 ใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ร้อยละ 6.5 ระยะที่ 2 มิถุนายน ? ธันวาคม 2564 ร้อยละ 5.5 2. ข้อคำถาม ?หากได้สิทธิ์ในการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ท่านจะฉีดหรือไม่? คิดว่าจะฉีด ร้อยละ 68.7 โดย จะดูผลข้างเคียงของคนที่ฉีดไปแล้วก่อน ร้อยละ 54.1 จะฉีดทันทีเพราะกลัวติดโควิด - 19 ร้อยละ 14.6 คิดว่าจะไม่ฉีด ร้อยละ 31.3 เพราะ กลัวมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ร้อยละ 16.8 คิดว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยงที่จะติด ร้อยละ 14.5 3. ความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด - 19 (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ผลกระทบหลังการรับวัคซีนต่อภูมิต้านทาน และสุขภาพร่างกาย ร้อยละ 69.1 วัคซีนผ่านมาตรฐานการรับรองหรือไม่ ปลอดภัยหรือไม่ ร้อยละ 42.8 ราคา ค่าใช้จ่ายแพงในการฉีดวัคซีน หากไม่มีการควบคุมจากภาครัฐ ร้อยละ 27.2 การกระจายวัคซีนไม่ทั่วถึง ร้อยละ 26.0 การเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง ทำให้ล่าช้า ร้อยละ 19.1 อื่นๆ เช่น กลัวโรคกลายพันธุ์วัคซีนรักษาไม่ได้ ไม่กังวล ร้อยละ 5.8 4. ความหวังหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ในประเทศไทย หวังว่าวิถีการดำเนินชีวิตประชาชนจะกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว ร้อยละ 47.9 หวังว่าจะช่วยปกป้อง/สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ประชาชน ร้อยละ 22.5 หวังว่าจะเกิดการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้ปกติ เร็วที่สุด ร้อยละ 18.8 หวังว่าจะลดจำนวนผู้ป่วย จำนวนการตายจากโควิด - 19 ร้อยละ 10.3 อื่นๆ เช่น ไม่ได้หวัง ไม่มีความเห็น ร้อยละ 0.5 5. คำถามเพิ่มเติมที่อยากฝากถามเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด - 19 กลุ่มใดบ้างที่ควรฉีดวัคซีน และไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด ? 19 เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรีมีครรภ์ ร้อยละ 31.6 วัคซีนที่ได้รับจะคุ้มครองได้นานแค่ไหน ต้องฉีดเพิ่มหรือไม่ ร้อยละ 23.2 การฉีดวัคซีนมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ร้อยละ 19.9 จะทราบได้อย่างไร ว่าตนมีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ร้อยละ 17.0 หากไม่อยู่ในกลุ่มระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ควรทำอย่างไร ร้อยละ 4.2 อื่นๆ เช่น ปลอดภัยแค่ไหน มีประสิทธิภาพไหม ร้อยละ 4.1 รายละเอียดการสำรวจ วัตถุประสงค์การสำรวจ 1) เพื่อสะท้อนถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด - 19 2) เพื่อสะท้อนความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด - 19 3) เพื่อสะท้อนถึงความหวังหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ในประเทศไทย 4) เพื่อสะท้อนถึงคำถามเพิ่มเติมที่อยากฝากถามเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 15 ? 17 กุมภาพันธ์ 2564 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 24 กุมภาพันธ์ 2564
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) โทร. 02-407-3886 ต่อ 2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th
Twitter : http://twitter.com/bangkok_poll Facebook : https://facebook.com/bangkokpoll
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 614 48.8 หญิง 644 51.2 รวม 1,258 100.0 อายุ 18 ปี - 30 ปี 90 7.2 31 ปี - 40 ปี 187 14.9 41 ปี - 50 ปี 312 24.8 51 ปี - 60 ปี 332 26.4 61 ปี ขึ้นไป 337 26.7 รวม 1,258 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 761 60.4 ปริญญาตรี 368 29.3 สูงกว่าปริญญาตรี 129 10.3 รวม 1,258 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 165 13.1 ลูกจ้างเอกชน 257 20.4 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 456 36.2 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 60 4.8 ทำงานให้ครอบครัว 4 0.3 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 264 21.0 นักเรียน/ นักศึกษา 16 1.3 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 36 2.9 รวม 1,258 100.0
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์