ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 69.2 ยังไม่รู้แน่ชัดว่าวัคซีนพาสปอร์ตคืออะไร แต่เมื่อทราบถึงประโยชน์แล้วร้อยละ 78.2 เห็นว่า ถ้ามีจะทำให้การเดินทางข้ามประเทศในช่วง COVID-19 สะดวกขึ้น ทั้งนี้ร้อยละ 49.0 ระบุว่าหากไทยตอบรับเรื่อง วัคซีนพาสปอร์ต จะส่งผลดีกับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 71.7 มีความเชื่อมั่นว่าการเปิดประเทศสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน COVID-19 จากทั่วโลก จะช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทยให้กลับมาคึกคักได้
ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุด คือ อาจเกิดปัญหาการทุจริตเพื่อให้ได้วัคซีนพาสปอร์ต เช่น ปลอมแปลงเอกสาร /ใช้เงินซื้อ/ทำวัคซีนพาสปอร์ตปลอม
ผลสำรวจเรื่อง ?วัคซีนพาสปอร์ต กับอนาคตการเดินทาง ยุค COVID-19?
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?วัคซีนพาสปอร์ต กับอนาคตการเดินทาง ยุค COVID-19? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,210 คน พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 69.2 ไม่ทราบว่าวัคซีนพาสปอร์ตคืออะไร ขณะที่ร้อยละ 30.8 ระบุว่าทราบ โดยร้อยละ 78.2 ระบุว่าประโยชน์ของวัคซีนพาสปอร์ตนั้นทำให้สะดวกในการเดินทางข้ามประเทศในช่วง COVID-19 รองลงมาร้อยละ 69.1 ระบุว่าทำให้ลดความเสี่ยงจากการรับ และการแพร่เชื้อ COVID-19 เมื่อไปต่างประเทศ และร้อยละ 67.2 ระบุว่าทำให้สร้างความมั่นใจให้กับประเทศที่ไป ว่าปลอดเชื้อ COVID-19
หากมีการนำวัคซีนพาสปอร์ต มาใช้จริงสำหรับการเดินทาง ประชาชนร้อยละ 32.8 ระบุว่าจะใช้ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 44.6 ระบุว่าจะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก รองลงมาร้อยละ 9.3 ระบุว่าประเทศจีน และร้อยละ 6.3 ระบุว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อถามว่า หากประเทศไทยมีการตอบรับเรื่อง วัคซีนพาสปอร์ต จะส่งผลดีกับธุรกิจ/ภาคส่วนใดมากที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 49.0 ระบุว่าจะส่งผลดีกับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รองลงมาร้อยละ 23.9 ระบุว่าธุรกิจการบิน และร้อยละ 13.4 ระบุว่า บริษัททัวร์/บริษัทนำเที่ยว
สำหรับเรื่องที่กังวลมากที่สุดหากมีการนำแนวคิดเรื่อง วัคซีนพาสปอร์ต มาใช้จริง คือ อาจเกิดปัญหาการทุจริตเพื่อให้ได้วัคซีนพาสปอร์ต เช่น ปลอมแปลงเอกสาร /ใช้เงินซื้อ/ทำวัคซีนพาสปอร์ตปลอม ร้อยละ 49.0 รองลงมาคืออาจต้องมีการบังคับใช้ วัคซีนพาสปอร์ต กับแรงงานต่างด้าวก่อนเข้าประเทศไทยด้วย ร้อยละ 26.7 และ การไม่ยอมรับเอกสาร วัคซีนพาสปอร์ตของไทย จากนานาประเทศ ร้อยละ 10.1
ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.7 มีความเชื่อมั่นว่าการเปิดประเทศสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน COVID-19 จากทั่วโลก จะช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทยให้กลับมาคึกคักได้ ขณะที่ร้อยละ 28.3 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ทราบหรือไม่ว่า ?วัคซีนพาสปอร์ต? คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ทราบ ร้อยละ 30.8 โดยมีประโยชน์เพื่อ....... - สะดวกในการเดินทางข้ามประเทศในช่วง COVID-19 ร้อยละ 78.2 - ลดความเสี่ยงจากการรับ และการแพร่เชื้อ COVID-19 เมื่อไปต่างประเทศ ร้อยละ 69.1 - สร้างความมั่นใจให้กับประเทศที่ไป ว่าปลอดเชื้อ COVID-19 ร้อยละ 67.2 - สิทธิเข้าใช้บริการสถานที่ต่างๆ ในประเทศที่มีข้อกำหนด ร้อยละ 54.6 ไม่ทราบ ร้อยละ 69.2 2. ถ้าในอนาคตมีการนำ วัคซีนพาสปอร์ต มาใช้จริงสำหรับการเดินทาง จะใช้หรือไม่และจะเดินทางไปที่ใดเป็นที่แรก จะใช้ ร้อยละ 32.8 เพื่อเดินทางไปประเทศ.................(5 อันดับแรก) - ญี่ปุน ร้อยละ 44.6 - จีน ร้อยละ 9.3 - สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 6.3 - เกาหลีใต้ ร้อยละ 6.0 - มาเลเซีย ร้อยละ 5.0 ไม่ได้ใช้ ร้อยละ 67.2 3. หากประเทศไทยมีการตอบรับเรื่อง วัคซีนพาสปอร์ต สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน COVID-19 จะส่งผลดีกับธุรกิจ/ภาคส่วนใดมากที่สุด แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ร้อยละ 49.0 สายการบิน ร้อยละ 23.9 บริษัททัวร์/นำเที่ยว ร้อยละ 13.4 โรงแรม/ที่พัก ร้อยละ 5.9 ร้านอาหาร ร้อยละ 3.6 การแข่งขันกีฬานานาชาติ ร้อยละ 1.9 การจัดกิจกรรมสันทนาการต่างๆ การแข่งขันกีฬา ร้อยละ 1.8 อื่นๆ อาทิ บริการขนส่ง รถทัวร์ รถตู้นำเที่ยว ร้อยละ 0.5 4. ท่านกังวลเรื่องใดมากที่สุดหากมีการนำแนวคิดเรื่อง วัคซีนพาสปอร์ต มาใช้จริง สำหรับการเดินทางข้ามประเทศ อาจเกิดปัญหาการทุจริตเพื่อให้ได้วัคซีนพาสปอร์ต เช่น ปลอมแปลงเอกสาร /ใช้เงินซื้อ/ทำวัคซีนพาสปอร์ตปลอม ร้อยละ 49.0 อาจต้องมีการบังคับใช้ วัคซีนพาสปอร์ต กับแรงงานต่างด้าวก่อนเข้าประเทศไทยด้วย ร้อยละ 26.7 การไม่ยอมรับเอกสาร วัคซีนพาสปอร์ต ของไทย จากนานาประเทศ ร้อยละ 10.1 ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนจะไม่สามารถเดินทางไปยังต่างประเทศ ที่มีข้อกำหนดเรื่องวัคซีนพาสปอร์ต ร้อยละ 8.0 หากไม่มี จะไม่ได้รับอนุญาต ให้เข้าในบางสถานที่เมื่อไปต่างประเทศ ร้อยละ 6.0 อื่นๆ อาทิ กลัวมีการแพร่เชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้นเพราะวัคซีนไม่สามารถป้องกันได้ 100% ร้อยละ 0.2 5.ท่านเชื่อมั่นหรือไม่ว่า การเปิดประเทศสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน COVID-19 จากทั่วโลก จะช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทยให้กลับมาคึกคักได้ ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงมีความเชื่อมั่น ร้อยละ 71.7
(โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่น ร้อยละ 40.1 และค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 31.6)
ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 28.3
(โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 23.0 และ ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 5.3)
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการนำวัคซีนพาสปอร์ต สำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว มาใช้ประกอบการเดินทางข้ามประเทศ ตลอดจนข้อดีต่อการฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทยหากตอบรับแนวคิดดังกล่าว เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด(Open Ended) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8-10 มีนาคม 2564
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 13 มีนาคม 2564
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 607 50.2 หญิง 603 49.8 รวม 1,210 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 111 9.2 31 ? 40 ปี 186 15.4 41 ? 50 ปี 316 26.1 51 ? 60 ปี 330 27.3 61 ปีขึ้นไป 267 22.0 รวม 1,210 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 647 53.5 ปริญญาตรี 431 35.6 สูงกว่าปริญญาตรี 132 10.9 รวม 1,210 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 163 13.5 ลูกจ้างเอกชน 246 20.3 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 437 36.1 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 93 7.7 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 231 19.1 นักเรียน/ นักศึกษา 17 1.4 ว่างงาน 23 1.9 รวม 1,210 100.0 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์