สถานะของการรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ประชาชนร้อยละ 47.2 จองคิวแล้วกำลังรอฉีด
รองลงมาร้อยละ 19.3 รอดูสถานการณ์วัคซีนทางเลือก และร้อยละ 14.9 รอจองคิวลงทะเบียน
ขณะที่ร้อยละ 9.2 ไม่คิดว่าจะฉีด โดยให้เหตุผลว่า กังวลกลัวว่าจะแพ้วัคซีน
คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 91.4 อยากฉีดเพราะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองและคนในสังคม
โดยร้อยละ 49.5 จองคิวลงทะเบียนที่ อสม. หรือโรงพยาบาลที่มีสิทธิรักษา
ในภาพรวมส่วนใหญ่ร้อยละ 74.0 ทราบข้อควรปฏิบัติก่อนการฉีดวัคซีน
โดยข้อมูลที่ทราบมากที่สุดคือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด
ส่วนข้อมูลที่ทราบน้อยที่สุดคือ ไม่ควรกินยาลดไข้ แก้ปวด เพราะอาจบดบังการตอบสนองต่อวัคซีน
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง ?สถานะของการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19?จุดไหนที่คนไทยพร้อม? โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,248 คน พบว่า
เมื่อถามว่า ?ท่านอยู่ในสถานะใด ของการรับการฉีดวัคซีนโควิด-19? ประชาชนร้อยละ 47.2 จองคิวแล้วกำลังรอฉีด รองลงมาร้อยละ 19.3 รอดูสถานการณ์วัคซีนทางเลือกมากกว่านี้ และร้อยละ 14.9 รอจองคิวลงทะเบียน ขณะที่ร้อยละ 9.2 ไม่คิดว่าจะฉีด
โดยเมื่อถามเหตุผลผู้ที่ไม่คิดจะฉีดวัคซีนโควิด-19 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35.0 กังวลกลัวว่าจะแพ้วัคซีน รองลงมาร้อยละ 30.4 กลัวเพราะมีโรคประจำตัว ร้อยละ 13.0 ไม่มีความเสี่ยงที่จะติดโควิด และร้อยละ 9.8 ได้รับข้อมูล ผลกระทบ และอาการแพ้ จากการฉีดวัคซีนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูบ
ส่วนเหตุผลที่เลือกจะฉีดวัคซีนโควิด-19 พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 91.4 อยากฉีดเพราะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองและคนในสังคม รองลงมาร้อยละ 58.8 กลัวติดโควิดเพราะสถานการณ์การระบาดเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 38.8 เชื่อหมอและบุคลากรทางการแพทย์พูดให้ข้อมูล
เมื่อถามว่า ?หากท่านจะฉีดวัคซีน จะจองคิวลงทะเบียนผ่านช่องทางใด? ประชาชนร้อยละ 49.5 จะจองคิวลงทะเบียนที่ อสม. หรือโรงพยาบาลที่มีสิทธิรักษา รองลงมาร้อยละ 34.5 จะจองคิวลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ภาครัฐเปิดให้ลงทะเบียน และร้อยละ 10.3 จะลงทะเบียนผ่านจุดฉีดวัคซีน หรือ on - site registration
สำหรับการรับทราบเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติก่อนการฉีดวัคซีนพบว่า ในภาพรวมส่วนใหญ่ร้อยละ 74.0 ทราบข้อควรปฏิบัติก่อนการฉีดวัคซีน ขณะที่ร้อยละ 26.0 ไม่ทราบ โดยข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างรับทราบมากที่สุดคือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ มียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน (คิดเป็นร้อยละ 85.0) ส่วนข้อมูลที่รับทราบน้อยที่สุดคือ ไม่ควรกินยาลดไข้ แก้ปวด เพราะอาจบดบังการตอบสนองต่อวัคซีน (คิดเป็นร้อยละ 54.5)
รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
1. ข้อคำถาม ?ท่านอยู่ในสถานะใด ของการรับการฉีดวัคซีนโควิด-19?
จองคิวแล้วกำลังรอฉีด ร้อยละ 47.2 รอดูสถานการณ์วัคซีนทางเลือกมากกว่านี้ ร้อยละ 19.3 รอจองคิวลงทะเบียน ร้อยละ 14.9 ได้รับการฉีดแล้ว ร้อยละ 7.3 ยอมจ่ายเองกับยี่ห้อวัคซีนที่ต้องการ หรือซื้อแพ็กเกจไปฉีดต่างประเทศ ร้อยละ 2.1 ไม่คิดว่าจะฉีด ร้อยละ 9.2 2. เหตุผลที่เลือกจะไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19 (ถามเฉพาะผู้ที่ไม่คิดว่าจะฉีดในข้อที่ 1) กังวลกลัวว่าจะแพ้วัคซีน ร้อยละ 35.0 กลัวเพราะมีโรคประจำตัว ร้อยละ 30.4 ไม่มีความเสี่ยงที่จะติดโควิด ร้อยละ 13.0 ได้รับข้อมูล ผลกระทบ และอาการแพ้ จากการฉีดวัคซีนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูบ ร้อยละ 9.8 วัคซีนทางเลือกมีน้อย ร้อยละ 6.5 อื่นๆ อาทิเช่น ตั้งครรภ์ ดูแลตัวเองดีอยู่แล้ว ร้อยละ 5.3 3. เหตุผลที่เลือกจะฉีดวัคซีนโควิด-19 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) อยากฉีดเพราะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองและคนในสังคม ร้อยละ 91.4 กลัวติดโควิดเพราะสถานการณ์การระบาดเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 58.8 เชื่อหมอและบุคลากรทางการแพทย์พูดให้ข้อมูล ร้อยละ 38.8 หาข้อมูลผลกระทบวัคซีนมาแล้วทุกยี่ห้อ ร้อยละ 22.8 การฉีดวัคซีนเท่ากับเอาชนะโควิดได้ ร้อยละ 11.8 เชื่อข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ก ยูทูบ ร้อยละ 8.9 เห็นดารา นักร้อง นักแสดง ฉีดเป็นตัวอย่าง ร้อยละ 3.9 เห็นนักการเมืองฉีดเป็นตัวอย่าง ร้อยละ 3.7 อื่นๆ อาทิเช่น อยู่ในพื้นที่เสี่ยง เป็นกลุ่มที่เสี่ยง หน่วยงานที่ทำงานให้ฉีด ร้อยละ 2.5 4. ข้อคำถาม ?หากท่านจะฉีดวัคซีน ท่านจะจองคิวลงทะเบียนผ่านช่องทางใด? อสม. หรือโรงพยาบาลที่มีสิทธิรักษา ร้อยละ 49.5 แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ภาครัฐเปิดให้ลงทะเบียน ร้อยละ 34.5 กานลงทะเบียนผ่านจุดฉีดวัคซีน หรือ on - site registration ร้อยละ 10.3 อื่นๆ อาทิเช่นไม่แน่ใจว่าจะลงทะเบียนอย่างไร ไม่ทราบว่าลงอย่างไร ร้อยละ 5.7 5. การรับทราบเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติก่อนการฉีดวัคซีน ข้อมูล ทราบ (ร้อยละ) ไม่ทราบ (ร้อยละ) 1) ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ มียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน 85.0 15.0 2) ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ และงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 77.8 22.2 3) สองวัน ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน ให้งดออกกำลังกายหนักๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ 77.7 22.3 4) ไปถึงสถานที่ก่อนเวลา เตรียมเอกสารยืนยันตัวตน 76.7 23.3 5) หากเจ็บป่วย มีไข้ ไม่สบาย ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ 73.1 26.9 6) รับประทานอาหารให้เรียบร้อย หากมียารักษาโรคประจำตัวก็ให้รับประทานได้เลย 72.9 27.1 7) ไม่ควรกินยาลดไข้ แก้ปวด เพราะอาจบดบังการตอบสนองต่อวัคซีน 54.5 45.5 เฉลี่ยรวม 74.0 26.0 รายละเอียดการสำรวจ วัตถุประสงค์การสำรวจ 1) เพื่อสะท้อนถึงสถานะของการรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประชาชน 2) เพื่อสะท้อนถึงเหตุผลที่ท่านเลือกที่จะไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19 3) เพื่อสะท้อนถึงเหตุผลที่ท่านเลือกที่จะฉีดวัคซีนโควิด-19 4) เพื่อสะท้อนถึงการรับทราบเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติก่อนการฉีดวัคซีน ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24 ? 27 พฤษภาคม 2564 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 29 พฤษภาคม 2564
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) โทร. 02-407-3886 ต่อ 2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th
Twitter : http://twitter.com/bangkok_poll Facebook : https://facebook.com/bangkokpoll
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 575 46.1 หญิง 673 53.9 รวม 1,248 100.0 อายุ 18 ปี - 30 ปี 72 5.8 31 ปี - 40 ปี 180 14.4 41 ปี - 50 ปี 322 25.8 51 ปี - 60 ปี 364 29.2 61 ปี ขึ้นไป 310 24.8 รวม 1,248 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 745 59.7 ปริญญาตรี 377 30.2 สูงกว่าปริญญาตรี 126 10.1 รวม 1,248 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 198 15.9 ลูกจ้างเอกชน 261 20.9 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 444 35.6 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 34 2.7 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 255 20.4 นักเรียน/ นักศึกษา 12 1.0 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 43 3.4 รวม 1,248 100.0
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์