จากการรายงานยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่พุ่งสูงขึ้นเป็นหลักหมื่นในแต่ละวันทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 เครียดและกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด โดยร้อยละ 72.7 เครียดว่าตนเองและครอบครัวจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น และร้อยละ 69.6 เครียดเรื่องการทำมาหากินยากลำบาก รายได้ลด ถูกเลิกจ้าง หนี้สินเพิ่ม
ทั้งนี้ร้อยละ 46.2 เป็นห่วงว่าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในไทยยังเพิ่มขึ้นยืดเยื้อต่อไปอาจทำให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนแย่ลง
ส่วนวิธีคลายเครียดที่นิยมทำมากที่สุดในช่วงนี้คือ ทำงานบ้าน ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นเกม
กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?ความเครียดและความกังวลของคนไทยต่อสถานการณ์ COVID-19 ณ ปัจจุบัน? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,194 คน พบว่า
จากการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่พุ่งสูงขึ้นเป็นหลักหมื่นในแต่ละวันทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 เครียดและกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 36.1 เครียดและกังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
โดยเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่เครียดและกังวลมากที่สุดคือ กลัวตนเองและครอบครัวเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ร้อยละ 72.7 รองลงมาคือ การทำมาหากินลำบาก รายได้ลด ถูกเลิกจ้าง หนี้สินเพิ่ม ร้อยละ 69.6 และ เชื้อโรคแพร่กระจาย ยอดผู้ติดเชื้อรายวันมีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 48.9
ทั้งนี้กิจกรรมคลายเครียดช่วง COVID-19 ที่นิยมทำมากที่สุด คือ ทำงานบ้าน ร้อยละ 50.0 รองลงมาคือ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ร้อยละ 49.6 และปลูกต้นไม้ ปลูกพืชสวนครัว ร้อยละ 44.2
สำหรับเรื่องที่ประชาชนห่วงและกังวลมากที่สุด หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในไทยยังเพิ่มขึ้นยืดเยื้อต่อไป คือ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอาจแย่ลง มีโจร ขโมย และอาชญากรรมมากขึ้น ร้อยละ 46.2 รองลงมาคือ ระบบสาธารณสุข อาจจะรับมือไม่ไหว ร้อยละ 25.9 และการฟื้นฟูกิจการต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การนำเข้า ส่งออก อาจทำได้ช้าลง ร้อยละ 12.9
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. จากการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่พุ่งสูงขึ้นเป็นหลักหมื่นในแต่ละวัน ทำให้ท่านมีความเครียดและกังวลมากน้อยเพียงใด
เครียดและกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 63.9 (โดยแบ่งเป็น เครียดและกังวลค่อนข้างมาก ร้อยละ 31.2 เครียดและกังวลมากที่สุด ร้อยละ 32.7) เครียดและกังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 36.1 (โดยแบ่งเป็น เครียดและกังวลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 26.3 เครียดและกังวลน้อยที่สุด ร้อยละ 9.8) 2. จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน ท่านมีความเครียดและกังวลเรื่องใดมากที่สุด 5 อันดับแรก กลัวตนเองและครอบครัวเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ร้อยละ 72.7 การทำมาหากินลำบาก รายได้ลด ถูกเลิกจ้าง หนี้สินเพิ่ม ร้อยละ 69.6 เชื้อโรคแพร่กระจาย ยอดผู้ติดเชื้อรายวันมีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 48.9 ต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ไปไหนมาไหนลำบาก เป็นเวลานาน ร้อยละ 41.9 ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ป้องกัน COVID-19 ร้อยละ 39.4 3. กิจกรรมคลายเครียดช่วง COVID-19 ที่นิยมทำมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ทำงานบ้าน ร้อยละ 50.0 ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ร้อยละ 49.6 ปลูกต้นไม้ ปลูกพืชสวนครัว ร้อยละ 44.2 เล่นโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม tiktok ร้อยละ 42.4 ออกกำลังกาย ร้อยละ 37.0 4. หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในไทยยังเพิ่มขึ้นยืดเยื้อต่อไป ท่านห่วงและกังวลในเรื่องใดมากที่สุด คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนแย่ลง มีโจร ขโมย และอาชญากรรมมากขึ้น ร้อยละ 46.2 ระบบสาธารณสุข อาจจะรับมือไม่ไหว ร้อยละ 25.9 การฟื้นฟูกิจการต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การนำเข้า ส่งออก อาจทำได้ช้าลง ร้อยละ 12.9 ประชาชนเกิดความเครียดสะสมมากขึ้น ร้อยละ 7.0 ความกระตือรือร้นในการเรียนและการทำงานลดลง ร้อยละ 4.9 กระทบต่อความมั่นใจในการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ร้อยละ 3.1 รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเครียดและกังวลต่อสถานการณ์ COVID-19 ในปัจจุบัน เรื่องที่เครียดและกังวล ตลอดจนวิธีคลายเครียดและเรื่องที่ห่วงกังวลหากสถานการณ์ดังกล่าวยืดเยื้อ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16-18 สิงหาคม 2564
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 21 สิงหาคม 2564
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 494 41.4 หญิง 700 58.6 รวม 1,194 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 183 15.3 31 ? 40 ปี 240 20.1 41 ? 50 ปี 284 23.8 51 ? 60 ปี 265 22.2 61 ปีขึ้นไป 222 18.6 รวม 1,194 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 877 73.5 ปริญญาตรี 276 23.1 สูงกว่าปริญญาตรี 41 3.4 รวม 1,194 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 116 9.7 ลูกจ้างเอกชน 259 21.7 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 542 45.4 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 35 2.9 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 163 13.7 นักเรียน/นักศึกษา 34 2.8 ว่างงาน 44 3.7 รวม 1,194 100.0
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์