หลังผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ประชาชนเริ่ม กลับไปเปิดร้าน กลับไปทำงาน เดินเที่ยวห้าง และนั่งทานอาหารในร้าน ขณะที่ร้อยละ 41.0 อยู่บ้านเหมือนช่วงยังไม่คลายล็อกดาวน์
ทั้งนี้พบว่าประชาชนร้อยละ 54.5 มีความเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุดว่า ห้างร้าน ต่างๆ จะปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ได้ในระยะยาว
ส่วนร้อยละ 62.7 มีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดว่าหลังจากผ่อนคลายมาตรการ ล็อกดาวน์อาจนำไปสู่การติดเชื้อระลอกใหม่ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 71.7 เห็นด้วยกับมาตรการโควิดฟรีเซตติ้งที่ต้องมีหลักฐานฉีดวัคซีนครบโดส หรือผลตรวจ ATK เป็นลบ ก่อนจึงเข้าใช้บริการร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ได้
กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?คนไทยคิดอย่างไร??หลังผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,200 คน พบว่า
กิจกรรมที่ประชาชนทำหลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมาคือ ได้กลับไปเปิดร้าน ได้กลับไปทำงาน ร้อยละ 15.5 รองลงมาคือ เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ร้อยละ 11.9 และนั่งทานอาหารในร้าน ร้อยละ 11.4 ขณะที่ ร้อยละ 41.0 ระบุว่า อยู่บ้านเหมือนช่วงที่ยังไม่มีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์
เมื่อถามว่า เชื่อมั่นเพียงใดว่าสถานประกอบการ ห้างร้าน ต่างๆ จะปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ในระยะยาว ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.5 ระบุว่า เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 45.5 ระบุว่า เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ส่วนความกังวลว่าหลังจากผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อาจนำไปสู่การติดเชื้อระลอกใหม่ นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.7 ระบุว่า กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 37.3 ระบุว่า กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
สำหรับความเห็นต่อการเตรียมใช้มาตรการโควิดฟรีเซตติ้ง สำหรับลูกค้าที่ เข้าร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ตัดผม คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม ต้องมีหลักฐานฉีดวัคซีนครบโดส หรือผลตรวจ ATK เป็นลบ ตั้งแต่ 1 ต.ค. นี้ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.7 เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ลดความเสี่ยงจากการรับ และการแพร่เชื้อ โควิด-19 และสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าคนอื่นๆ และพนักงานในร้าน ขณะที่ร้อยละ 28.3 ระบุว่าไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า เร็วเกินไปยังฉีดวัคซีนไม่ทั่วถึงทำให้เสียลูกค้าในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนจะถูกตัดสิทธิ์ในการใช้บริการ
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. สิ่งที่ทำหลังจากผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา คือ
เปิดร้าน/กลับไปทำงาน ร้อยละ 15.5 เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า ร้อยละ 11.9 นั่งทานอาหารที่ร้าน ร้อยละ 11.4 เข้าร้านตัดผม/เสริมสวย ร้อยละ 10.4 ไปสนามกีฬา/ออกกำลังกายกลางแจ้ง ร้อยละ 4.8 เที่ยวต่างจังหวัด/วางแผนท่องเที่ยว ร้อยละ 4.3 เข้าร้านนวด ร้อยละ 0.7 อยู่บ้านเหมือนช่วงที่ยังไม่มีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ร้อยละ 41.0 2. ท่านเชื่อมั่นเพียงใด ว่าสถานประกอบการ ห้างร้าน ต่างๆ จะปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ในระยะยาว เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 45.5
(โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 41.3 และเชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 4.2)
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 54.5
(โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย ร้อยละ 42.0 และเชื่อมั่นน้อยที่สุด ร้อยละ 12.5)
3. ท่านกังวลเพียงใดว่าหลังจากผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อาจนำไปสู่การติดเชื้อระลอกใหม่
กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 62.7
(โดยแบ่งเป็น กังวลค่อนข้างมาก ร้อยละ 45.9 และกังวลมากที่สุด ร้อยละ16.8 )
กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 37.3
(โดยแบ่งเป็น กังวลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 28.8 และกังวลน้อยที่สุด ร้อยละ 8.5)
เห็นด้วย ร้อยละ 71.7 โดยให้เหตุผลว่า ลดความเสี่ยงจากการรับ และการแพร่เชื้อ โควิด-19 ร้อยละ 37.4 สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าคนอื่นๆ และพนักงานในร้าน ร้อยละ 34.3 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 28.3 โดยให้เหตุผลว่า เร็วเกินไปยังฉีดวัคซีนไม่ทั่วถึงทำให้เสียลูกค้าในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน ร้อยละ 14.6 ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนจะถูกตัดสิทธิ์ในการใช้บริการ ร้อยละ 7.1 เกิดการแบ่งแยกทางสังคม เลือกปฏิบัติตามมา ร้อยละ 5.1 อื่นๆ อาทิ ฉีดวัคซีนครบแล้วก็ยังติดเชื้อได้ ยุ่งยาก เข้มงวดเกินไป ฯลฯ ร้อยละ 1.5 ? รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งที่ทำหลังมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ความเชื่อมั่นในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ของห้างร้านต่างๆ ตลอดจนความกังวลเรื่องการติดเชื้อระลอกใหม่ และความเห็นที่มีต่อการเตรียมใช้มาตรการโควิดฟรีเซตติ้งสำหรับการเข้าใช้บริการ ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 13-15 กันยายน 2564
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 18 กันยายน 2564
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 600 50.0 หญิง 600 50.0 รวม 1,200 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 102 8.5 31 ? 40 ปี 161 13.4 41 ? 50 ปี 302 25.2 51 ? 60 ปี 321 26.7 61 ปีขึ้นไป 314 26.2 รวม 1,200 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 724 60.3 ปริญญาตรี 356 29.7 สูงกว่าปริญญาตรี 120 10.0 รวม 1,200 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 149 12.4 ลูกจ้างเอกชน 244 20.3 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 405 33.8 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 90 7.5 ทำงานให้ครอบครัว 2 0.2 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 255 21.2 นักเรียน/นักศึกษา 20 1.7 ว่างงาน 35 2.9 รวม 1,200 100.0
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์