คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 52.5 เชื่อหากโควิด-19 คลี่คลาย การท่องเที่ยวหนาวนี้ จะคึกคักค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
โดยคนไทยอยากไปท่องเที่ยวทำบุญมากที่สุด รองลงมาอยากไปเกาะ ทะเลสวยๆ และอยากไปดอยภาคเหนือ
ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 กลัวนักท่องเที่ยวการ์ดตก ไม่สวมผ้าปิดปาก กลัวติด โควิด?19 ขณะไปท่องเที่ยว
ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.2 ปรับตัวท่องเที่ยวจากสถานการณ์โควิด-19 โดยจะใส่หน้ากากอนามัย พกเจลล้างมือบ่อยๆ
ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยว่ารัฐจะใช้มาตรการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันโควิด
โดยประชาชนสนใจเข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกันคิดเป็นร้อยละ 34.8
และสนใจเข้าร่วมโครงการทัวร์เที่ยวไทยคิดเป็นร้อยละ 33.4
เนื่องในวันที่ 27 กันยายนที่จะถึงนี้เป็นวันท่องเที่ยวโลก กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?คนไทยกับการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,154 คน พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 52.5 เห็นว่าหากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย การท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาวที่จะถึงนี้ จะคึกคักค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 47.5 เห็นว่าจะคึกคักค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
เมื่อถามว่า ?อยากไปท่องเที่ยวในประเทศไทยรูปแบบใด หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย? กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 34.5 อยากไปท่องเที่ยวทำบุญ เช่น ทำบุญ 9 วัด รองลงมาร้อยละ 31.3 อยากไปเกาะ ไปทะเลสวยๆ และร้อยละ 31.2 อยากไปดอยภาคเหนือ
ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุด ถ้าต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาวนี้ หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 กลัวนักท่องเที่ยวการ์ดตก ไม่สวมผ้าปิดปาก กลัวติด โควิด? 19 รองลงมาร้อยละ 55.2 กลัวความแออัดของคนในสถานที่เที่ยว และร้อยละ 30.8 กลัวร้านอาหาร ไม่ปฏิบัติตามกฎ ศบค.
สำหรับการปรับตัวจากสถานการณ์โควิด-19 หากไปท่องเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.2 จะใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือบ่อยๆ รองลงมาร้อยละ 59.2 จะหลีกเลี่ยงสถานที่ๆ แออัด คาดว่าคนจะไปเยอะ และร้อยละ 50.4 จะตรวจสอบข้อมูลของจังหวัดท่องเที่ยวเกี่ยวกับการระบาดโควิด-19
ด้านความเชื่อมั่นว่าภาครัฐจะใช้มาตรการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 สร้างความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 32.8 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
สุดท้ายเมื่อถามว่า ?สนใจเข้าร่วมลงทะเบียนโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวเริ่มวันที่ 24 กันยายน นี้หรือไม่? พบว่า โครงการเราเที่ยวด้วยกันมีประชาชนสนใจเข้าร่วมโครงการร้อยละ 34.8 ขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.8 ไม่สนใจส่วนที่เหลือร้อยละ 7.4 ไม่แน่ใจ
ส่วนโครงการทัวร์เที่ยวไทยมีประชาชนสนใจเข้าร่วมโครงการร้อยละ 33.4 ขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.0 ไม่สนใจ ส่วนที่เหลือร้อยละ 6.6 ไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ข้อคำถาม ?การท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาวที่จะถึงนี้จะคึกคักมากน้อยเพียงใด หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย?
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 52.5 (โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 45.3 และมากที่สุด ร้อยละ 7.2) ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 47.5 (โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 41.0 และน้อยที่สุด ร้อยละ 6.5) 2. ข้อคำถาม ?ท่านอยากไปท่องเที่ยวในประเทศไทยรูปแบบใด หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย? (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) อยากไปท่องเที่ยวทำบุญ เช่น ทำบุญ 9 วัด ร้อยละ 34.5 อยากไปเกาะ ไปทะเลสวยๆ ร้อยละ 31.3 อยากไปดอยภาคเหนือ ร้อยละ 31.2 อยากไปท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ธรรมชาติ เช่น น้ำตก เข้าป่า กางเต้นท์ ร้อยละ 24.8 อยากไปท่องเที่ยววิถีชุมชน ร้อยละ 11.8 อยากไปภูภาคอีสาน ร้อยละ 10.6 อื่นๆ เช่น ปัญหาสุขภาพ กลัวโรคไม่อยากไปไหน ร้อยละ 2.9 ? 3. เรื่องที่ท่านกังวลมากที่สุด ถ้าต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาวนี้ หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) กลัวนักท่องเที่ยวการ์ดตก ไม่สวมผ้าปิดปาก กลัวติด โควิด? 19 ร้อยละ 69.5 กลัวความแออัดของคนในสถานที่เที่ยว ร้อยละ 55.2 กลัวร้านอาหาร ไม่ปฏิบัติตามกฎ ศบค. ร้อยละ 30.8 กลัวอุบัติเหตุ รถชน บนท้องถนน ร้อยละ 26.5 กลัวที่พัก อาหาร ราคาแพง ร้อยละ 19.2 อื่นๆ เช่น ไม่มีเรื่องกังวล ร้อยละ 3.2 4. การปรับตัวจากสถานการณ์โควิด-19 หากไปท่องเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 78.2 หลีกเลี่ยงสถานที่ๆ แออัด คาดว่าคนจะไปเยอะ ร้อยละ 59.2 ตรวจสอบข้อมูลของจังหวัดท่องเที่ยวเกี่ยวกับการระบาดโควิด-19 ร้อยละ 50.4 เลือกใช้บริการสถานที่พัก ร้านอาหาร หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการที่ปลอดภัย ร้อยละ 40.4 ลงทะเบียนไทยชนะทุกครั้งที่เข้าสถานที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 32.2 อื่นๆ เช่น ไม่มีความเห็น ไม่ได้ไปเที่ยวไหน ร้อยละ 0.9 5. ความเชื่อมั่นว่าภาครัฐจะใช้มาตรการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 สร้างความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 67.2 (โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 46.9 และน้อยที่สุด ร้อยละ 20.3) ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 32.8 (โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 28.4 และมากที่สุด ร้อยละ 4.4) 6. ข้อคำถาม ?ท่านสนใจเข้าร่วมลงทะเบียนโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวเริ่มวันที่ 24 กันยายน นี้หรือไม่? โครงการ สนใจเข้าร่วม ไม่สนใจเข้าร่วม ไม่แน่ใจ รวม 1) เราเที่ยวด้วยกัน 34.8 57.8 7.4 100.0 2) โครงการทัวร์เที่ยวไทย 33.4 60.0 6.6 100.0 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ 1) เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อรูปแบบที่อยากไปท่องเที่ยวในประเทศไทย หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย 2) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่กังวลมากที่สุด ถ้าต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาวนี้ หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย 3) เพื่อสะท้อนถึงการปรับตัวจากสถานการณ์โควิด-19 หากไปท่องเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ 4) เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อภาครัฐว่าจะใช้มาตรการจัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยวอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 สร้างความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว 5) เพื่อสะท้อนถึงความสนใจเข้าร่วมลงทะเบียนโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวเริ่มวันที่ 24 กันยายนนี้ ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20-22 กันยายน 2564 วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 25 กันยายน 2564 ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 582 50.4 หญิง 572 49.6 รวม 1,154 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 83 7.2 31 ? 40 ปี 176 15.3 41 ? 50 ปี 335 29.0 51 ? 60 ปี 314 27.2 61 ปีขึ้นไป 246 21.3 รวม 1,154 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 673 58.4 ปริญญาตรี 379 32.8 สูงกว่าปริญญาตรี 102 8.8 รวม 1,154 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 151 13.1 ลูกจ้างเอกชน 210 18.2 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 424 36.6 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 78 6.8 ทำงานให้ครอบครัว 3 0.3 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 228 19.8 นักเรียน/นักศึกษา 21 1.8 ว่างงาน 39 3.4 รวม 1,154 100.0
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์