จากสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ ทำให้ประชาชนร้อยละ 57.5 กังวลค่อนข้างน้อยว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมซ้ำรอยปี 2554 ขณะที่ ร้อยละ 42.5 กังวลค่อนข้างมาก โดยร้อยละ 70.4 มีความเชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุดว่ารัฐบาลจะสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ประชาชนให้คะแนนความพอใจต่อการเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำท่วม จากทุกภาคส่วนในครั้งนี้ เฉลี่ย 3.02 คะแนนจากเต็ม 5 คะแนน โดยด้านการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเตรียมรับมือได้คะแนนสูงที่สุด เฉลี่ย 3.65 คะแนน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.5 กังวลเรื่องการรับมือกับโรคระบาดที่มากับน้ำไปพร้อมกับการรับมือเชื้อโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาด
จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ทำให้คิดย้อนไปถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?ครบ 10 ปี มหาอุทกภัย คนไทยหวาดหวั่นหรือไม่? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,077 คน พบว่า
จากข่าวน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆ ขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.5 มีความกังวลค่อนข้างน้อยถึงไม่กังวลเลย ว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมซ้ำรอยปี 54 ขณะที่ ร้อยละ 42.5 มีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
เมื่อถามว่าเชื่อมั่นเพียงใดว่ารัฐบาลจะสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมเหมือนปี 54 ได้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.4 ระบุว่า มีความเชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 29.6 ระบุว่า มีความเชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด
ทั้งนี้ประชานได้ให้คะแนนความพอใจต่อการเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำท่วม จากทุกภาคส่วนในครั้งนี้ เฉลี่ย 3.02 คะแนนจากเต็ม 5 คะแนน โดยด้านที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ ด้านการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเตรียมรับมือ ได้คะแนนเฉลี่ย 3.65 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการแจ้งเตือนภัย จากหน่วยงานราชการให้แก่ประชาชนได้คะแนนเฉลี่ย 3.02 คะแนนซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการเข้าถึงประชาชน และ ความรวดเร็วด้านความช่วยเหลือได้คะแนนเฉลี่ย 2.88 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุดจากสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.5 ระบุว่า กังวลเรื่องการรับมือกับโรคระบาดที่มากับน้ำไปพร้อมกับการรับมือเชื้อโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาด รองลงมาร้อยละ 57.3 ระบุว่า กลัวมีพายุฝนตกซ้ำเติมทำให้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่แย่ลง และร้อยละ 41.4ระบุว่า กลัวงบประมาณในการเยียวยา และฟื้นฟู ผู้ประสบภัยไม่เพียงพอ
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. จากข่าวน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆ ขณะนี้ ท่านมีความวิตกกังวลหรือไม่เพียงใด ว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมซ้ำรอยปี 54
กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 42.5 (โดยแบ่งเป็น กังวลค่อนข้างมาก ร้อยละ 27.1 และกังวลมากที่สุด ร้อยละ 15.4) กังวลค่อนข้างน้อยถึงไม่กังวลเลย ร้อยละ 57.5 (โดยแบ่งเป็น กังวลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 27.0 และไม่กังวลเลย ร้อยละ 30.5) 2. ท่านเชื่อมั่นเพียงใดว่ารัฐบาลจะสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมเหมือนปี 54 ได้ เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 29.6 (โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 27.3 และ เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 2.3) เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 70.4 (โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นน้อย ร้อยละ 38.7 และเชื่อมั่นน้อยที่สุด ร้อยละ 31.7) 3. ท่านพอใจกับการเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำท่วม จากทุกภาคส่วนในครั้งนี้มากน้อยเพียงใด ประเด็น ความพอใจ (เต็ม 5 คะแนน) ระดับ การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเตรียมรับมือ 3.65 มาก การแจ้งเตือนภัย จากหน่วยงานราชการให้แก่ประชาชน 3.02 ปานกลาง การเข้าถึงประชาชน และ ความรวดเร็วด้านความช่วยเหลือ 2.88 ปานกลาง การเตรียมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย และสถานที่พักพิง 2.87 ปานกลาง เตรียมการรับมือ อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ให้ทันท่วงที 2.87 ปานกลาง มีการบริหารจัดการน้ำ เตรียมการระบายน้ำไม่ให้ท่วมขังนาน 2.84 ปานกลาง เฉลี่ย 3.02 ปานกลาง 4. เรื่องที่ท่านกังวลมากที่สุดจากสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ (เลือกตอบได้มากกว่า 1ข้อ) การรับมือกับโรคระบาดที่มากับน้ำพร้อมทั้งรับมือกับเชื้อโควิดที่แพร่ระบาดไปด้วย ร้อยละ 67.5 กลัวมีพายุฝนตกซ้ำเติมทำให้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่แย่ลง ร้อยละ 57.3 กลัวงบประมาณในการเยียวยา และฟื้นฟู ผู้ประสบภัยไม่เพียงพอ ร้อยละ 41.4 กลัวชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำจะได้รับความเสียหายมากกว่าที่คาดการณ์ ร้อยละ 41.1 กลัวเขื่อนแตกแล้วทำให้น้ำท่วมขยายพื้นที่เป็นวงกว้าง ร้อยละ 38.1 กลัวกระทบต่อการฟื้นฟูการท่องเที่ยวช่วงโควิดคลี่คลาย ร้อยละ 29.7 อุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์น้ำท่วม ร้อยละ 28.9 รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน ความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมเหมือนปี 2554 ตลอดจนความพึงพอใจต่อการเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำท่วมจากทุกภาคส่วน และเรื่องที่กังวลมากที่สุดจากสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 28-30 กันยายน 2564
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 2 ตุลาคม 2564
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์