ประชาชนร้อยละ 77.3 ระบุว่าปีนี้จะไม่ออกไปลอยกระทง เพราะกลัวการแพร่เชื้อ COVID-19 ขณะที่ร้อยละ 22.7 ระบุว่าจะออกไปลอยกระทงเพราะจะได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว/คนรัก โดยร้อยละ 61.1 จะไปลอยกระทงริมคลองแถวบ้านเพื่อเลี่ยงความแออัด
ทั้งนี้ร้อยละ 71.8 ระบุว่า ?ลอยกระทงวิถีใหม่? ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 น่าจะส่งผลให้บรรยากาศของงานมีความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลง
โดยร้อยละ 74.4 กังวลว่าจะเกิดคลัสเตอร์ใหม่ หลังจากงานลอยกระทง
กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง ?คนไทยคิดเห็นอย่างไร ในค่ำคืนวันลอยกระทง? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,184 คน พบว่า
วันลอยกระทงปีนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 77.3 ระบุว่า จะไม่ออกไปลอยกระทง โดยร้อยละ 46.0 ให้เหตุผลว่า คนเยอะ กลัวการแพร่เชื้อ COVID-19 รองลงมาร้อยละ 22.0 ให้เหตุผลว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันนี้ และร้อยละ 8.5 ให้เหตุผลว่า จะใช้วิธีลอยกระทงออนไลน์แทน ขณะที่ร้อยละ 22.7 ระบุว่าจะออกไปลอยกระทง โดยร้อยละ 16.6 ให้เหตุผลว่า จะได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว/คนรัก รองลงมาร้อยละ 16.2 ให้เหตุผลว่า เป็นการสืบสานประเพณีไทย และร้อยละ 15.6 ให้เหตุผลว่า เพื่อขอขมาพระแม่คงคาตามความเชื่อ
ทั้งนี้ผู้ที่ลอยกระทงส่วนใหญ่ร้อยละ 61.1 ระบุว่าจะออกไปลอยกระทงริมคลองแถวบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงคนเยอะ รองลงมาร้อยละ 34.1 ระบุว่าจะออกไปลอยกระทงตามงานวัด ชุมชน สวนสาธารณะ ที่จัดงานลอยกระทง และร้อยละ 4.8 ระบุว่าจะออกไปลอยกระทงตามงานอีเว้นท์ใหญ่ๆที่จัดขึ้นในจังหวัดต่างๆ
เมื่อถามว่าการสืบสานประเพณี ?ลอยกระทงวิถีใหม่? ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะส่งผลให้บรรยากาศของงานมีความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลงหรือไม่ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 71.8 คิดว่าน่าจะส่งผลให้ความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลง ขณะที่ร้อยละ 28.2 คิดว่าไม่ส่งผลให้ความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลง
ส่วนเรื่องที่ห่วงและกังวลมากที่สุดจากการจัดงานลอยกระทงในปีนี้ นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.4 กังวลว่าจะเกิดคลัสเตอร์ใหม่ จากงานลอยกระทง รองลงมาร้อยละ 14.4 กังวลว่าผู้จัดงานปล่อยปะละเลย/ ไม่คุมเข้มตามมาตรการป้องกัน COVID-19 และร้อยละ 6.4 กังวลว่าจะมีการลักลอบดื่มสุรา/จำหน่ายสุรา
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้? 1. ลอยกระทงปีนี้ท่านจะออกไปลอยกระทงหรือไม่
ไม่ไป ร้อยละ 77.3 โดยให้เหตุผลว่า (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) คนเยอะ กลัวการแพร่เชื้อ COVID-19 ร้อยละ 46.0 ไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันนี้ ร้อยละ 22.0 จะลอยกระทงออนไลน์แทน ร้อยละ 8.5 มีการคุมเข้มมาตรการป้องกันCOVID-19 อาจทำให้ไม่สนุก ร้อยละ 6.9 ติดงาน ติดธุระ ร้อยละ 3.6 อายุมากแล้ว เลยวัยแล้ว ร้อยละ 3.5 ไม่มีคนไปลอยด้วย ร้อยละ 2.6 อื่นๆ อาทิ สุขภาพไม่แข็งแรง ไม่สะดวกเดินทาง ลดขยะ ฯลฯ ร้อยละ 4.6 ไป ร้อยละ 22.7 โดยให้เหตุผลว่า (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว/คนรัก ร้อยละ 16.6 สืบสานประเพณีไทย ร้อยละ 16.2 ขอขมาพระแม่คงคา ร้อยละ 15.6 อยากออกไปเที่ยว/ชมบรรยากาศ ร้อยละ 8.0 สังสรรค์/พบปะเพื่อนฝูง ร้อยละ 2.8 2. ท่านจะเลือกออกไปลอยกระทงที่ใด (ถามเฉพาะผู้ที่ตอบว่าออกไปลอยกระทง) ริมคลองแถวบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงคนเยอะ ร้อยละ 61.1 ตามงานวัด ชุมชน สวนสาธารณะ ที่จัดงานลอยกระทง ร้อยละ 34.1 ตามงานอีเว้นท์ใหญ่ๆที่จัดขึ้นในจังหวัดต่างๆ ร้อยละ 4.8 3. ท่านคิดว่า การสืบสานประเพณี ?ลอยกระทงวิถีใหม่? ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะส่งผลให้บรรยากาศของงานมีความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลงหรือไม่ คิดว่าน่าจะส่งผลให้ความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลง ร้อยละ 71.8 คิดว่าไม่ส่งผลให้ความสนุกสนาน ครึกครื้น ลดลง ร้อยละ 28.2 4. เรื่องที่ท่านห่วงและกังวลมากที่สุดจากการจัดงานลอยกระทงในปีนี้คือ เกิดคลัสเตอร์ใหม่ จากงานลอยกระทง ร้อยละ 74.4 ผู้จัดงานปล่อยปะละเลย/ ไม่คุมเข้มตามมาตรการป้องกันCOVID-19 ร้อยละ 14.4 มีการลักลอบดื่มสุรา/จำหน่ายสุรา ร้อยละ 6.4 เกิดอุบัติเหตุทางน้ำ เช่น พลัดตกน้ำ จมน้ำ ร้อยละ 4.2 อื่นๆ อาทิ เกิดขยะในแม่น้ำ การทะเลาะวิวาท การทำอนาจาร ฯลฯ ร้อยละ 0.6 รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการออกไปลอยกระทงในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตลอดจนความกังวลที่มีต่อผู้ที่ออกไปเที่ยวงานลอยกระทงในปีนี้ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 15-17 พฤศจิกายน 2564
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 19 พฤศจิกายน 2564
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 604 51.0 หญิง 580 49.0 รวม 1,184 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 99 8.4 31 ? 40 ปี 169 14.3 41 ? 50 ปี 306 25.8 51 ? 60 ปี 320 27.0 61 ปีขึ้นไป 290 24.5 รวม 1,184 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 662 55.9 ปริญญาตรี 385 32.5 สูงกว่าปริญญาตรี 137 11.6 รวม 1,184 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 138 11.7 ลูกจ้างเอกชน 261 22.0 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 406 34.3 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 71 6.0 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 263 22.2 นักเรียน/นักศึกษา 20 1.7 ว่างงาน 25 2.1 รวม 1,184 100.0 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์