ที่สุดวัคซีนแห่งปี ไฟเซอร์เป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่คนไทยอยากฉีดมากที่สุดแต่ไม่ได้ฉีด
ในภาพรวมคนไทยมีความพึงพอใจต่อการรับวัคซีน โควิด-19 ในระดับปานกลาง
โดยเรื่องที่พึงพอใจมากที่สุดคือ การบริการ ช่องทางในการไปรับการฉีดวัคซีน
ส่วนเรื่องที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือ การเยียวยาช่วยเหลือประชาชนที่ต้องรอการฉีดวัคซีน
บุคลากรทางการแพทย์ที่คนไทยนึกถึงมากที่สุด เมื่อพูดถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ปี 2564 คือ หมอทวีศิลป์
เนื่องในวันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันสาธารณสุขแห่งชาติ กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?ที่สุดวัคซีนแห่งปี? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,172 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 32.0 อยากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ? 19 ของไฟเซอร์มากที่สุด รองลงมาร้อยละ 25.4 อยากฉีดของโมเดอร์นา และร้อยละ10.4 อยากฉีดของแอสตร้าเซนเนก้า
สำหรับความพึงพอใจต่อการรับวัคซีน โควิด-19 พบว่า ในภาพรวมได้คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 3.33คะแนน ซึ่งแปลผลได้ว่า มีความพึงพอใจระดับปานกลาง โดยเรื่องที่พึงพอใจมากที่สุดคือ การบริการ ช่องทางในการไปรับการฉีดวัคซีน ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.65 คะแนน รองลงมาคือ การแจ้งข่าว ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวัคซีนได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 และความรวดเร็วในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนครบทั้งประเทศ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 คะแนน ส่วนเรื่องที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือ การเยียวยาช่วยเหลือประชาชนที่ต้องรอการฉีดวัคซีน การล็อกดาวน์ประเทศ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.89 คะแนน
เมื่อถามถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่นึกถึงมากที่สุด เมื่อพูดถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ปี 2564 พบว่า ประชาชนร้อยละ 39.9 นึกถึงหมอทวีศิลป์ มากที่สุด รองลงมาร้อยละ 23.5 นึกถึงหมอยง และร้อยละ 15.3 นึกถึงหมอเบิร์ท
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
?
1. ที่สุดแห่งวัคซีนที่คนไทยอยากฉีด แต่ไม่ได้ฉีด
(ตอบเพียง 1 ข้อ)
ไฟเซอร์ ร้อยละ 32.0 โมเดอร์นา ร้อยละ 25.4 แอสตร้าเซนเนก้า ร้อยละ 10.4 ซิโนฟาร์ม ร้อยละ 6.2 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ร้อยละ 6.0 ซิโนแวค ร้อยละ 1.1 อื่นๆ เช่น ฉีดยี่ห้ออะไรก็ได้ ไม่มียี่ห้อที่อยากฉีด ร้อยละ 18.9 2. ความพึงพอใจต่อการรับวัคซีน โควิด-19 เรื่อง คะแนน (เต็ม 5 คะแนน) เกณฑ์ การแปลผล 1. การบริการ ช่องทางในการไปรับการฉีดวัคซีน 3.65 มาก 2. การแจ้งข่าว ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวัคซีน 3.54 มาก 3. ความรวดเร็วในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนครบทั้งประเทศ 3.42 มาก 4. คุณภาพของวัคซีนที่ให้กับประชาชน 3.31 ปานกลาง 5. การบริหารจัดการวัคซีนของหน่วยงานภาครัฐ 3.17 ปานกลาง 6. การเยียวยาช่วยเหลือประชาชนที่ต้องรอการฉีดวัคซีน การล็อกดาวน์ประเทศ 2.89 ปานกลาง เฉลี่ยรวม 3.33 ปานกลาง
เกณฑ์สำหรับการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.21 ? 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.41 ? 4.20 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 2.61 ? 3.40 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.81 ? 2.60 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 ? 1.80 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด 3. บุคลากรทางการแพทย์ที่นึกถึงมากที่สุด เมื่อพูดถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ปี 2564 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) หมอทวีศิลป์ (นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน) ร้อยละ 39.9 หมอยง (ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ) ร้อยละ 23.5 หมอเบิร์ท (พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์) ร้อยละ 15.3 หมอธีระวัฒน์ (ศ. นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา) ร้อยละ 8.9 หมอบุญ (นพ.บุญ วนาสิน) ? ร้อยละ 6.7 หมอบุ๋ม (พญ. พรรณประภา ยงค์ตระกูล) ร้อยละ 5.2 อื่นๆ เช่น ไม่ทราบ ไม่ได้ติดตามข่าว ร้อยละ 31.6 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll ? รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ 1) เพื่อสะท้อนถึงวัคซีนที่คนไทยอยากฉีด แต่ไม่ได้ฉีด 2) เพื่อสะท้อนถึงความพึงพอใจ ต่อการรับวัคซีน โควิด-19 3) เพื่อสะท้อนถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่นึกถึงมากที่สุด เมื่อพูดถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ปี 2564 ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22-24 พฤศจิกายน 2564 วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 27 พฤศจิกายน 2564 ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 547 46.7 หญิง 625 53.3 รวม 1,172 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 101 8.6 31 ? 40 ปี 174 14.8 41 ? 50 ปี 298 25.4 51 ? 60 ปี 331 28.3 61 ปีขึ้นไป 268 22.9 รวม 1,172 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 697 59.4 ปริญญาตรี 371 31.7 สูงกว่าปริญญาตรี 104 8.9 รวม 1,172 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 122 10.4 ลูกจ้างเอกชน 244 20.8 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 471 40.1 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 51 4.4 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 231 19.7 นักเรียน/นักศึกษา 30 2.6 ว่างงาน 23 2.0 รวม 1,172 100.0
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์