ประชาชนร้อยละ 64.1 ระบุว่าสินค้าราคาแพงขึ้นทำให้ต้องซื้อของไหว้ตรุษจีนในปีนี้น้อยลง/เกรดต่ำลง เพื่อให้ครบตามประเพณี
ทั้งนี้ร้อยละ 91.5 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยว่าภาครัฐจะสามารถควบคุมพ่อค้าแม่ค้าไม่ให้แอบขึ้นราคาสินค้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนได้
โดยร้อยละ 82.2 เห็นว่ามาตรการตรึงราคาสินค้าของภาครัฐในช่วงนี้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนได้ค่อนข้างน้อย
ส่วนร้อยละ 73.3 อยากให้ภาครัฐควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าราคาสูง เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพงในขณะนี้
กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง ?คิดอย่างไรกับราคาสินค้า ช่วงใกล้ตรุษจีนปีเสือ? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,167 คน พบว่า
จากราคาสินค้าต่างๆ มีราคาแพงขึ้น เช่น หมู เป็ด ไก่ ส่งผลต่อการซื้อของไหว้ในวันตรุษจีนในปีนี้ โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 64.1 ระบุว่า ทำให้ซื้อของไหว้แต่ละอย่างน้อยลง/เกรดต่ำลง เพื่อให้ครบตามประเพณี รองลงมา ร้อยละ 31.1 ระบุว่าต้องยอมตัดของไหว้ บางอย่างที่ตัดได้ออก เพื่อประหยัดงบประมาณ และร้อยละ 14.2 ระบุว่า ต้องยอมหาของไหว้อื่นทดแทน เพราะสู้ราคาไม่ไหว
เมื่อถามว่าเชื่อมั่นเพียงใดว่าภาครัฐจะสามารถควบคุมพ่อค้าแม่ค้าไม่ให้แอบขึ้นราคาสินค้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนได้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 91.5 ระบุว่าเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 8.5 ระบุว่า เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ส่วนมาตรการตรึงราคาสินค้าของภาครัฐในช่วงนี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้มากน้อยเพียงใดนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 82.2 ระบุว่าช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 17.8 ระบุว่าช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ทั้งนี้เรื่องที่ประชาชนอยากให้ภาครัฐออกมาตรการเพื่อแก้ปัญหาเรื่องสินค้าราคาแพงในขณะนี้มากที่สุดร้อยละ 73.3 คือควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ให้ต้นทุนการขนส่งสินค้ามีราคาสูง รองลงมาร้อยละ 63.0 คือควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น เช่น แก๊สหุงต้ม น้ำตาล น้ำมันพืช ข้าวสาร ฯลฯ และร้อยละ 53.5 คือควบคุมราคาสินค้าที่เป็นต้นทางในการผลิตวัตถุดิบ เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ย ฯลฯ
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้? 1. ปัจจุบันราคาสินค้าต่างๆ มีราคาแพงขึ้น เช่น หมู เป็ด ไก่ ไข่ ส่งผลอย่างไรต่อการซื้อของไหว้ในวันตรุษจีนในปีนี้ (ถามเฉพาะผู้ที่ ไหว้และทำกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณีจีน)
ซื้อของไหว้แต่ละอย่างน้อยลง/เกรดต่ำลง เพื่อให้ครบตามประเพณี ร้อยละ 61.4 ต้องยอมตัดของไหว้ บางอย่างที่ตัดได้ออก เพื่อประหยัดงบประมาณ ร้อยละ 31.1 ยอมหาของไหว้อื่นทดแทน เพราะสู้ราคาไม่ไหว ร้อยละ 14.2 ต้องใช้งบประมาณมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆมา ร้อยละ 12.1 ใช้ของจากปีที่แล้ว เช่น กระดาษเงิน กระดาษทอง ร้อยละ 11.3 ยอมซื้อของไหว้ที่จัดเป็นชุดไว้แล้ว เพราะราคาถูกกว่าซื้อแยก ร้อยละ 9.0 ซื้อเท่าเดิม จัดเต็มตามประเพณีเพราะ 1 ปี มีครั้งเดียว ร้อยละ 25.3 2. ท่านเชื่อมั่นเพียงใดว่า ภาครัฐจะสามารถควบคุมพ่อค้าแม่ค้าไม่ให้แอบขึ้นราคาสินค้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนได้ เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 91.5 โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย ร้อยละ 40.0 และเชื่อมั่นน้อยที่สุด ร้อยละ 51.5) เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 8.5 (โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 8.4 และเชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 0.1) 3. ท่านคิดว่า มาตรการตรึงราคาสินค้าของภาครัฐในช่วงนี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด ช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 82.2 โดยแบ่งเป็น ช่วยได้ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 47.2 และช่วยได้น้อยที่สุด ร้อยละ 35.0) ช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 17.8 (โดยแบ่งเป็น ช่วยได้ค่อนข้างมาก ร้อยละ 16.3 และช่วยได้มากที่สุด ร้อยละ 1.5) 4. ท่านอยากให้ภาครัฐออกมาตรการอะไรเพื่อแก้ปัญหาเรื่องสินค้าราคาแพงในขณะนี้ ควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ให้ต้นทุนการขนส่งสินค้ามีราคาสูง ร้อยละ 73.3 ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น เช่น แก๊สหุงต้ม น้ำตาล น้ำมันพืช ข้าวสาร ฯลฯ ร้อยละ 63.0 ควบคุมราคาสินค้าที่เป็นต้นทางในการผลิตวัตถุดิบ เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ย ฯลฯ ร้อยละ 53.5 เพิ่มบทลงโทษกับพ่อค้าคนกลาง/ผู้ค้ารายใหญ่ที่กักตุนสินค้ามากเกินความจำเป็น ร้อยละ 47.6 เพิ่มจุดขายสินค้าราคาถูกให้ประชาชนเข้าถึงได้มากขึ้น ร้อยละ 45.2
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลอย่างไรต่อการซื้อของไหว้ในช่วงตรุษจีน การขึ้นราคาสินค้าในช่วงตรุษจีน และความเห็นต่อการตรึงราคาสินค้าของภาครัฐ ตลอดจนเรื่องที่อยากให้ภาครัฐทำเพื่อช่วยบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24-26 มกราคม 2565
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 29 มกราคม 2565
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 581 49.8 หญิง 586 50.2 รวม 1,167 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 94 8.1 31 ? 40 ปี 152 13.0 41 ? 50 ปี 284 24.3 51 ? 60 ปี 337 28.9 61 ปีขึ้นไป 300 25.7 รวม 1,167 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 702 60.1 ปริญญาตรี 345 29.6 สูงกว่าปริญญาตรี 120 10.3 รวม 1,167 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 129 11.0 ลูกจ้างเอกชน 248 21.3 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 467 40.0 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 55 4.7 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 223 19.1 นักเรียน/นักศึกษา 21 1.8 ว่างงาน 23 2.0 รวม 1,167 100.0 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์