คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 54.7 เห็นว่าข้าวของราคาแพง มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.9 ต้องมีปรับตัวจากผลกระทบข้าวของราคาแพง
โดยในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.9 ทำอาหารกินเอง รองลงมาร้อยละ 59.7 ลดปริมาณการซื้อลง
ประชาชนร้อยละ 46.9 ชี้การขึ้นราคาค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด
โดยร้อยละ 47.1 เห็นว่าโครงการคนละครึ่งเฟส 4 จะช่วยเหลือประชาชนได้ได้ระดับปานกลาง
ผลสำรวจเรื่อง ?ชีวิตความเป็นอยู่คนไทยวันนี้ กับสถานการณ์ข้าวของราคาแพง?
กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?ชีวิตความเป็นอยู่คนไทยวันนี้ กับสถานการณ์ข้าวของราคาแพง? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,033 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 43.1 เห็นว่าจากสถานการณ์ข้าวของราคาแพง ทำให้สถานะทางการเงินพอดีกับค่าใช้จ่ายไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ขณะที่ร้อยละ 39.0 ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ส่วนร้อยละ 17.9 ยังเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
เมื่อถามว่าจากผลกระทบข้าวของราคาแพง มีผลต่อการใช้จ่าย การดำเนินชีวิต ของท่านมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.7 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ส่วนร้อยละ 36.6 เห็นว่ามีผลปานกลาง ขณะที่ร้อยละ 8.7 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ทั้งนี้เมื่อถามว่ามีการปรับตัวหรือไม่อย่างไร ในยุคที่ข้าวของราคาแพงขึ้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.9 มีการปรับตัว โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 60.9 ทำอาหารกินเอง เอาอาหารมากินเองที่ทำงาน รองลงมาร้อยละ 59.7 ลดปริมาณการซื้อลง และร้อยละ 50.2 ซื้อสินค้าอย่างอื่นทดแทนสินค้าที่ราคาแพงขึ้น ขณะที่ร้อยละ 11.1 ไม่มีการปรับตัว ใช้ชีวิตปกติ กินปกติ
โดยเมื่อถามว่าการขึ้นราคาสินค้าอุปโภค บริโภคอะไร ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากที่สุด ประชาชนร้อยละ 46.9 เห็นว่าคือการขึ้นราคาค่าน้ำมันเชื้อเพลิง รองลงมาคือ การซื้ออาหารสดตามตลาด คิดเป็นร้อยละ 35.7 และการไปกินอาหารที่ร้านตามสั่ง ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว คิดเป็นร้อยละ 8.9
สุดท้ายเมื่อถามว่าจากข้าวของราคาแพงขึ้น คิดว่าการมีโครงการคนละครึ่งเฟส 4 จะช่วยเหลือประชาชนให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นมากน้อยเพียงใด ประชาชนร้อยละ 47.1 เห็นว่าช่วยได้ระดับปานกลาง ส่วนร้อยละ 32.1 เห็นว่าช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 20.8 เห็นว่าช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ข้อคำถาม ?จากสถานการณ์ข้าวของราคาแพง ทำให้สถานะทางการเงินของท่านเป็นอย่างไร?
ยังเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม ร้อยละ 17.9 พอดีกับค่าใช้จ่ายไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ร้อยละ 43.1 ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ร้อยละ 39.0 2. ข้อคำถาม ?จากผลกระทบข้าวของราคาแพง มีผลต่อการใช้จ่าย การดำเนินชีวิต ของท่านมากน้อยเพียงใด? ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 54.7 (โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 36.6 และมากที่สุด ร้อยละ 18.1) ปานกลาง ร้อยละ 36.6 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 8.7 (โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 6.0 และน้อยที่สุด ร้อยละ 2.7) ? 3. ท่านมีการปรับตัวหรือไม่อย่างไร ในยุคที่ข้าวของราคาแพงขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) มีการปรับตัว โดย ร้อยละ 88.9 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ทำอาหารกินเอง เอาอาหารมากินเองที่ทำงาน ร้อยละ 60.9 ลดปริมาณการซื้อลง ร้อยละ 59.7
ซื้อสินค้าอย่างอื่นทดแทนสินค้าที่ราคาแพงขึ้น ร้อยละ 50.2
กินอาหารนอกบ้านน้อยลง ร้อยละ 26.9 กินอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูปมากขึ้น ร้อยละ 13.5 ลดมื้ออาหารลงจาก 3 มื้อ ร้อยละ 4.5 อื่นๆ เช่น ปลูกผักกินเอง หาปลากินเอง ร้อยละ 2.0 ไม่มีการปรับตัว ใช้ชีวิตปกติ กินปกติ ร้อยละ 11.1 4. การขึ้นราคาสินค้าอุปโภค บริโภคอะไร ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของท่านมากที่สุด การขึ้นราคาค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 46.9 การซื้ออาหารสดตามตลาด ร้อยละ 35.7 การไปกินอาหารที่ร้านตามสั่ง ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ร้อยละ 8.9 การซื้อสินค้าต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 6.5 อื่นๆ เช่น ไม่ส่งผลกระทบ ไม่มีความเห็น ร้อยละ 2.0 5. ข้อคำถาม ?จากข้าวของราคาแพงขึ้น ท่านคิดว่าการมีโครงการคนละครึ่งเฟส 4 จะช่วยเหลือประชาชนให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นมากน้อยเพียงใด? ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 20.8 (โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 15.8 และมากที่สุด ร้อยละ 5.0) ปานกลาง ร้อยละ 47.1 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 32.1 (โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 22.3 และน้อยที่สุด ร้อยละ 9.8) รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ 1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในยุคข้าวของราคาแพง 2) เพื่อสะท้อนถึงโครงการคนละครึ่งเฟส 4 จะช่วยเหลือประชาชนให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นมากน้อยเพียงใด ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 31มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2565 วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 5 กุมภาพันธ์ 2565 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 522 50.5 หญิง 511 49.5 รวม 1,033 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 80 7.7 31 ? 40 ปี 134 13.0 41 ? 50 ปี 253 24.5 51 ? 60 ปี 302 29.2 61 ปีขึ้นไป 264 25.6 รวม 1,033 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 657 63.6 ปริญญาตรี 289 28.0 สูงกว่าปริญญาตรี 87 8.4 รวม 1,033 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 115 11.1 ลูกจ้างเอกชน 198 19.2 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 428 41.4 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 44 4.3 ทำงานให้ครอบครัว 1 .1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 199 19.3 นักเรียน/นักศึกษา 16 1.5 ว่างงาน 32 3.1 รวม 1,033 100.0
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์