ประชาชนร้อยละ 58.7 ทราบแล้วว่าหากรัฐเลิกตรึงราคาดีเซลอาจจะส่งผลให้ราคาสินค้าและค่าครองชีพสูงขึ้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.2 กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดว่ารายรับจะไม่เพียงพอกับรายจ่าย โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 72.5 เลือกรับมือด้วยการใช้จ่ายประหยัดขึ้น ซื้อแต่ของที่จำเป็น
ทั้งนี้ร้อยละ 43.4 อยากให้รัฐควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือประชาชนลดภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยร้อยละ 54.8 อยากให้รัฐใช้งบประมาณมาอุดหนุนหรือลดภาษีสรรพสามิต เพื่อตรึงราคาน้ำมันต่อไป
ผลสำรวจเรื่อง ?รับมืออย่างไร หากค่าครองชีพพุ่ง หลังรัฐเลิกตรึงราคาน้ำมันดีเซล?
กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง ?รับมืออย่างไร หากค่าครองชีพพุ่ง หลังรัฐเลิกตรึงราคาน้ำมันดีเซล? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,038 คน เมื่อวันที่ 25-28 เมษายน ที่ผ่านมาพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.7 ทราบว่ารัฐบาลจะเลิกตรึงราคาน้ำมันดีเซลในเดือน พ.ค. นี้ และอาจจะส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุว่าไม่ทราบ
โดยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 77.2 ระบุว่ามีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดว่ารายรับจะไม่เพียงพอกับรายจ่ายหากราคาสินค้าและค่าครองชีพขยับตัวสูงขึ้น ขณะที่ร้อยละ 22.8 ระบุว่ามีความกังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
เมื่อถามว่า ?มีวิธีรับมืออย่างไรกับค่าครองชีพที่มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นหากรัฐจะเลิกตรึงราคาน้ำมันดีเซลในเดือน พ.ค. นี้? ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 72.5 ระบุว่าใช้จ่ายอย่างประหยัด ใช้จ่ายแต่สิ่งจำเป็น รองลงมาร้อยละ 11.6 ระบุว่าหารายได้เสริมจากงานประจำ และร้อยละ 10.5 ระบุว่าใช้วิธีวางแผนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน
ทั้งนี้เรื่องที่อยากให้รัฐบาลมีนโยบายหรือโครงการใดเพื่อช่วยเหลือประชาชน ลดภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น นั้นพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 43.4 อยากให้รัฐควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น รองลงมาร้อยละ 17.4 อยากให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้นเพื่อสอดรับกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น และร้อยละ 12.7 อยากนำโครงการต่างๆ กลับมาใช้ใหม่เพื่อแบ่งเบาภาระประชาชน เช่น คนละครึ่ง และอยากสนับสนุนภาคเอกชนให้มีการจ้างงานเพิ่มเพื่อลดปัญหาการว่างงาน
สำหรับแนวทางที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.8 คิดว่ารัฐบาลควรหาทางออกเรื่องการบริหารจัดการน้ำมันภายในประเทศ คือ ใช้งบประมาณมาอุดหนุนหรือลดภาษีสรรพสามิต เพื่อตรึงราคาน้ำมันต่อไป รองลงมาร้อยละ 17.2 คือ ค่อยๆ ทยอยปรับขึ้นราคาน้ำมันเพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัว และร้อยละ 9.4 คือ ปล่อยราคาน้ำมันไปตามกลไกของตลาดโลก ประชาชนจะได้รู้ราคาที่แท้จริง
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ทราบหรือไม่ว่ารัฐบาลจะเลิกตรึงราคาน้ำมันดีเซลในเดือน พ.ค. นี้ และอาจจะส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น
ทราบ ร้อยละ 58.7 ไม่ทราบ ร้อยละ 41.3 2. กังวลมากน้อยเพียงใดว่ารายรับของท่านจะไม่เพียงพอกับรายจ่ายหากราคาสินค้าและค่าครองชีพขยับตัวสูงขึ้น กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 77.2 (โดยแบ่งเป็น กังวลค่อนข้างมาก ร้อยละ 47.1 และกังวลมากที่สุด ร้อยละ 30.1 ) กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 22.8 (โดยแบ่งเป็น กังวลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 18.2 และกังวลน้อยที่สุด ร้อยละ 4.6 ) 3. ท่านมีวิธีรับมืออย่างไรกับค่าครองชีพที่มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นหากรัฐจะเลิกตรึงราคาน้ำมันดีเซลในเดือน พ.ค. นี้ ใช้จ่ายอย่างประหยัด ใช้จ่ายแต่สิ่งจำเป็น ร้อยละ 72.5 หารายได้เสริมจากงานประจำ ร้อยละ 11.6 วางแผนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน ร้อยละ 10.5 ประหยัดไฟ เพราะค่าไฟขึ้นราคา ร้อยละ 3.1 ซื้อของยกแพ็ค เพราะราคาถูกกว่า ร้อยละ 2.3 4. ท่านอยากให้รัฐบาลมีนโยบายหรือโครงการใดเพื่อช่วยเหลือประชาชน ลดภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น ร้อยละ 43.4 ปรับค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้นเพื่อสอดรับกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ร้อยละ 17.4 นำโครงการต่างๆ กลับมาใช้ใหม่เพื่อแบ่งเบาภาระประชาชน เช่น คนละครึ่ง ร้อยละ 12.7 สนับสนุนภาคเอกชนให้มีการจ้างงานเพิ่มเพื่อลดปัญหาการว่างงาน ร้อยละ 12.7 หาวิธีเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย/เพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชน ร้อยละ 12.1 อื่นๆ อาทิ ช่วยเรื่องค่าน้ำ-ค่าไฟ ลดต้นทุนในการผลิตสินค้า ดูแลเรื่องราคาปุ๋ย ฯลฯ ร้อยละ 1.7 5. ท่านคิดว่ารัฐบาลควรหาทางออกเรื่องการบริหารจัดการน้ำมันภายในประเทศด้วยแนวทางใด ใช้งบประมาณมาอุดหนุนหรือลดภาษีสรรพสามิต เพื่อตรึงราคาต่อไป ร้อยละ 54.8 ค่อยๆ ทยอยปรับขึ้นราคาน้ำมันเพื่อให้ประชาชนได้ปรับตัว ร้อยละ 17.2 ปล่อยราคาน้ำมันไปตามกลไกของตลาดโลก ประชาชนจะได้รู้ราคาที่แท้จริง ร้อยละ 9.4 รณรงค์ให้ประชาชนลดปริมาณการใช้น้ำมัน ร้อยละ 8.6 สนับสนุนและ ผลักดันการใช้รถพลังงานไฟฟ้าแทนรถที่ใช้น้ำมัน ร้อยละ 8.0 อื่นๆ อาทิ ให้ใช้น้ำมันที่ผลิตในประเทศไทย ลดการส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศ ฯลฯ ร้อยละ 2.0 ? รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรับมือกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น หลังรัฐบาลเลิกตรึงราคาน้ำมันดีเซล ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการน้ำมันในประเทศให้กับรัฐบาลพิจารณา ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25-28 เมษายน 2565
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 30 เมษายน 2565
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 541 52.1 หญิง 497 47.9 รวม 1,038 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 80 7.7 31 ? 40 ปี 132 12.7 41 ? 50 ปี 282 27.2 51 ? 60 ปี 277 26.7 61 ปีขึ้นไป 267 25.7 รวม 1,038 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 599 57.7 ปริญญาตรี 339 32.7 สูงกว่าปริญญาตรี 100 9.6 รวม 1,038 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 105 10.1 ลูกจ้างเอกชน 217 20.9 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 405 39.0 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 45 4.4 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 226 21.8 นักเรียน/นักศึกษา 19 1.8 ว่างงาน 21 2.0 รวม 1,038 100.0 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์