ปัจจุบันผู้ใช้รถเมล์ส่วนใหญ่ร้อยละ 89.2 พบเจอกับปัญหารถเมล์ขาดระยะ ต้องรอรถนาน
ร้อยละ 75.4 ระบุว่าจากปัญหารถเมล์ขาดระยะ ลดเที่ยววิ่ง และยกเลิกสายรถเมล์บางเส้นทาง ทำให้ไปเรียน/ทำงานสาย/ถึงที่หมายช้ากว่ากำหนด
ทั้งนี้ร้อยละ 77.3 ไม่ค่อยมั่นใจว่า ขสมก. จะสามารถแก้ปัญหาการให้บริการรถเมล์ที่เกิดขึ้นภายใน 15 วัน ได้
ส่วนร้อยละ 56.9 อยากฝากถามผู้บริหาร ขสมก. และส่วนงานที่เกี่ยวข้องว่า จะมีรถเมล์ให้บริการครอบคลุมทุกเส้นทางได้หรือไม่เพื่อคำนึงถึงผู้มีรายได้น้อย
ผลสำรวจเรื่อง ?ความเดือดร้อนของประชาชน ต่อการใช้บริการรถเมล์ไทย?
กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง ?ความเดือดร้อนของประชาชน ต่อการใช้บริการรถเมล์ไทย? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในกรุงเทพและปริมณฑลที่ใช้บริการรถเมล์ จำนวน 1,151 คน เมื่อวันที่ 17-21 มิถุนายน ที่ผ่านมาพบว่า
ปัญหาที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 89.2 พบจากการใช้บริการรถเมล์ในปัจจุบันคือ รถขาดระยะ ต้องรอรถนาน รองลงมาร้อยละ 44.4 คือ รถแน่น/ขึ้นไม่ทัน โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน และร้อยละ 35.5 คือ รถเก่า/ชำรุด/รถสกปรก
ทั้งนี้ผลกระทบที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.4 ได้รับจากปัญหา รถเมล์ขาดระยะ ลดเที่ยววิ่ง และยกเลิกสายรถเมล์บางเส้นทาง คือ ไปเรียน/ทำงานสาย/ถึงที่หมายช้ากว่ากำหนด รองลงมาร้อยละ 61.4 คือ ต้องใช้บริการขนส่งทางอื่น ทำให้เพิ่มภาระค่าใช้จ่าย และร้อยละ 37.3 คือ ต้องต่อรถเมล์หลายสาย จากเดิมที่นั่งสายเดียวถึง
เมื่อถามว่า ?มั่นใจหรือไม่ว่า ขสมก. จะสามารถแก้ปัญหาการให้บริการรถเมล์ที่เกิดขึ้นภายใน 15 วัน ได้? ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 77.3 ระบุว่าไม่ค่อยมั่นใจถึงไม่มั่นใจเลย ขณะที่ร้อยละ 22.7 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจถึงมั่นใจ
ส่วนสิ่งที่อยากฝากถามผู้บริหาร ขสมก. และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง มากที่สุดในการให้บริการรถเมล์แก่ประชาชนมากที่สุดร้อยละ 56.9 คือ มีรถเมล์ให้บริการครอบคลุมทุกเส้นทางได้หรือไม่เพื่อคำนึงถึงผู้มีรายได้น้อย รองลงมาร้อยละ 53.2 คือ ทำไมรถเมล์ถึงมีให้บริการน้อย และร้อยละ 51.0 คือ ประชาชนจะได้รับผลกระทบจากปัญหารถเมล์ขาดระยะ ลดเที่ยววิ่ง และยกเลิกสายรถเมล์บางเส้นทาง นานแค่ไหน
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดจากการใช้บริการรถเมล์ในปัจจุบันคือเรื่องใด (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ตำตอบ)
รถขาดระยะ ต้องรอรถนาน ร้อยละ 89.2 รถแน่น/ขึ้นไม่ทัน โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน ร้อยละ 44.4 รถเก่า/ชำรุด/รถสกปรก ร้อยละ 35.5 ช่วงเช้ามืด ตอนค่ำไม่มีรถเมล์วิ่ง/มีรถน้อย ร้อยละ 30.2 ขับรถเร็ว/ขับคร่อมเลน/ไม่ทำตามกฎจราจร ร้อยละ 27.6 รถไม่จอดตามป้าย/จอดเลยป้าย ร้อยละ 26.0 พนักงานไม่สุภาพ ร้อยละ 16.0 สายรถเมล์ที่ใช้ประจำยกเลิกบริการ ร้อยละ 10.8 อื่นๆ อาทิ ค่าโดยสารแพงขึ้น ปล่อยควันดำ เครื่องสแกนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้ไม่ค่อยได้ ฯลฯ ร้อยละ 0.9 2. ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหา รถเมล์ขาดระยะ ลดเที่ยววิ่ง และยกเลิกสายรถเมล์บางเส้นทาง คือ(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ตำตอบ) ไปเรียน/ทำงานสาย/ถึงที่หมายช้ากว่ากำหนด ร้อยละ 74.5 ต้องใช้บริการขนส่งทางอื่น ทำให้เพิ่มภาระค่าใช้จ่าย ร้อยละ 61.4 ต้องต่อรถเมล์หลายสาย จากเดิมที่นั่งสายเดียวถึง ร้อยละ 37.3 ต้องมาสูดดมมลภาวะริมถนนนานขึ้น ร้อยละ 34.5 กลับบ้านดึกขึ้น เสี่ยงอันตราย ร้อยละ 30.8 อื่นๆ อาทิ ต้องตื่นเช้ากว่าเดิม ต้องเดินกลับบ้าน ไม่รู้ว่าสายไหนยกเลิกบ้าง ฯลฯ ร้อยละ 0.8 ไม่ได้รับผลกระทบ ร้อยละ 8.0 3. มั่นใจหรือไม่ว่า ขสมก. จะสามารถแก้ปัญหาการให้บริการรถเมล์ที่เกิดขึ้นภายใน 15 วัน ได้ ค่อนข้างมั่นใจถึงมั่นใจ ร้อยละ 22.7 (โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 17.1 และมั่นใจ ร้อยละ 5.6 ) ไม่ค่อยมั่นใจถึงไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 77.3 (โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 44.8 และไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 32.5 ) 4. สิ่งที่อยากฝากถามผู้บริหาร ขสมก. และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง มากที่สุดในการให้บริการรถเมล์แก่ประชาชนคือ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ตำตอบ) มีรถเมล์ให้บริการครอบคลุมทุกเส้นทางได้หรือไม่เพื่อคำนึงถึงผู้มีรายได้น้อย ร้อยละ 56.9 ทำไมรถเมล์ถึงมีให้บริการน้อย ร้อยละ 53.2 ประชาชนจะได้รับผลกระทบจากปัญหารถเมล์ขาดระยะ ลดเที่ยววิ่ง และยกเลิกสายรถเมล์บางเส้นทาง นานแค่ไหน ร้อยละ 51.0 เมื่อไหร่รถเมล์จะมาตรงเวลา ร้อยละ 44.2 เส้นทางที่ยกเลิกบริการจะมีแนวทางช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบหรือไม่ ร้อยละ 31.6 อื่นๆ อาทิ จะมีรถเมล์ฟรีอีกไหม ทำไมรถเมล์ไม่ค่อยจอดป้าย ไม่รับผู้โดยสาร ทำไมบอกหมดระยะทั้งที่บอกว่าไปสุดสาย ทำไมรถเก่า ปล่อยควันดำ ยังมีวิ่งอยู่อีก ฯลฯ ร้อยละ 4.9 ? รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่ได้รับจากการใช้รถเมล์ในปัจจุบัน ตลอดจนความมั่นใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดจนสิ่งที่ฝากถึงผู้บริหาร ขสมก. และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชนที่โดยสารรถเมล์ในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 20 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่เขตคลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ธนบุรี บางเขน บางกอกน้อย บางกะปิ บางซื่อ บางนา บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี สวนหลวง หนองแขม หลักสี่ และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรปราการ
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,151 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 17-21 มิถุนายน 2565
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 25 มิถุนายน 2565
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 525 45.6 หญิง 626 54.4 รวม 1,151 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 304 26.4 31 ? 40 ปี 214 18.6 41 ? 50 ปี 210 18.2 51 ? 60 ปี 230 20.0 61 ปีขึ้นไป 193 16.8 รวม 1,151 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 681 59.2 ปริญญาตรี 419 36.4 สูงกว่าปริญญาตรี 51 4.4 รวม 1,151 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 120 10.4 ลูกจ้างเอกชน 440 38.2 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 275 23.9 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 17 1.5 ทำงานให้ครอบครัว 5 0.4 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 138 12.0 นักเรียน/นักศึกษา 126 11.0 ว่างงาน 30 2.6 รวม 1,151 100.0 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์