เยาวชนร้อยละ 87.6 ระบุเคยถูกบูลลี่ จากโรงเรียน ที่ทำงาน และในสังคมออนไลน์
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.7 ระบุว่าถูกบูลลี่ด้วยการล้อชื่อบุพการี และร้อยละ 57.3 ถูกล้อเลียนปมด้อย รูปร่าง หน้าตา พร้อมระบุ รู้สึกเสียใจ เศร้าใจ เมื่อถูกบูลลี่
โดยร้อยละ 57.4 รับมือด้วยการ อยู่เงียบๆ ไม่ตอบโต้ใดๆ เดี๋ยวก็หยุด/เงียบไปเอง
ทั้งนี้ร้อยละ 48.7 ยอมรับว่าเคยไปบูลลี่คนอื่น และส่วนใหญ่ร้อยละ 53.0 มีความตระหนักถึงผลจากการบูลลี่มากที่สุดเมื่อเห็นข่าวที่มีคนถูกบูลลี่จนกลายเป็นโรคซึมเศร้า /ทำร้ายตัวเอง/เก็บกดจนทำร้ายผู้อื่น
ผลสำรวจเรื่อง ?เยาวชน กับการบูลลี่ในสังคมไทย?
เนื่องด้วยวันที่ 20 กันยายนนี้ เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง ?เยาวชน กับการบูลลี่ในสังคมไทย? โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 1,203 คน เมื่อวันที่ 9-14 กันยายน ที่ผ่านมา พบว่า
เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 40.7 มีความเห็นต่อการบูลลี่ในสังคมไทยและโลกออนไลน์ในปัจจุบันว่า เป็นเรื่องที่ร้ายแรงกระทบต่อจิตใจอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง และ ทำร้ายผู้อื่นได้ รองลงมาร้อยละ 27.8 มีความเห็นว่า บางครั้งก็มากเกินไป/รุนแรงเกินไป และร้อยละ 24.2 มีความเห็นว่า สนุกคนทำ แต่เป็นเรื่องเศร้าของคนถูกบูลลี่
เมื่อถามว่าเคยถูกบูลลี่จากโรงเรียน ที่ทำงาน หรือในสังคมออนไลน์หรือไม่ เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 87.6 ระบุว่า เคย โดยเรื่องที่เยาวชนส่วนใหญ่ถูกบูลลี่มากที่สุดร้อยละ 65.7 คือ ถูกล้อชื่อบุพการี รองลงมาร้อยละ 57.3 คือ ถูกล้อเลียนปมด้อย รูปร่างหน้าตา และร้อยละ 32.4 ระบุว่า ถูกทำให้อับอายในที่สาธารณะ ขณะที่เยาวชนร้อยละ 12.4 ระบุว่ายังไม่เคยถูกบูลลี่
เมื่อถามเฉพาะผู้ที่เคยถูกบูลลี่ว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อถูกคนบูลลี่ เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 48.3 ระบุว่า เสียใจ เศร้าใจ รองลงมาร้อยละ 38.7 ระบุว่า โกรธ โมโห และร้อยละ 27.2 ระบุว่า เฉยๆ ไม่สนใจ
สำหรับวิธีรับมือเมื่อถูกคนบูลลี่ นั้น เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.4 ระบุว่า อยู่เงียบๆ ไม่ตอบโต้ใดๆ ปล่อยไปเดี๋ยวก็หยุด/เงียบไปเอง รองลงมาร้อยละ 47.3 ระบุว่า แสดงออกให้เห็นว่าไม่ได้รู้สึกสนุกด้วย/ไม่ชอบการกระทำนั้น และร้อยละ 32.9 ระบุว่า เก็บเอามาเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเอง ในทางที่ดีขึ้น
ทั้งนี้เมื่อถามว่า เคยไป บูลลี่ คนอื่นบ้างหรือไม่ เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.3 ระบุว่า ไม่เคย ขณะที่ร้อยละ 48.7 ระบุว่าเคย
ส่วนความเห็นจากข่าวที่มีคนถูกบูลลี่จนกลายเป็นโรคซึมเศร้า /ทำร้ายตัวเอง/เก็บกดจนทำร้ายผู้อื่น ทำให้ตระหนักถึงผลจากการบูลลี่มากน้อยเพียงใด นั้น เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.0 ระบุว่าตระหนักมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 30.2 ระบุว่า มาก และร้อยละ 12.7 ระบุว่า ปานกลาง
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ท่านคิดอย่างไรกับการบูลลี่ ในสังคมและโลกออนไลน์ในปัจจุบัน
เป็นเรื่องที่ร้ายแรงกระทบต่อจิตใจอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง และ ทำร้ายผู้อื่นได้ ร้อยละ 40.7 บางครั้งก็มากเกินไป/รุนแรงเกินไป ร้อยละ 27.8 สนุกคนทำ แต่เป็นเรื่องเศร้าของคนถูกบูลลี่ ร้อยละ 24.2 คิดว่าเป็นการแซว ล้อเล่นกันขำๆ ในหมู่เพื่อนมากกว่า ร้อยละ 7.3 2. ท่านเคยถูกคนบูลลี่ จากโรงเรียน ที่ทำงาน หรือในสังคมออนไลน์ หรือไม่ เคย ร้อยละ 87.6 โดยระบุว่าถูกบูลลี่เรื่อง...................... ล้อชื่อบุพการี ร้อยละ 65.7 ล้อเลียนปมด้อย รูปร่าง หน้าตา ร้อยละ 57.3 ทำให้อับอายในที่สาธารณะ ร้อยละ 32.4 เหน็บแนม ร้อยละ 32.3 ถูกกลั่นแกล้งด้วยวิธีต่างๆ ร้อยละ 21.9 ถูกกีดกันไม่ให้เข้ากลุ่ม ร้อยละ 16.9 ถูกปล่อยข่าวลือให้เสียหาย ร้อยละ 14.0 คุกคามทางเพศ ร้อยละ 11.1 เพศ เหยียดเพศ ร้อยละ 10.7 ข่มขู่ /รีดไถเงิน ร้อยละ 6.0 ฐานะทางบ้าน ร้อยละ 5.4 อื่นๆ อาทิ โรคประจำตัว ศาสนา ฯลฯ ร้อยละ 0.5 ไม่เคย ร้อยละ 12.4 3. ท่านรู้สึกอย่างไรเมื่อถูกคนบูลลี่ (ถามเฉพาะผู้ที่เคยถูกบูลลี่) (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ตำตอบ) เสียใจ/เศร้า ร้อยละ 48.3 โกรธ /โมโห ร้อยละ 38.7 เฉยๆ ไม่สนใจ ร้อยละ 27.2 ไม่อยากไปโรงเรียน/ทำงาน ร้อยละ 15.9 โทษตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่มีค่า ร้อยละ 15.4 เก็บตัวไม่อยากเจอผู้คน ร้อยละ 14.6 เคียดแค้น/ต้องเอาคืน ร้อยละ 10.8 อื่นๆ อาทิ ประหม่า ไม่มั่นใจในตนเอง ฯลฯ ร้อยละ 0.4 4. ท่านคิดว่ามีวิธีรับมืออย่างไรเมื่อถูกคนบูลลี่ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ตำตอบ) อยู่เงียบๆ ไม่ตอบโต้ใดๆ ปล่อยไปเดี๋ยวก็หยุด/เงียบไปเอง ร้อยละ 57.4 แสดงออกให้เห็นว่าไม่ได้รู้สึกสนุกด้วย/ไม่ชอบการกระทำนั้น ร้อยละ 47.3 เก็บเอามาเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาตัวเอง ในทางที่ดีขึ้น ร้อยละ 32.9 ปรับทุกข์ พูดคุยกับผู้ที่เคยถูกบูลลี่เหมือนกัน ร้อยละ 14.5 เก็บตัว/หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าผู้ที่กลั่นแกล้ง ร้อยละ 13.4 หาวิธีเอาคืน/แก้เผ็ด ร้อยละ 13.2 เก็บหลักฐาน ฟ้องครู /ผู้ปกครอง/ผู้บังคับใช้กฎหมาย ร้อยละ 10.3 ระบายผ่านโซเชียลมีเดีย ร้อยละ 9.1 ปรึกษาจิตแพทย์ ร้อยละ 4.9 ปิดรับข้อมูลคำวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อต่างๆ ร้อยละ 4.0 ย้ายโรงเรียน/ย้ายที่ทำงาน ร้อยละ 0.9 อื่นๆ อาทิ ให้อภัย ยอมรับความจริง ปรับตัวให้ได้ ฯลฯ ร้อยละ 0.6 5. ท่านเคยไป บูลลี่ คนอื่นบ้างหรือไม่ เคย ร้อยละ 48.7 ไม่เคย ร้อยละ 51.3 6. จากข่าวที่มีคนถูกบูลลี่จนกลายเป็นโรคซึมเศร้า /ทำร้ายตัวเอง/เก็บกดจนทำร้ายผู้อื่น ทำให้ท่านตระหนักถึงผลจากการบูลลี่มากน้อยเพียงใด มากที่สุด ร้อยละ 53.0 มาก ร้อยละ 30.2 ปานกลาง ร้อยละ 12.7 น้อย ร้อยละ 2.9 น้อยที่สุด ร้อยละ 1.2 รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนเกี่ยวกับการบูลลี่ ที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในปัจจุบัน ทั้งในเรื่องของประสบการณ์การเคยถูกคนอื่นบูลลี่และเคยบูลลี่คนอื่น เรื่องที่มักจะถูกบูลลี่ วิธีรับมือเมื่อถูกบูลลี่ ตลอดจนความตระหนักถึงผลที่ตามมาจากการบูลลี่ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของเยาวชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากเยาวชนในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีอายุ 14-24 ปี โดยแบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่เขตจตุจักร ดอนเมือง ดุสิต ตลิ่งชัน ธนบุรี บางเขน บางกะปิ บางซื่อ ปทุมวัน ประเวศ พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี วังทองหลาง สาทร สายไหม หนองแขม และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,203 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 9-14 กันยายน 2565
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 17 กันยายน 2565
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 584 48.5 หญิง 619 51.5 รวม 1,203 100.0 อายุ 15 ? 17 ปี 409 34.0 18 ? 20 ปี 443 36.8 21 ? 24 ปี 351 29.2 รวม 1,203 100.0 การศึกษา มัธยมศึกษา/ปวช. 481 40.0 ปวส./ปริญญาตรี 714 59.3 สูงกว่าปริญญาตรี 8 0.7 รวม 1,203 100.0 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์