ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 60.9 ทราบข่าวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 2565
โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 50.2 รู้สึกดีใจและหวังว่าจะปรับขึ้นทุกปี
การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทำให้ผู้ใช้แรงงานกังวลว่า จะโดนลดจำนวนวันทำงานลง ทำให้รายได้ลด
โดยความหวังที่อยากบอกกับนายจ้างมากที่สุดคือ อยากให้เพิ่มเงินรายวันให้มากขึ้น
ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.8 วอนให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหาราคาสินค้าแพง ช่วยลดค่าครองชีพ
ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 เห็นว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ยังเหมือนเดิม
ผลสำรวจเรื่อง ?ชีวิตแรงงานไทยวันนี้กับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5%?
เนื่องในวันที่ 1 ตุลาคม จะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงาน เรื่อง ?ชีวิตแรงงานไทยวันนี้กับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5%? พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 60.9 ทราบข่าวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 2565 ขณะที่ร้อยละ 39.1 ไม่ทราบ
ทั้งนี้เมื่อถามว่ารู้สึกอย่างไรกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 328 - 354 บาท/วัน ขึ้นจากเดิมประมาณ 5 % ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.2 รู้สึกดีใจและหวังว่าจะขึ้นทุกปี ขณะที่ร้อยละ 25.9 รู้สึกแย่เพราะค่าแรงขึ้นไม่เท่าค่าครองชีพที่สูงขึ้นมาก ส่วนร้อยละ 23.9 รู้สึกเฉยๆ เพราะ ขึ้นไปก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น
ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุดกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคือ กลัวโดนลดจำนวนวันทำงานลง ทำให้รายได้ลด คิดเป็นร้อยละ 22.0 รองลงมาคือ กลัวหางานได้ยากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 18.2 กลัวตกงาน ต้องหางานใหม่ คิดเป็นร้อยละ 17.6 และกลัวต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น คิดเป็นร้อยละ 17.4
สำหรับความหวังที่อยากบอกกับนายจ้างมากที่สุดคือ อยากให้เพิ่มเงินรายวันให้มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.0 รองลงมาคือ อยากให้มีงานจ้างทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 23.7 อยากให้เพิ่มสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 10.6
เมื่อถามถึงเรื่องที่อยากขอจากรัฐบาลพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.8 อยากให้ช่วยแก้ปัญหาราคาสินค้าแพง ช่วยลดค่าครองชีพ รองลงมาร้อยละ 41.9 อยากให้มีการขึ้นแรงงานขั้นต่ำในทุกๆปี และร้อยละ 27.2 อยากให้มีสวัสดิการต่างๆ ที่ดีขึ้น
สุดท้ายเมื่อถามว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของท่านเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 เห็นว่าเหมือนเดิม ส่วนร้อยละ 44.0 เห็นว่าจะดีขึ้น ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5.5 ที่เห็นว่าจะแย่ลง
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การรับทราบข่าวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 2565
ทราบ ร้อยละ 60.9 ไม่ทราบ ร้อยละ 39.1 2. ความรู้สึกต่อการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 328 - 354 บาท/วัน ขึ้นจากเดิมประมาณ 5 % รู้สึกดีใจและหวังว่าจะขึ้นทุกปี ร้อยละ 50.2 รู้สึกเฉยๆ เพราะ ขึ้นไปก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น ร้อยละ 23.9 รู้สึกแย่เพราะค่าแรงขึ้นไม่เท่าค่าครองชีพที่สูงขึ้นมาก ร้อยละ 25.9 3. เรื่องที่กังวลกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) กลัวโดนลดจำนวนวันทำงานลง ทำให้รายได้ลด ร้อยละ 22.0 กลัวหางานได้ยากขึ้น ร้อยละ 18.2 กลัวตกงาน ต้องหางานใหม่ ร้อยละ 17.6 กลัวต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น ร้อยละ 17.4 กลัว OT เงินโบนัสลดลง ร้อยละ 15.3 กลัวถูกลดสวัสดิการต่างๆที่เคยได้รับลง ร้อยละ 10.4 อื่นๆ อาทิเช่น ไม่กังวล ไม่มีความเห็น กลัวค่าครองชีพสูงขึ้นอีก ร้อยละ 31.0 ? 4. ความหวังที่อยากบอกกับนายจ้าง อยากให้เพิ่มเงินรายวันให้มากขึ้น ร้อยละ 36.0 อยากให้มีงานจ้างทุกวัน ร้อยละ 23.7 อยากให้เพิ่มสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ 10.6 อยากขอให้ทำงานหนักแต่ได้เงินคุ้มค่ามากขึ้น ร้อยละ 8.2 อยากให้เพิ่มการทำงานนอกเวลามากกว่านี้ (OT) ร้อยละ 7.9 อยากให้เพิ่มโบนัสมากกว่านี้ ร้อยละ 7.0 อยากขอให้ทำงานเบาลงกว่านี้ ร้อยละ 1.9 อยากให้เพิ่มการอบรมวิชาชีพพัฒนาทักษะการทำงาน ร้อยละ 1.9 อื่นๆ อาทิเช่น ไม่มี อยากให้เงินเข้าตรงเวลา ร้อยละ 2.8 5. เรื่องที่อยากขอจากรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) อยากให้ช่วยแก้ปัญหาราคาสินค้าแพง ช่วยลดค่าครองชีพ ร้อยละ 75.8 อยากให้มีการขึ้นแรงงานขั้นต่ำในทุกๆปี ร้อยละ 41.9 อยากให้มีสวัสดิการต่างๆ ที่ดีขึ้น ร้อยละ 27.2 อยากให้มีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ เช่น คนละครึ่ง ร้อยละ 26.3 อยากให้รัฐมีการจัดอบรมพัฒนาทักษะแรงงาน ร้อยละ 9.8 อื่นๆ อาทิเช่น ไม่มี ตรวจสอบการเอาเปรียบแรงงานของบริษัทว่าจ้าง ร้อยละ 2.4 6. ข้อคำถาม ?การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของท่านเป็นอย่างไร? ดีขึ้น ร้อยละ 44.0 เหมือนเดิม ร้อยละ 50.5 แย่ลง ร้อยละ 5.5 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll ? รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ 1) เพื่อสะท้อนถึงการรับทราบข่าวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 2565 2) เพื่อสะท้อนถึงความรู้สึก ความกังวล กับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อเรื่องที่อยากบอกกับนายจ้าง และเรื่องที่อยากขอแก่รัฐบาล ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้แรงงานที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 9 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ บางเขน บางแค บางกะปิ ประเวศ มีนบุรี วังทองหลาง สายไหม หนองแขม หลักสี่ และปริมณฑล 3 จังหวัดได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 632 คน ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21 - 27 กันยายน 2565 วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 1 ตุลาคม 2565 ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 322 50.9 หญิง 310 49.1 รวม 632 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 214 33.8 31 ? 40 ปี 107 16.9 41 ? 50 ปี 140 22.2 51 ? 60 ปี 122 19.3 61 ปีขึ้นไป 49 7.8 รวม 632 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 601 95.1 ปริญญาตรี 28 4.4 สูงกว่าปริญญาตรี 3 0.5 รวม 632 100.0 อาชีพ โรงงานอุตสาหกรรม 61 9.7 กรรมกรก่อสร้าง 110 17.4 รปภ. / ภารโรง 111 17.6 แม่บ้าน / คนสวน 67 10.6 รับจ้างทั่วไป 138 21.7 ช่างซ่อมตามอู่ / ช่างไฟฟ้า / ช่างซ่อม 7 1.1 พนักงานบริการ / นวดแผนโบราณ 68 10.8 พนักงานขับรถ 15 2.4 พนักงานขาย 55 8.7 รวม 632 100.0
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์