กรุงเทพโพลล์: คนไทยกับการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมปี 65

ข่าวผลสำรวจ Thursday October 27, 2022 07:54 —กรุงเทพโพลล์

กรุงเทพโพลล์: คนไทยกับการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมปี 65

ประชาชน 75.5% ให้ความสำคัญในการติดตามข่าวสถานการณ์น้ำท่วมในปี 65 มากถึงมากที่สุด

72.0 % ระบุว่าเห็นการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมในปีนี้มากที่สุด

67.3% กังวลว่าสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้จะทำให้เศรษฐกิจ และ พื้นที่ทำการเกษตรเสียหายประชาชนขาดรายได้

พร้อมระบุปีนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการให้ข้อมูล/แจ้งเตือน/แนวทางการบริหารจัดการน้ำได้ดีเมื่อเทียบกับประสบการณ์ที่ผ่านมา

ผลสำรวจเรื่อง ?คนไทยกับการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมปี 65?

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายๆ จังหวัดของประเทศไทยขณะนี้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนหลายครัวเรือน กรุงเทพโพลล์โดย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง ?คนไทยกับการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมปี 65? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,059 คน พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.7 ติดตามข่าวและการแจ้งเตือนพายุ น้ำท่วม ที่เกิดขึ้นจากการรายงานข่าวทางโทรทัศน์ รองลงมาร้อยละ 60.8 ติดตามข่าวจากโซเชียลมีเดีย และร้อยละ 11.8 ติดตามข่าวจากญาติ/คนรู้จัก

ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.5 ให้ความสำคัญกับการติดตามข่าวสถานการณ์น้ำท่วมปี 65 มากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 24.5 ระบุว่าให้ความสำคัญน้อยถึงน้อยที่สุด

เมื่อถามว่าในปีนี้เห็นการเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมในปีนี้อย่างไรบ้างจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.0 ระบุว่าเห็นการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเตรียมรับมือ รองลงมาร้อยละ 42.6 ระบุว่า เห็นการยกระดับการแจ้งเตือนภัย การรับรู้ให้แก่ประชาชน และร้อยละ 41.4 ระบุว่า เห็นการเตรียมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย และสถานที่พักพิง

ส่วนปัญหาที่กังวลมากที่สุดจากสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.3 ระบุว่า กลัวว่าเศรษฐกิจ และ พื้นที่ทำการเกษตรเสียหายประชาชนขาดรายได้ รองลงมาร้อยละ 48.6 ระบุว่า กลัวมีพายุฝนตกซ้ำเติมทำให้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่แย่ลง และร้อยละ 44.2 ระบุว่า กลัวว่าการเยียวยา และฟื้นฟู ผู้ประสบภัยในพื้นที่รับน้ำไม่เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

สำหรับในภาพรวมปีนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการให้ข้อมูล/แจ้งเตือน/แนวทางการบริหารจัดการน้ำ ได้ดีเพียงใด เมื่อเทียบกับประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 32.4 ระบุว่าทำได้ดีเหมือนเดิม รองลงมาร้อยละ 29.6 ระบุว่าทำได้ดีขึ้นกว่าเดิม ขณะที่ร้อยละ 24.1 ระบุว่า ทำได้แย่เหมือนเดิม และร้อยละ 13.9 ระบุว่า ทำได้แย่ลงกว่าเดิม

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ทราบข่าว/ติดตามข่าว การแจ้งเตือน พายุ น้ำท่วม ที่เกิดขึ้นจากที่ใด (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

การรายงานข่าวทางโทรทัศน์          ร้อยละ          68.7
โซเชียลมีเดีย             ร้อยละ          60.8
ญาติ/คนรู้จัก          ร้อยละ          11.8
ผู้นำชุมชน/อำเภอ/จังหวัด            ร้อยละ          11.0
รายการวิทยุ            ร้อยละ          6.2
เว็บไซต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุฯ GISTDA คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ฯลฯ          ร้อยละ          5.5
sms เตือนภัยจากกรมอุตุฯ          ร้อยละ          4.0
แอพลิเคชั่นเตือนภัย          ร้อยละ          3.8
อื่นๆ อาทิ อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม หนังสือพิมพ์ ฯลฯ          ร้อยละ          0.8

2. ท่านให้ความสำคัญกับการติดตามข่าวสถานการณ์น้ำท่วมปี 65 มากน้อยเพียงใด

มากถึงมากที่สุด                                                  ร้อยละ 75.5

(โดยแบ่งเป็น ให้ความสำคัญมาก ร้อยละ 55.4 และให้ความสำคัญมากที่สุด ร้อยละ 20.1)

น้อยถึงน้อยที่สุด                                                            ร้อยละ 24.5

(โดยแบ่งเป็น ให้ความสำคัญน้อย ร้อยละ 20.1 และให้ความสำคัญน้อยที่สุด ร้อยละ 4.4)

3. ท่านเห็นการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมในปีนี้อย่างไรบ้างจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(เลือกตอบได้มากกว่า 1ข้อ)

การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเตรียมรับมือ          ร้อยละ          72.0
ยกระดับการแจ้งเตือนภัย การรับรู้ให้แก่ประชาชน          ร้อยละ          42.6
การเตรียมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย และสถานที่พักพิง          ร้อยละ          41.4
การเข้าถึงประชาชน และ ความรวดเร็วด้านความช่วยเหลือ                    ร้อยละ          28.8
เตรียมการรับมือ อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ให้ทันท่วงที          ร้อยละ          27.8
มีการบริหารจัดการน้ำ เส้นทางน้ำ ไม่ให้กระทบพื้นที่เศรษฐกิจ          ร้อยละ          23.9


4. ปัญหาที่ท่านกังวลมากที่สุดจากสถานการณ์น้ำท่วมคือ (เลือกตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
เศรษฐกิจ และ พื้นที่ทำการเกษตรเสียหายประชาชนขาดรายได้          ร้อยละ          67.3
กลัวมีพายุฝนตกซ้ำเติมทำให้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่แย่ลง          ร้อยละ          48.6
การเยียวยา และฟื้นฟู ผู้ประสบภัยในพื้นที่รับน้ำไม่เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้น          ร้อยละ          44.2
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน          ร้อยละ          43.1
ปัญหาน้ำเน่าเสียในพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น น้ำกัดเท้า ฉี่หนู          ร้อยละ          39.7
กลัวส่งผลกับเส้นทางคมนาคม ขนส่ง                    ร้อยละ          34.5
ชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำและจังหวัดพื้นที่รับน้ำได้รับความเสียหายมากกว่าปี54          ร้อยละ          31.1
พื้นที่ท่องเที่ยวเสียหาย ส่งผลต่อการฟื้นฟูการท่องเที่ยวช่วงโควิดคลี่คลาย          ร้อยละ          30.2
กลัวจะประสบภัยหนาวทั้งๆที่น้ำยังไม่ลด          ร้อยละ          23.0
อื่นๆ อาทิ กลัวความช่วยเหลือล่าช้า กลัวของแพงขึ้น ฯลฯ          ร้อยละ          1.2

5. ในภาพรวมปีนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการให้ข้อมูล/แจ้งเตือน/แนวทางการบริหารจัดการน้ำ ได้ดีเพียงใด เมื่อเทียบกับประสบการณ์ที่ผ่านมา
ดีขึ้นกว่าเดิม                    ร้อยละ          29.6
ดีเหมือนเดิม             ร้อยละ          32.4
แย่เหมือนเดิม            ร้อยละ          24.1
แย่ลงกว่าเดิม          ร้อยละ          13.9

?
รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปี 2565 ในด้านการให้ความสำคัญ ความเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น รวมถึงปัญหาที่กังวลจากสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้และภาพรวมของการทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าทำได้ดีเพียงใดเมื่อเทียบกับประสบกาณ์ที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18-21 ตุลาคม 2565

วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 27 ตุลาคม 2565

ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
          จำนวน          ร้อยละ
เพศ
            ชาย          502          47.4
            หญิง          557          52.6
รวม          1,059          100.0
อายุ
            18 ? 30 ปี          87          8.2
            31 ? 40 ปี          151          14.3
            41 ? 50 ปี          288          27.2
            51 ? 60 ปี          289          27.3
            61 ปีขึ้นไป           244          23.0
รวม          1,059          100.0
การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี          602          56.9
            ปริญญาตรี          352          33.2
            สูงกว่าปริญญาตรี          105          9.9
รวม          1,059          100.0
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล          156          14.7
          ลูกจ้างเอกชน          223          21.1
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร          404          38.2
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง          47          4.4
                  ทำงานให้ครอบครัว          3          0.3
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ          194          18.3
          นักเรียน/นักศึกษา          21          2.0
          ว่างงาน           11          1.0
รวม          1,059          100.0

กรุงเทพโพลล์  โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898
E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th      Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th
Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll

ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ