เนื่องจากมีการกำหนดให้วันที่ 14 เมษายนของทุกปีเป็นวันครอบครัว โดยมุ่งหวังให้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวได้นึกถึงและมีโอกาส
พบปะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่จากลักษณะวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ ความผูกพัน
ความใกล้ชิด และความเข้าใจระหว่างพ่อแม่ลูก ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น
เรื่อง “คุณค่าของครอบครัวในมุมมองของวัยรุ่น” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนอายุ 12-23 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,282 คน
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม - 1 เมษายน 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. การรับรู้ว่าวันที่ 14 เมษายน เป็นวันครอบครัว
- ทราบว่าเป็นวันครอบครัว ร้อยละ 49.3
- ไม่ทราบ ร้อยละ 50.7
2. การให้ความสำคัญต่อเทศกาลหรือวันสำคัญ พบว่า
วัยรุ่นให้ความสำคัญต่อวันครอบครัว ร้อยละ 67.9
วันมาฆบูชา ร้อยละ 17.5
วันวาเลนไทน์ ร้อยละ 14.6
3. ระดับความเข้าใจ และกำลังใจที่วัยรุ่นได้รับจากครอบครัว
- ได้รับมากเกินไป ร้อยละ 10.8
- ได้รับกำลังพอดี ร้อยละ 84.5
- ได้รับน้อยเกินไป ร้อยละ 4.7
4. ระดับความสุขที่วัยรุ่นมีในครอบครัว คือ
- มีความสุขมาก ร้อยละ 59.8
- มีความสุขค่อนข้างน้อย ร้อยละ 34.1
- ไม่ค่อยมีความสุข ร้อยละ 5.5
- ไม่มีความสุขเลย ร้อยละ 0.6
ทั้งนี้ จากกลุ่มวัยรุ่นที่ระบุว่าไม่ค่อยมีความสุข และไม่มีความสุขเลย นั้น ระบุว่า เรื่องที่ทำให้ไม่มีความสุขมากที่สุด คือ เรื่องหนี้สินของ
ครอบครัว พ่อแม่ทะเลาะกัน ไม่ได้อยู่กับครอบครัว พ่อแม่แยกทางกัน พ่อแม่บังคับเกินไป และพ่อแม่ไม่เอาใจใส่ เป็นต้น
5. เมื่อให้แสดงความเห็นต่อคำกล่าวที่แสดงถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยให้คะแนนเต็ม 10 พบว่า
วัยรุ่นเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “ลูกมีหน้าที่เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่า” มากที่สุด
โดยเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี” น้อยที่สุด ดังนี้
- ลูกมีหน้าที่เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่า เห็นด้วย 9.50 คะแนน
- พ่อแม่เปรียบดั่งร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก เห็นด้วย 9.32 คะแนน
- ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อนย่อมรู้ดีกว่า เห็นด้วย 8.18 คะแนน
- พ่อแม่คือพระในบ้าน เห็นด้วย 9.07 คะแนน
- รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี เห็นด้วย 7.59 คะแนน
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. การรับรู้ของเยาวชนว่าวันที่ 14 เมษายน ของทุกปีเป็นวันครอบครัว
2. การให้ความสำคัญต่อเทศกาล/วันสำคัญต่างๆ
3. ระดับความเข้าใจและกำลังใจที่เยาวชนได้รับจากครอบครัว
4. ระดับความสุขที่เยาวชนได้รับจากครอบครัว
5. ความเห็นที่มีต่อคำกล่าวต่างๆ ที่เกี่ยวกับพ่อแม่
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 34 เขต จาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ
บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท
พระโขนง พระนคร ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ และหลักสี่ จากนั้นสุ่มถนน
และประชากรเป้าหมายอายุ 12 — 23 ปี ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,282 คน เป็นเพศชายร้อยละ 44.8 และเพศหญิงร้อยละ 55.2
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน..3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 30 มีนาคม - 1 เมษายน 2551
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 10 เมษายน 2551
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 574 44.8
หญิง 708 55.2
อายุ
12-14 ปี 336 26.2
15-17 ปี 491 38.3
18-20 ปี 455 35.5
การศึกษา
กำลังศึกษาอยู่ 1087 84.8
ไม่ได้ศึกษาแล้ว 195 15.2
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
พบปะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่จากลักษณะวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ ความผูกพัน
ความใกล้ชิด และความเข้าใจระหว่างพ่อแม่ลูก ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น
เรื่อง “คุณค่าของครอบครัวในมุมมองของวัยรุ่น” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนอายุ 12-23 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,282 คน
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม - 1 เมษายน 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. การรับรู้ว่าวันที่ 14 เมษายน เป็นวันครอบครัว
- ทราบว่าเป็นวันครอบครัว ร้อยละ 49.3
- ไม่ทราบ ร้อยละ 50.7
2. การให้ความสำคัญต่อเทศกาลหรือวันสำคัญ พบว่า
วัยรุ่นให้ความสำคัญต่อวันครอบครัว ร้อยละ 67.9
วันมาฆบูชา ร้อยละ 17.5
วันวาเลนไทน์ ร้อยละ 14.6
3. ระดับความเข้าใจ และกำลังใจที่วัยรุ่นได้รับจากครอบครัว
- ได้รับมากเกินไป ร้อยละ 10.8
- ได้รับกำลังพอดี ร้อยละ 84.5
- ได้รับน้อยเกินไป ร้อยละ 4.7
4. ระดับความสุขที่วัยรุ่นมีในครอบครัว คือ
- มีความสุขมาก ร้อยละ 59.8
- มีความสุขค่อนข้างน้อย ร้อยละ 34.1
- ไม่ค่อยมีความสุข ร้อยละ 5.5
- ไม่มีความสุขเลย ร้อยละ 0.6
ทั้งนี้ จากกลุ่มวัยรุ่นที่ระบุว่าไม่ค่อยมีความสุข และไม่มีความสุขเลย นั้น ระบุว่า เรื่องที่ทำให้ไม่มีความสุขมากที่สุด คือ เรื่องหนี้สินของ
ครอบครัว พ่อแม่ทะเลาะกัน ไม่ได้อยู่กับครอบครัว พ่อแม่แยกทางกัน พ่อแม่บังคับเกินไป และพ่อแม่ไม่เอาใจใส่ เป็นต้น
5. เมื่อให้แสดงความเห็นต่อคำกล่าวที่แสดงถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยให้คะแนนเต็ม 10 พบว่า
วัยรุ่นเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “ลูกมีหน้าที่เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่า” มากที่สุด
โดยเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี” น้อยที่สุด ดังนี้
- ลูกมีหน้าที่เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่า เห็นด้วย 9.50 คะแนน
- พ่อแม่เปรียบดั่งร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก เห็นด้วย 9.32 คะแนน
- ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อนย่อมรู้ดีกว่า เห็นด้วย 8.18 คะแนน
- พ่อแม่คือพระในบ้าน เห็นด้วย 9.07 คะแนน
- รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี เห็นด้วย 7.59 คะแนน
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. การรับรู้ของเยาวชนว่าวันที่ 14 เมษายน ของทุกปีเป็นวันครอบครัว
2. การให้ความสำคัญต่อเทศกาล/วันสำคัญต่างๆ
3. ระดับความเข้าใจและกำลังใจที่เยาวชนได้รับจากครอบครัว
4. ระดับความสุขที่เยาวชนได้รับจากครอบครัว
5. ความเห็นที่มีต่อคำกล่าวต่างๆ ที่เกี่ยวกับพ่อแม่
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 34 เขต จาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ
บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท
พระโขนง พระนคร ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ และหลักสี่ จากนั้นสุ่มถนน
และประชากรเป้าหมายอายุ 12 — 23 ปี ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,282 คน เป็นเพศชายร้อยละ 44.8 และเพศหญิงร้อยละ 55.2
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน..3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 30 มีนาคม - 1 เมษายน 2551
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 10 เมษายน 2551
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 574 44.8
หญิง 708 55.2
อายุ
12-14 ปี 336 26.2
15-17 ปี 491 38.3
18-20 ปี 455 35.5
การศึกษา
กำลังศึกษาอยู่ 1087 84.8
ไม่ได้ศึกษาแล้ว 195 15.2
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-