ผลสำรวจเรื่อง ?คนไทยกับการเข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 ?
จากที่เว็บไซต์ ?เราเที่ยวด้วยกัน? ได้ประกาศว่า ?เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5? จะเริ่มดำเนินการโครงการในวัน 7 มี.ค. - 30 เม.ย. 2566 กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้สำรวจความเห็นของประชาชนเรื่อง ?คนไทยกับการเข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,203 คน เมื่อวันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.9 เห็นว่าโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 28.1 เห็นว่า น้อยถึงน้อยที่สุด
ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 30.7 ระบุว่าสนใจเข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 ขณะที่ร้อยละ 47.7 ระบุว่าไม่สนใจ ที่เหลือร้อยละ 21.6 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่าถ้ามีโอกาสได้ใช้สิทธิ์ในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 จะไปเที่ยวช่วงไหน ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 48.9 ระบุว่าจะไปเที่ยวช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ รองลงมาร้อยละ 28.0 ระบุว่าจะไปเที่ยวช่วงวันหยุดสงกรานต์ และร้อยละ 23.1 ระบุว่าจะไปเที่ยวช่วงวันธรรมดา
โดยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 42.4 ระบุว่าจะไปเที่ยวจังหวัดโซนภาคเหนือ (เช่น เชียงใหม่ เชียงราย น่าน) รองลงมาร้อยละ 33.9 ระบุว่าทะเลโซนภาคใต้ (เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา สมุย) และร้อยละ 24.9 ระบุว่าทะเลโซนภาคตะวันออก (เช่น บางแสน เสม็ด เกาะช้าง)
ส่วนงบประมาณสำหรับการท่องเที่ยวทริปนี้ นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.9 ระบุว่าประมาณ 5,000-10,000 บาท รองลงมาร้อยละ 18.9 ระบุว่าประมาณ 10,000-20,000 บาท และร้อยละ 11.3 ระบุว่าไม่เกิน 5,000 บาท
สุดท้ายเมื่อถามว่าอยากให้มีโครงการเราเที่ยวด้วยกันในเฟสต่อไปอีกในทุกรัฐบาลหรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.9 ระบุว่าอยากให้มีต่อ (โดยให้เหตุผลว่า ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว และ ทำให้ผู้ที่มีงบน้อยมีโอกาสได้ไปเที่ยว) ขณะที่ร้อยละ 28.1 ระบุว่าไม่อยากให้มีต่อ (โดยให้เหตุผลว่า ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกกลุ่ม และ สิ้นเปลืองงบประมาณภาครัฐ)
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ท่านคิดว่าโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เพียงใด
มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 71.9 (โดยแบ่งเป็น เป็นปัจจัยสำคัญมาก ร้อยละ 64.8 และเป็นปัจจัยสำคัญมากที่สุด ร้อยละ 7.1) น้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 28.1 (โดยแบ่งเป็น เป็นปัจจัยสำคัญน้อย ร้อยละ 25.4 และเป็นปัจจัยสำคัญน้อยที่สุด ร้อยละ 2.7 ) 2. ท่านสนใจจะเข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 ที่จะใช้สิทธิ์ได้ ระหว่างวันที่ 10 มีนาคม - 30 เมษายน นี้หรือไม่ สนใจ ร้อยละ 30.7 ไม่สนใจ ร้อยละ 47.7 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 21.6 3. ถ้าท่านมีโอกาสได้ใช้สิทธิ์ในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 ท่านจะไปเที่ยวช่วงไหน ช่วงวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ร้อยละ 48.9 ช่วงวันหยุดยาวช่วงสงกรานต์ ร้อยละ 28.0 ช่วงวันธรรมดา จันทร์-ศุกร์ ร้อยละ 23.1 4. ถ้าท่านมีโอกาสได้ใช้สิทธิ์ท่านคิดว่าจะใช้สิทธิ์ในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 ไปเที่ยวที่ใด (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ตำตอบ) จังหวัดโซนภาคเหนือ (เช่น เชียงใหม่ เชียงราย น่าน) ร้อยละ 42.4 ทะเลโซนภาคใต้ (เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา สมุย) ร้อยละ 33.9 ทะเลโซนภาคตะวันออก (เช่น บางแสน เสม็ด เกาะช้าง) ร้อยละ 24.9 ทะเลโซนภาคตะวันตก (เช่น ชะอำ หัวหิน) ร้อยละ 19.2 จังหวัดโซนภาคอีสาน (เช่น โคราช นครพนม เลย) ร้อยละ 11.4 อื่นๆ อาทิ จังหวัดภาคกลาง (เช่น กาญจนบุรี อยุธยา นครนายก) ร้อยละ 2.4 5. ท่านจะตั้งงบประมาณสำหรับการท่องเที่ยวทริปนี้ไว้ประมาณกี่บาท น้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 11.3 5,000-10,000 บาท ร้อยละ 62.9 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 18.9 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.9 มากกว่า 30,000 บาท ร้อยละ 2.0 6. ท่านอยากให้มีโครงการเราเที่ยวด้วยกันในเฟสต่อไปอีกในทุกรัฐบาลหรือไม่ อยากให้มี ร้อยละ 71.9 โดยให้เหตุผลว่า -ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว ร้อยละ 44.9 -ทำให้ผู้ที่มีงบน้อยมีโอกาสได้ไปเที่ยว ร้อยละ 29.9 -ช่วยให้ประชาชนจ่ายเงินเที่ยวน้อยลง ร้อยละ 15.4 -ผู้ประกอบการมีรายได้ เกิดการจ้างงาน ร้อยละ 9.8 ไม่อยากให้มี ร้อยละ 28.1 โดยให้เหตุผลว่า - ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกกลุ่ม ร้อยละ 49.1 - สิ้นเปลืองงบประมาณภาครัฐ ร้อยละ 42.0 - การท่องเที่ยวไทยน่าจะกลับมาคึกคักเหมือนเดิมแล้ว ร้อยละ 8.6 - อื่นๆ อาทิ ผู้ประกอบการเอาเปรียบขึ้นราคา ร้อยละ 0.3 ? รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 ว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพียงใด ความสนใจเข้าร่วมโครงการของประชาชน จังหวัดที่ต้องการไปเที่ยว งบประมาณที่คาดว่าจะใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ตลอดจนความเห็นที่มีต่อโครงการเราเที่ยวด้วยกันในเฟสต่อไป ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่เขตคันนายาว ดอนเมือง ดินแดง ทวีวัฒนา ธนบุรี บางเขน บางแค บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางคอแหลม บึงกุ่ม ประเวศ พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี สายไหม หลักสี่และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,203 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open ended) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24-28 กุมภาพันธ์ 2566
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 6 มีนาคม 2566
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 585 48.6 หญิง 618 51.4 รวม 1,203 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 303 25.2 31 ? 40 ปี 234 19.5 41 ? 50 ปี 235 19.5 51 ? 60 ปี 234 19.5 61 ปีขึ้นไป 197 16.3 รวม 1,203 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 834 69.3 ปริญญาตรี 329 27.4 สูงกว่าปริญญาตรี 40 3.3 รวม 1,203 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 85 7.1 ลูกจ้างเอกชน 321 26.7 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 432 35.9 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 26 2.2 ทำงานให้ครอบครัว 6 0.5 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 163 13.5 นักเรียน/นักศึกษา 138 11.5 ว่างงาน 32 2.6 รวม 1,203 100.0 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์