ประชาชนร้อยละ 53.6 มีความกังวลมากถึงมากที่สุดว่าสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว
โดยร้อยละ 57.8 ระบุว่าเริ่มมีอาการไอ แสบคอ และร้อยละ 51.6 มีอาการจาม มีน้ำมูก เลือดกำเดาไหล ทั้งนี้ร้อยละ 88.1 เลือกวิธีป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM 2.5 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย
สำหรับร้อยละ 50.0 ระบุว่า จะเลือกใช้วิธีปลูกต้นไม้เพื่อช่วยลดมลพิษทางอากาศ
พร้อมวอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ต้นเหตุจริงๆ
ผลสำรวจเรื่อง ?PM 2.5 เกินมาตรฐาน วิกฤตการณ์ที่คนไทยต้องเผชิญ?
จากการที่ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานในหลายพื้นที่ของประเทศไทยขณะนี้ กรุงเทพโพลล์โดย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง ?PM 2.5 เกินมาตรฐาน วิกฤตการณ์ที่คนไทยต้องเผชิญ? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,071 คน พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.6 มีความกังวลมากถึงมากที่สุดว่าสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในขณะนี้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว ขณะที่ร้อยละ 46.4 มีความกังวลน้อยถึงน้อยที่สุด
เมื่อถามว่าตัวท่านหรือคนในครอบครัว ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตจากปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างไรบ้าง พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 57.8 มีอาการไอ แสบคอ รองลงมาร้อยละ 51.6 มีอาการจาม มีน้ำมูก เลือดกำเดาไหล และร้อยละ 31.3 มีอาการแสบตา คันตา ตาแดง
ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 88.1 เลือกใช้วิธีป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นPM 2.5 รองลงมาร้อยละ 32.4 ระบุว่าไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น และร้อยละ 26.9 ระบุว่าหลีกเลี่ยง/งดไปในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูง
ส่วนมาตรการการบริหารจัดการฝุ่น PM 2.5 จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.6 ระบุว่าควรหาแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ต้นเหตุจริงๆ รองลงมาร้อยละ 52.6 ระบุว่า ควรบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่กระทำการเผาในที่โล่งแจ้ง และร้อยละ 46.1 ระบุว่าควรตรวจสอบโรงงานที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองหากเกินมาตรฐาน
สุดท้ายเมื่อถามว่า ตัวท่านเองจะสามารถช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไรบ้าง ประชาชนร้อยละ 50.0 ระบุว่าจะปลูกต้นไม้ช่วยลดมลพิษ รองลงมาร้อยละ 48.4 ระบุว่าจะร่วมมือกับทางการงดเผาในพื้นที่การเกษตรและในที่โล่งแจ้ง และร้อยละ 29.9 ระบุว่าจะช่วยโพสต์/แชร์ ความรู้และอันตรายที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. จากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในขณะนี้ มีความกังวลว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของท่านและคนในครอบครัวมากน้อยเพียงใด
กังวลมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 53.6 (โดยแบ่งเป็น กังวลมากร้อยละ 34.1 และกังวลมากที่สุดร้อยละ 19.5) กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 46.4 (โดยแบ่งเป็น กังวลน้อยที่สุดร้อยละ 23.9 และกังวลน้อยที่สุดร้อยละ 22.5) 2. ตัวท่านหรือคนในครอบครัว ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตจากปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างไรบ้าง (เลือกตอบได้มากกว่า 1ข้อ) ไอ แสบคอ ร้อยละ 57.8 จาม มีน้ำมูก เลือดกำเดาไหล ร้อยละ 51.6 แสบตา คันตา ตาแดง ร้อยละ 31.3 ภูมิแพ้กำเริบ ร้อยละ 29.1 หายใจติดขัด/ปอดอักเสบ ร้อยละ 24.4 เป็นผื่นคันตามตัว ร้อยละ 17.0 ปวดหัว/ไมเกรน ร้อยละ 9.7 3. ท่านป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 อย่างไร (เลือกตอบได้มากกว่า 1ข้อ) สวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นPM 2.5 ร้อยละ 88.1 ไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น ร้อยละ 32.4 หลีกเลี่ยง/งดไปในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูง ร้อยละ 26.9 งดกิจกรรม/การออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง ร้อยละ 16.6 ซื้อเครื่องฟอกอากาศไว้ที่บ้าน ร้อยละ 15.1 ตรวจสอบค่าฝุ่นในสถานที่ที่จะไปอยู่เสมอ ร้อยละ 8.9 อื่นๆ อาทิ ใส่แว่น ปิดประตูหน้าต่าง ฯลฯ ร้อยละ 1.4 4. ท่านคิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการบริหารจัดการฝุ่น PM 2.5 อย่างไร (เลือกตอบได้มากกว่า 1ข้อ) หาแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ต้นเหตุจริงๆ ร้อยละ 58.6 บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่กระทำการเผาในที่โล่งแจ้ง ร้อยละ 52.6 ตรวจสอบโรงงานที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองหากเกินมาตรฐาน ร้อยละ 46.1 สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน เกี่ยวกับปัญหาฝุ่นละออง ร้อยละ 32.1 ขอความร่วมมือลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน ร้อยละ 14.7 ประกาศให้หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่อยู่กลางแจ้ง ร้อยละ 12.3 จัดสลับวันเรียน/วันทำงาน เพื่อลดการออกนอกบ้าน ร้อยละ 10.0 อื่นๆ อาทิ ฉีดพ่นน้ำ ตรวจเช็กรถที่ควันดำอย่างต่อเนื่อง ทำฝนเทียม ฯลฯ ร้อยละ 2.7 5. ท่านคิดว่าตัวท่านเองจะสามารถช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างไรบ้าง (เลือกตอบได้มากกว่า 1ข้อ) ปลูกต้นไม้ช่วยลดมลพิษ ร้อยละ 50.0 ร่วมมือกับทางการงดเผาในพื้นที่การเกษตรและในที่โล่งแจ้ง ร้อยละ 48.4 ช่วยโพสต์/แชร์ ความรู้และอันตรายที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5 ร้อยละ 29.9 เช็คสภาพรถเพื่อลดควันดำ ร้อยละ 32.8 งดการจุดธูปไหว้พระ/เผากระดาษไหว้เจ้า ร้อยละ 26.4 ใช้รถส่วนตัวน้อยลงหันไปใช้บริการรถสาธารณะแทน ร้อยละ 26.3 เปลี่ยนไปใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า/มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า ร้อยละ 8.5 เลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 7.3 ? รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความกังวลต่อสุขภาพ และผลกระทบที่ได้รับจากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน การป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 ตลอดจนมาตรการบริหารจัดการฝุ่น PM 2.5 ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมี และวิธีการที่ตนเองสามารถช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ และการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 13-15 มีนาคม 2566
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 18 มีนาคม 2566
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 511 47.7 หญิง 560 52.3 รวม 1,071 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 83 7.7 31 ? 40 ปี 162 15.1 41 ? 50 ปี 279 26.1 51 ? 60 ปี 300 28.0 61 ปีขึ้นไป 247 23.1 รวม 1,071 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 642 60.0 ปริญญาตรี 326 30.4 สูงกว่าปริญญาตรี 103 9.6 รวม 1,071 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 155 14.5 ลูกจ้างเอกชน 201 18.8 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 416 38.8 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 42 3.9 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 233 21.8 นักเรียน/นักศึกษา 15 1.4 ว่างงาน 8 0.7 รวม 1,071 100.0 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์