โดยคาดหวังให้ระบบการศึกษาไทยปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยเด็กสามารถนำไปใช้ได้จริง และเน้นการสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีน
กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง ?เปิดเทอมนี้ พ่อแม่เตรียมเงินในกระเป๋าพร้อมหรือยัง? โดยเก็บข้อมูลจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,040 คน พบว่า
สภาพคล่องทางการเงินของพ่อแม่ ผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมปีนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.9 ระบุว่า พอๆกับปีที่แล้ว รองลงมาร้อยละ 38.5 ระบุว่า แย่กว่าปีที่แล้ว ที่เหลือร้อยละ 11.6 ระบุว่า ดีกว่าปีที่แล้ว
โดยเปิดเทอมนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.1 เตรียมเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาของบุตร/หลานจากเงินที่แบ่งไว้สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่แล้ว รองลงมาร้อยละ 35.2 ระบุว่าใช้เงินประหยัดกว่าช่วงปกติ เพื่อมีเงินพอกับค่าใช้จ่าย และร้อยละ 26.9 ระบุว่ารอเงินเดือนล่าสุดออก
เมื่อถามว่า ท่านเตรียมเงินสำหรับซื้อ อุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียน กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ (ไม่รวมค่าเทอม) ของบุตร/หลานต่อคนเป็นเงินเท่าไหร่ นั้น พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.6 ระบุว่า เตรียมไว้ 1,000-3,000 บาท รองลงมาร้อยละ 34.8 ระบุว่า 3,001-6,000 บาท และร้อยละ 7.1 ระบุว่า มากกว่า 9,000 บาท
ส่วนเรื่องที่กังวลเกี่ยวกับบุตร/หลานในเทอมนี้นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.4 ระบุว่า กังวลเรื่องการแพร่เชื้อโควิด-19 ในโรงเรียน รองลงมาร้อยละ 33.5 ระบุว่า อุบัติเหตุจากการเดินทาง/โดนลูกหลง และร้อยละ 32.7 ระบุว่า การคบเพื่อนไม่ดี
สำหรับสิ่งที่คาดหวังจากระบบการศึกษาไทยมากที่สุดร้อยละ 17.7 คือ ให้ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยเด็กสามารถนำไปใช้ได้จริง คิดวิเคราะห์ได้ รองลงมาร้อยละ 11.8 คือ เน้นการสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนให้ใช้ได้จริงมากขึ้น และร้อยละ 11.2 ระบุว่า ให้การอบรมสั่งสอนเด็กๆ ให้เป็นคนดีของสังคม ไม่ติดอบายมุข
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. สภาพคล่องทางการเงินของท่านในช่วงเปิดเทอมปีนี้เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงเปิดเทอมปีที่แล้ว
แย่กว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 38.5 พอๆกับปีที่แล้ว ร้อยละ 49.9 ดีกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 11.6 2. เปิดเทอมนี้ท่านเตรียมการค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาของบุตร/หลาน จาก......... (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) มีเงินที่แบ่งไว้สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่แล้ว ร้อยละ 50.1 ใช้เงินประหยัดกว่าช่วงปกติ เพื่อมีเงินพอกับค่าใช้จ่าย ร้อยละ 35.2 รอเงินเดือนล่าสุดออก ร้อยละ 26.9 หารายได้เสริมนอกจากอาชีพหลัก ร้อยละ 21.5 ขอยืมเงินจากญาติ/ พี่น้อง / เพื่อน ก่อน ร้อยละ 19.3 จำนำทรัพย์สิน เช่น ทอง ทีวี ฯลฯ ร้อยละ 5.0 รูดบัตรเครดิต ผ่อนจ่ายได้/จ่ายเดือนถัดไปได้ ร้อยละ 4.9 กู้เงินนอกระบบ ร้อยละ 3.4 ใช้บัตรกดเงินสด/กู้เงินธนาคาร ร้อยละ 2.0 นำของมีค่าออกมาขาย ร้อยละ 1.9 3. ท่านเตรียมเงินสำหรับซื้อ อุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียน กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ (ไม่รวมค่าเทอม) ต่อคนเป็นเงิน น้อยกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 1.9 1,000-3,000 บาท ร้อยละ 52.6 3,001-6,000 บาท ร้อยละ 34.8 6,001-9,000 บาท ร้อยละ 3.6 มากกว่า 9,000 บาท ร้อยละ 7.1 4. ในเทอมที่จะถึงนี้ ท่านกังวลเรื่องใดเกี่ยวกับบุตร/หลานของท่านบ้าง (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) การแพร่เชื้อโควิด-19 ในโรงเรียน ร้อยละ 70.4 อุบัติเหตุจากการเดินทาง/โดนลูกหลง ร้อยละ 33.5 การคบเพื่อนไม่ดี ร้อยละ 32.7 ค่าใช้จ่ายที่ให้ลูกไปโรงเรียน ร้อยละ 31.9 ยาเสพติด ร้อยละ 29.1 กิจกรรมเยอะ/ ได้ความรู้ไม่เต็มที่ ร้อยละ 20.6 สถานที่เรียนไกลบ้าน ร้อยละ 9.8 อื่นๆ อาทิ ฝุ่น PM2.5 ความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน ฯลฯ ร้อยละ 0.5 5. สิ่งที่ท่านคาดหวังจากระบบการศึกษาไทยมากที่สุด (5 อันดับแรก) ให้ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยเด็กสามารถนำไปใช้ได้จริง คิดวิเคราะห์ได้ ร้อยละ 17.7 เน้นการสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนให้ใช้ได้จริงมากขึ้น ร้อยละ 11.8 ให้การอบรมสั่งสอนเด็กๆ ให้เป็นคนดีของสังคม ไม่ติดอบายมุข ร้อยละ 11.2 เน้นด้านวิชาการ มากกว่ากิจกรรม ร้อยละ 10.4 ครูตั้งใจสอนและใส่ใจดูแลเด็กให้มากกว่านี้ ร้อยละ 10.1 ? รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของพ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมทางการเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของบุตรหลานในเทอมใหม่นี้ รวมถึงเรื่องที่กังวลเกี่ยวกับตัวบุตรหลานในเทอมที่จะถึงนี้และสิ่งที่คาดหวังจากระบบการศึกษาไทย ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างพ่อแม่ผู้ปกครองในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีบุตร หลานเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยแบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ เขตคันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต บางเขน บางแค บางกะปิ บางซื่อ บึงกุ่ม ปทุมวัน ภาษีเจริญ สายไหมหลักสี่ และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานีและสมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,040 คน ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open ended) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25-30 เมษายน 2566 วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 6 พฤษภาคม 2566 ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 392 37.7 หญิง 648 62.3 รวม 1,040 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 159 15.3 31 ? 40 ปี 345 33.2 41 ? 50 ปี 347 33.3 51 ? 60 ปี 134 12.9 61 ปีขึ้นไป 55 5.3 รวม 1,040 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 707 68.0 ปริญญาตรี 294 28.3 สูงกว่าปริญญาตรี 39 3.7 รวม 1,040 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 131 12.6 ลูกจ้างเอกชน 301 28.9 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 432 41.5 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 40 3.9 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 6 0.6 นักเรียน/นักศึกษา 113 10.9 ว่างงาน 17 1.6 รวม 1,040 100.0 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์