ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 76.7 ระบุว่าการขึ้นราคาบุหรี่ไม่สามารถทำให้ผู้สูบบุหรี่ลดลงได้
ส่วนประชาชนมากกว่าครึ่ง ระบุว่าการกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะที่เข้มงวดขึ้นและการรณรงค์เรื่องภัยจากบุหรี่ผ่านสื่อ/องค์กรต่างๆ สามารถทำให้มีผู้สูบบุหรี่ลดลงได้
ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.3 เคยคิดจะเลิกบุหรี่ โดยคิดจะเลิกสูบเพื่อสุขภาพของตัวเอง แต่ที่ยังเลิกไม่ได้เพราะติดแล้วเลิกยาก ทั้งนี้ร้อยละ 94.0 ระบุว่าเวลาสูบจะคำนึงถึงคนรอบข้างจะออกไปสูบที่ไกลคน /ไปสูบในเขตสูบบุหรี่
สำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ร้อยละ 76.9 ระบุว่าเมื่อต้องอยู่ใกล้ๆ /เดินผ่านคนที่กำลังสูบบุหรี่ จะเลี่ยงเดินไปทางอื่นแทน โดยร้อยละ 67.1 ระบุว่าผู้ที่สูบบุหรี่ตระหนักถึงอันตรายที่ส่งผลต่อคนรอบข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.1 ระบุว่าการกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะที่เข้มงวดขึ้นทำให้รู้สึกได้รับการคุ้มครองและปลอดภัยจากควันบุหรี่มากถึงมากที่สุด
ผลสำรวจเรื่อง ?ว่าด้วยเรื่องของบุหรี่ผ่านมุมมองผู้สูบและไม่สูบ ในวันงดสูบบุหรี่โลก?
เนื่องด้วยวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) กรุงเทพโพลล์โดย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง ?ว่าด้วยเรื่องของบุหรี่ผ่านมุมมองผู้สูบและไม่สูบ ในวันงดสูบบุหรี่โลก? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,114 คน พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 73.3 ระบุว่า ตนเองและคนในครอบครัวไม่มีใครสูบบุหรี่ รองลงมาร้อยละ 16.4 ระบุว่า มีคนในครอบครัวหรือคนรักสูบ และร้อยละ 10.3 ระบุว่าเป็นคนสูบเอง
เมื่อถามเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ว่าเคยคิดจะเลิกสูบบุหรี่หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.3 ระบุว่าเคยคิด โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 69.0 ระบุว่าคิดจะเลิกสูบเพื่อตัวเอง และร้อยละ 31.0 ระบุว่าคิดจะเลิกสูบเพื่อคนในครอบครัว ขณะที่ร้อยละ 18.7 ระบุว่าไม่เคยคิดจะเลิกสูบบุหรี่ ส่วนเหตุผลที่ยังไม่เลิกสูบบุหรี่ นั้น ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 37.9 ระบุว่า ติดแล้วเลิกยาก รองลงมาร้อยละ 27.1 ระบุว่า สูบเพื่อคลายเครียด และร้อยละ 14.1 ระบุว่าสูบจนชินแล้ว
อย่างไรก็ตามเมื่อถามว่าเคยคำนึงถึงคนรอบข้าง หรือไม่ เมื่อคิดจะสูบบุหรี่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 94.0 ระบุว่า คำนึงถึงและจะออกไปสูบที่ไกลคน /ไปสูบในเขตสูบบุหรี่ รองลงมาร้อยละ 4.8 ระบุว่า คำนึงถึงแต่เชื่อว่าเขาจะไม่ว่าและเดินหนีออกไปเอง และร้อยละ 1.2 ระบุว่าไม่คำนึงถึงถ้าเขาไม่ชอบก็ควรเดินหนีไปเอง
เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ว่ามีวิธีอย่างไรเมื่อต้องอยู่ใกล้ๆ /เดินผ่านคนที่กำลังสูบบุหรี่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 76.9 ระบุว่าเดินเลี่ยงไปทางอื่นแทน รองลงมาร้อยละ 40.5 ระบุว่ารีบเดินผ่านให้เร็วที่สุด และร้อยละ 23.2 ระบุว่าเดินปิดจมูก/กลั้นหายใจ
จากการรณรงค์เรื่องควันบุหรี่มือ 2 คิดว่าปัจจุบันผู้ที่สูบบุหรี่ได้ตระหนักถึงอันตรายที่ส่งผลต่อคนรอบข้างมากน้อยเพียงใด ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.1 เห็นว่าคำนึงถึงน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 32.9 เห็นว่าคำนึงถึงมากถึงมากที่สุด
ส่วนการกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะที่เข้มงวดขึ้นทำให้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.1 รู้สึกได้รับการคุ้มครองและปลอดภัยจากควันบุหรี่มากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 26.9 รู้สึก ได้รับการคุ้มครองและปลอดภัยจากควันบุหรี่น้อยถึงน้อยที่สุด
เมื่อถามทั้งผู้ที่สูบและไม่สูบบุหรี่ในประเด็นต่างๆ พบว่า
- ประเด็นเรื่องการขึ้นราคาบุหรี่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่ลดลง ส่วนใหญ่ร้อยละ 76.7 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 23.3 ระบุว่าเห็นด้วย
-ประเด็นเรื่องการกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะที่เข้มงวดขึ้นทำให้มีผู้สูบบุหรี่ลดลง ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.5 ระบุว่า เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 47.5 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
-ประเด็นการรณรงค์เรื่องภัยจากบุหรี่ผ่านสื่อ/องค์กรต่างๆ ทำให้มีผู้สูบบุหรี่ลดลง ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.8 ระบุว่าเห็นด้วย และร้อยละ 43.2 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ท่านหรือคนในครอบครัวท่านสูบบุหรี่หรือไม่
ไม่มีใครสูบ ร้อยละ 73.3 คนในครอบครัวหรือคนที่รักสูบ ร้อยละ 16.4 เป็นคนสูบเอง ร้อยละ 10.3 2. ท่านเคยคิดที่จะเลิกสูบบุหรี่ไหม (ถามเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่) เคยคิด ร้อยละ 81.3 โดย......คิดจะเลิกสูบเพื่อตัวเอง ร้อยละ 69.0 คิดจะเลิกสูบเพื่อครอบครัว คนที่รัก ร้อยละ 31.0 ไม่เคยคิด ร้อยละ 18.7 3. เหตุผลที่ท่านยังไม่เลิกสูบ (ถามเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่) ติดแล้ว เลิกยาก ร้อยละ 37.9 สูบเพื่อคลายเครียด แก้เครียด ร้อยละ 27.1 เคยชิน สูบจนชินเลิกไม่ได้ ร้อยละ 14.1 กำลังลดการสูบลง ร้อยละ 10.9 สูบเพื่อเข้าสังคม ร้อยละ 5.2 สูบตามเพื่อน ร้อยละ 4.8 4. ท่านเคยคำนึงถึงคนรอบข้าง หรือไม่ เมื่อท่านคิดจะสูบบุหรี่ (ถามเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่) คำนึงถึงและจะออกไปสูบที่ไกลคน /ไปสูบในเขตสูบบุหรี่ ร้อยละ 94.0 คำนึงถึงแต่เชื่อว่าเขาจะไม่ว่าและเดินหนีออกไปเอง ร้อยละ 4.8 ไม่คำนึงถึงถ้าเขาไม่ชอบก็ควรเดินหนีไปเอง ร้อยละ 1.2 5. ท่านมีวิธีอย่างไรเมื่อต้องอยู่ใกล้ๆ /เดินผ่านคนที่กำลังสูบบุหรี่ (ถามเฉพาะผู้ที่ไม่สูบบุหรี่) (ตอบมากกว่า 1 ข้อ) เดินเลี่ยงไปทางอื่นแทน ร้อยละ 76.9 รีบเดินผ่านให้เร็วที่สุด ร้อยละ 40.5 เดินปิดจมูก/กลั้นหายใจ ร้อยละ 23.2 บอก/ไล่ให้ไปสูบในเขตสูบบุหรี่ ร้อยละ 18.1 ทนสูดควันบุหรี่ จนกว่าจะสูบเสร็จ ร้อยละ 3.2 อื่นๆ อาทิ แสดงกิริยาไม่พอใจ ทำสีหน้าไม่พอใจให้เห็น ฯลฯ ร้อยละ 0.7 6. จากการรณรงค์เรื่องควันบุหรี่มือ 2 ท่านคิดว่าปัจจุบันผู้ที่สูบบุหรี่ได้ตระหนักถึงอันตรายที่ส่งผลต่อคนรอบข้างมากน้อยเพียงใด (ถามเฉพาะผู้ที่ไม่สูบบุหรี่) มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 32.9
(โดยแบ่งเป็น มาก ร้อยละ 26.2 และ มากที่สุด ร้อยละ 6.7)
น้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 67.1
(โดยแบ่งเป็น น้อย ร้อยละ 42.4 และ น้อยที่สุด ร้อยละ 24.7)
มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 73.1
(โดยแบ่งเป็น มาก ร้อยละ 58.7 และ มากที่สุด ร้อยละ 14.4 )
น้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 26.9
(โดยแบ่งเป็น น้อย ร้อยละ 25.0 และ น้อยที่สุด ร้อยละ 1.9 )
ประเด็น เห็นด้วย (ร้อยละ) ไม่เห็นด้วย (ร้อยละ) -การขึ้นราคาบุหรี่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่ลดลง 23.3 76.7 -การกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะที่เข้มงวดขึ้นทำให้มีผู้สูบบุหรี่ลดลง 52.5 47.5 -การรณรงค์เรื่องภัยจากบุหรี่ผ่านสื่อ/องค์กรต่างๆ ทำให้มีผู้สูบบุหรี่ลดลง 56.8 43.2 ? รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับบุหรี่ ในวันงดสูบบุหรี่โลก ทั้งในมุมมองของคนที่สูบบุหรี่ และคนที่ไม่สูบบุหรี่ในประเด็นต่างๆ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ และการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22-25 พฤษภาคม 2566
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 31 พฤษภาคม 2566
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 568 51.0 หญิง 546 49.0 รวม 1,114 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 121 10.9 31 ? 40 ปี 153 13.7 41 ? 50 ปี 260 23.3 51 ? 60 ปี 306 27.5 61 ปีขึ้นไป 274 24.6 รวม 1,114 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 678 60.8 ปริญญาตรี 345 31.0 สูงกว่าปริญญาตรี 91 8.2 รวม 1,114 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 142 12.7 ลูกจ้างเอกชน 219 19.7 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 426 38.2 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 44 4.0 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 238 21.4 นักเรียน/นักศึกษา 27 2.4 ว่างงาน 17 1.5 รวม 1,114 100.0 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์