ประชาชน 91.4 % ระบุว่าปัจจุบันสังคมไทยเปิดรับเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด โดย 67.2 % เห็นการขับเคลื่อนทางสังคมไทยเรื่องความหลากหลายทางเพศด้วยการอนุญาตให้แต่งกายตามเพศสภาพ ในสถานศึกษา และสถานที่ทำงาน
ทั้งนี้ 78.6% เห็นด้วยค่อนข้างมากถึงมากที่สุดเรื่องให้คู่รัก LGBTQ+ได้รับสิทธิทางกฎหมาย
และ 75.1% ยอมรับได้ หากมี ลูก หรือคนใน ครอบครัว เป็น LGBTQ+ แต่ยังคงห่วงว่าจะโดนล้อ/สังคมไม่ยอมรับ/เก็บกด
ผลสำรวจเรื่อง ?คิดเห็นอย่างไรต่อความหลากหลายทางเพศ ในเดือน ?Pride Month??
เนื่องด้วยในเดือนมิถุนายนของทุกปีคือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ(Pride Month) กรุงเทพโพลล์โดย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง ?คิดเห็นอย่างไรต่อความหลากหลายทางเพศ ในเดือน ?Pride Month??โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,032 คน พบว่า
ประชาชนร้อยละ 44.6 ทราบว่าเดือนมิถุนายน เป็น ?Pride Month? เดือนแห่งความภาคภูมิใจ ในความหลากหลายทางเพศที่เท่าเทียมของ LGBTQ+ ขณะที่ร้อยละ 55.4 ระบุว่าไม่ทราบ
ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 91.4 ระบุว่าปัจจุบันสังคมไทยเปิดรับเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 8.6 ระบุว่ายังไม่ค่อยเปิดรับถึงไม่เปิดรับเลย
เมื่อถามว่าปัจจุบันเห็นการขับเคลื่อนทางสังคมไทยเรื่องความหลากหลายทางเพศในเรื่องใดบ้าง ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.2 ระบุว่าเห็นการอนุญาตให้แต่งกายตามเพศสภาพ ในสถานศึกษา และสถานที่ทำงาน รองลงมาร้อยละ 64.4 ระบุว่า เห็นการแสดงออกที่มีต่อกับกลุ่ม LGBTQ+เหมือนปกติทั่วไป โดยไม่คิดว่าเป็นเรื่องแปลก และร้อยละ 61.2 ระบุว่า เห็นการทำซีรี่ส์วาย มีคู่จิ้นสายวาย มากขึ้น
ส่วนความเห็นเรื่องให้คู่รัก LGBTQ+ได้รับสิทธิทางกฎหมาย นั้น พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 78.6 ระบุว่าเห็นด้วยค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 21.4 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วยถึงไม่เห็นด้วยเลย
ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 ระบุว่ายอมรับได้ หากมี ลูก หรือคนใน ครอบครัว เป็น LGBTQ+ รองลงมาร้อยละ 16.6 ระบุว่าไม่แน่ใจ และร้อยละ 8.3 ระบุว่า ยอมรับไม่ได้
สำหรับเรื่องที่ห่วง/กังวล หากมี ลูก หรือคนใน ครอบครัว เป็น LGBTQ+ ส่วนใหญ่ร้อยละ 39.9 ระบุว่า กลัวโดนล้อ/สังคมไม่ยอมรับ/เก็บกด รองลงมาร้อยละ 38.6 ระบุว่าห่วงสุขภาพ เช่น กินฮอร์โมน โรคติดต่อ และร้อยละ 30.1 ระบุว่า กลัวถูกหลอกให้รัก
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ทราบ ร้อยละ 44.6 ไม่ทราบ ร้อยละ 55.4 2. คิดว่าสังคมไทยในปัจจุบันเปิดรับ/ยอมรับเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้นเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน เปิดรับมากขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 91.4
(โดยแบ่งเป็น เปิดรับค่อนข้างมาก ร้อยละ 49.8 และเปิดรับมากที่สุด ร้อยละ 41.6)
ยังไม่ค่อยเปิดรับถึงไม่เปิดรับเลย ร้อยละ 8.6
(โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยเปิดรับ ร้อยละ 7.5 และไม่เปิดรับเลย ร้อยละ 1.1 )
มีการอนุญาตให้แต่งกายตามเพศสภาพ ในสถานศึกษา และสถานที่ทำงาน ร้อยละ 67.2 การแสดงออกที่มีต่อกับกลุ่ม LGBTQ+เหมือนปกติทั่วไป โดยไม่คิดว่าเป็นเรื่องแปลก ร้อยละ 64.4 มีการทำซีรี่ส์วาย มีคู่จิ้นสายวาย มากขึ้น ร้อยละ 61.2 การมี พรบ. คู่ชีวิต โดยจะมีการขับเคลื่อนไปสู่ สมรส เท่าเทียม ร้อยละ 55.1 มีการจัดงานการเดินพาเหรดที่เรียกว่า LGBTQ+ Parades หรือ Pride Parade ร้อยละ 40.5 การเปลี่ยนรูป profile ของตนเอง/องค์กร เป็นแถบสีรุ้ง ในช่วง "Pride Month" ร้อยละ 36.7 บริษัทห้างร้านต่างๆ ผลิตสินค้า/จัดโปรโมชั่นพิเศษสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ ร้อยละ 18.0 4. คิดเห็นอย่างไรเรื่องให้คู่รัก LGBTQ+ ได้รับสิทธิทางกฎหมาย เห็นด้วยค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 78.6
(โดยแบ่งเป็น เห็นด้วยค่อนข้างมาก ร้อยละ 21.9 และเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 56.7)
ไม่ค่อยเห็นด้วยถึงไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 21.4
(โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 15.5 และไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 5.9 )
ยอมรับได้ ร้อยละ 75.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.6 ยอมรับไม่ได้ ร้อยละ 8.3 6. หากมี ลูก หรือคนใน ครอบครัว เป็น LGTBQ+ จะเป็นห่วง/กังวลในเรื่องใด กลัวโดนล้อ/สังคมไม่ยอมรับ/เก็บกด ร้อยละ 39.9 ห่วงสุขภาพ กินฮอร์โมน โรคติดต่อ ร้อยละ 38.6 กลัวถูกหลอกให้รัก ร้อยละ 30.1 อารมณ์รุนแรง/รักแรง/เกลียดแรง ร้อยละ 29.7 การได้รับสิทธิทางกฎหมายเหมือนคู่ชายหญิง ร้อยละ 29.0 ไม่สามารถเลือกทำอาชีพที่ชอบได้ ร้อยละ 15.1 อื่นๆ กลัวไม่มีทายาทสืบสกุล กลัวตอนแก่ลูกจะไม่มีคนอยู่ด้วย ฯลฯ ร้อยละ 1.1 ? รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อความหลากหลายทางเพศ การยอมรับทางสังคมไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 19-22 มิถุนายน 2566
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 24 มิถุนายน 2566
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 513 49.7 หญิง 513 49.7 LGBTQ+ 6 0.6 รวม 1,032 100.0 อายุ 18 ? 30 ปี 100 9.7 31 ? 40 ปี 179 17.4 41 ? 50 ปี 276 26.7 51 ? 60 ปี 261 25.3 61 ปีขึ้นไป 216 20.9 รวม 1,032 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 607 58.9 ปริญญาตรี 340 32.9 สูงกว่าปริญญาตรี 85 8.2 รวม 1,032 100.0 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 137 13.3 ลูกจ้างเอกชน 206 19.9 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 405 39.2 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 40 3.9 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ 191 18.6 นักเรียน/นักศึกษา 22 2.1 ว่างงาน 31 3.0 รวม 1,032 100.0 กรุงเทพโพลล์ โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898 E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์