จากการที่นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช ได้ดำเนินรายการ “สนทนาประสาสมัคร” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และ
สถานีวิทยุในเครือกรมประชาสัมพันธ์ เป็นประจำทุกวันอาทิตย์เวลาประมาณ 8.30-9.30น. ซึ่งเป็นรายการที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน โดยมี
กระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นในเรื่องดัง
กล่าวเพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนกรุงเทพมหานครในฐานะผู้ฟังรายการและผู้อยู่ภายใต้การบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรี โดยเก็บ
ข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครที่ระบุว่าเคยรับฟังและรับชมรายการดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 1,036 คน เมื่อวันที่ 1-4
เมษายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
1. ลักษณะการรับชม/รับฟังรายการสนทนาประสาสมัคร
- รับชม/รับฟังจากรายการโดยตรงเป็นประจำ ร้อยละ 11.2
- รับชม/รับฟังจากรายการโดยตรงเป็นครั้งคราว ร้อยละ 42.4
- รับชม/รับฟังจากรายการอื่นที่นำบางส่วนมาออกอากาศ ร้อยละ 46.4
2. ความคิดเห็นเรื่องความเหมาะสมของเนื้อหาของรายการสนทนาประสาสมัคร
- เหมาะสมมาก ร้อยละ 13.5
- ค่อนข้างเหมาะสม ร้อยละ 57.7
- ไม่ค่อยเหมาะสม ร้อยละ 23.1
- ไม่เหมาะสมเลย ร้อยละ 5.7
3. ความคิดเห็นต่อประโยชน์ที่ได้รับจากรายการสนทนาประสาสมัคร
- ได้ประโยชน์มาก ร้อยละ 16.4
- ค่อนข้างได้ประโยชน์ ร้อยละ 52.8
- ไม่ค่อยได้ประโยชน์ ร้อยละ 24.4
- ไม่ได้ประโยชน์เลย ร้อยละ 6.4
4. ประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดในรายการสนทนาประสาสมัครมากที่สุด ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิด
ให้ผู้ตอบระบุเอง)
- การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ ร้อยละ 35.9
- แนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาล ร้อยละ 33.5
- การแก้ปัญหาสังคม การศึกษา ร้อยละ 14.6
- การแก้ปัญหาภาคใต้ ร้อยละ 4.8
- การแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 2.1
- การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน ร้อยละ 1.1
- การแก้ปัญหาจราจร ร้อยละ 1.1
- การดำเนินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 0.2
- อื่นๆ ร้อยละ 3.4
- ไม่มีความเห็น ร้อยละ 3.3
5. สิ่งที่ชอบมากที่สุดจากการชม/ฟังรายการสนทนาประสาสมัคร ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- การกล้าพูด เป็นตัวของตัวเอง ร้อยละ 27.2
- ประเด็นเนื้อหาน่าสนใจ ร้อยละ 20.5
- ได้สาระ มีประโยชน์ ร้อยละ 10.8
- เรื่องที่นำมาพูดเป็นประสบการณ์ตรงที่นายกรัฐมนตรีพบเจอ ร้อยละ 4.4
- เป็นเรื่องที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ร้อยละ 3.5
- อื่น ๆ ร้อยละ 5.1
- ไม่มีความเห็น ร้อยละ 28.5
6. สิ่งที่ไม่ชอบมากที่สุดจากการชม/ฟังรายการสนทนาประสาสมัคร ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- ใช้ถ้อยคำรุนแรง เสียดสี หยาบคาย ร้อยละ 37.6
- พูดเข้าข้างตัวเอง เป็นความเห็นด้านเดียว ร้อยละ 18.5
- ไม่ได้สาระ ชอบพูดเรื่องส่วนตัว ร้อยละ 8.0
- รายการสั้นเกินไป เช้าเกินไป ร้อยละ 3.6
- พูดแล้วทำไม่ได้อย่างที่พูด ร้อยละ 2.4
- พูดซ้ำซาก น่าเบื่อ ร้อยละ 1.7
- ไม่มีความเห็น ร้อยละ 28.2
7. ความตั้งใจที่จะติดตามชม/ฟังรายการสนทนาประสาสมัครต่อไป
- จะติดตามชม/ฟังรายการต่อไป ร้อยละ 53.2
- จะเลิกชม/ฟังรายการ ร้อยละ 9.9
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 36.9
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. การรับชม / รับฟังรายการสนทนาประสาสมัคร
2. ความเหมาะสมของเนื้อหาในรายการสนทนาประสาสมัคร
3. ประโยชน์ที่ได้รับจากรายการสนทนาประสาสมัคร
4. ประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดในรายการสนทนาประสาสมัครมากที่สุด
5. สิ่งที่ชื่นชอบมากที่สุดจากการรับชม / รับฟังรายการสนทนาประสาสมัคร
6. สิ่งที่ไม่ชอบมากที่สุดจากการรับชม / รับฟังรายการสนทนาประสาสมัคร
7. ความสนใจจะติดตามรับชม / รับฟังรายการสนทนาประสาสมัครต่อไป
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 25 เขต
จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตดอนเมือง ลาดกระบัง มีนบุรี คลองสามวา
หนองจอก พระนคร ป้อมปราบฯ ปทุมวัน บางรัก สาทร วัฒนา ดุสิต บางซื่อ พญาไท ราชเทวี คลองเตย ดินแดง ประเวศ บางเขน
สวนหลวง บางนา บางกะปิ สะพานสูง สายไหม ลาดพร้าว และปริมณฑล 3 จังหวัดได้แก่ ปทุมธานี สมุทรปราการ และนนทบุรี จากนั้น
สุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,036 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.9 และเพศหญิง
ร้อยละ 49.1
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1-4 เมษายน 2551
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 7 เมษายน 2551
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 527 50.9
หญิง 509 49.1
อายุ
18-25 ปี 277 26.7
26-35 ปี 327 31.6
36-45 ปี 258 24.9
46 ปีขึ้นไป 174 16.8
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 493 47.6
ปริญญาตรี 485 46.8
สูงกว่าปริญญาตรี 58 5.6
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 135 13.0
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 263 25.4
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 214 20.7
รับจ้างทั่วไป 161 15.5
พ่อบ้านแม่บ้าน เกษียณอายุ 82 7.9
นิสิต นักศึกษา 181 17.5
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
สถานีวิทยุในเครือกรมประชาสัมพันธ์ เป็นประจำทุกวันอาทิตย์เวลาประมาณ 8.30-9.30น. ซึ่งเป็นรายการที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน โดยมี
กระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นในเรื่องดัง
กล่าวเพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนกรุงเทพมหานครในฐานะผู้ฟังรายการและผู้อยู่ภายใต้การบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรี โดยเก็บ
ข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครที่ระบุว่าเคยรับฟังและรับชมรายการดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 1,036 คน เมื่อวันที่ 1-4
เมษายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
1. ลักษณะการรับชม/รับฟังรายการสนทนาประสาสมัคร
- รับชม/รับฟังจากรายการโดยตรงเป็นประจำ ร้อยละ 11.2
- รับชม/รับฟังจากรายการโดยตรงเป็นครั้งคราว ร้อยละ 42.4
- รับชม/รับฟังจากรายการอื่นที่นำบางส่วนมาออกอากาศ ร้อยละ 46.4
2. ความคิดเห็นเรื่องความเหมาะสมของเนื้อหาของรายการสนทนาประสาสมัคร
- เหมาะสมมาก ร้อยละ 13.5
- ค่อนข้างเหมาะสม ร้อยละ 57.7
- ไม่ค่อยเหมาะสม ร้อยละ 23.1
- ไม่เหมาะสมเลย ร้อยละ 5.7
3. ความคิดเห็นต่อประโยชน์ที่ได้รับจากรายการสนทนาประสาสมัคร
- ได้ประโยชน์มาก ร้อยละ 16.4
- ค่อนข้างได้ประโยชน์ ร้อยละ 52.8
- ไม่ค่อยได้ประโยชน์ ร้อยละ 24.4
- ไม่ได้ประโยชน์เลย ร้อยละ 6.4
4. ประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดในรายการสนทนาประสาสมัครมากที่สุด ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิด
ให้ผู้ตอบระบุเอง)
- การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ ร้อยละ 35.9
- แนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาล ร้อยละ 33.5
- การแก้ปัญหาสังคม การศึกษา ร้อยละ 14.6
- การแก้ปัญหาภาคใต้ ร้อยละ 4.8
- การแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 2.1
- การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน ร้อยละ 1.1
- การแก้ปัญหาจราจร ร้อยละ 1.1
- การดำเนินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 0.2
- อื่นๆ ร้อยละ 3.4
- ไม่มีความเห็น ร้อยละ 3.3
5. สิ่งที่ชอบมากที่สุดจากการชม/ฟังรายการสนทนาประสาสมัคร ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- การกล้าพูด เป็นตัวของตัวเอง ร้อยละ 27.2
- ประเด็นเนื้อหาน่าสนใจ ร้อยละ 20.5
- ได้สาระ มีประโยชน์ ร้อยละ 10.8
- เรื่องที่นำมาพูดเป็นประสบการณ์ตรงที่นายกรัฐมนตรีพบเจอ ร้อยละ 4.4
- เป็นเรื่องที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ร้อยละ 3.5
- อื่น ๆ ร้อยละ 5.1
- ไม่มีความเห็น ร้อยละ 28.5
6. สิ่งที่ไม่ชอบมากที่สุดจากการชม/ฟังรายการสนทนาประสาสมัคร ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- ใช้ถ้อยคำรุนแรง เสียดสี หยาบคาย ร้อยละ 37.6
- พูดเข้าข้างตัวเอง เป็นความเห็นด้านเดียว ร้อยละ 18.5
- ไม่ได้สาระ ชอบพูดเรื่องส่วนตัว ร้อยละ 8.0
- รายการสั้นเกินไป เช้าเกินไป ร้อยละ 3.6
- พูดแล้วทำไม่ได้อย่างที่พูด ร้อยละ 2.4
- พูดซ้ำซาก น่าเบื่อ ร้อยละ 1.7
- ไม่มีความเห็น ร้อยละ 28.2
7. ความตั้งใจที่จะติดตามชม/ฟังรายการสนทนาประสาสมัครต่อไป
- จะติดตามชม/ฟังรายการต่อไป ร้อยละ 53.2
- จะเลิกชม/ฟังรายการ ร้อยละ 9.9
- ไม่แน่ใจ ร้อยละ 36.9
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. การรับชม / รับฟังรายการสนทนาประสาสมัคร
2. ความเหมาะสมของเนื้อหาในรายการสนทนาประสาสมัคร
3. ประโยชน์ที่ได้รับจากรายการสนทนาประสาสมัคร
4. ประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดในรายการสนทนาประสาสมัครมากที่สุด
5. สิ่งที่ชื่นชอบมากที่สุดจากการรับชม / รับฟังรายการสนทนาประสาสมัคร
6. สิ่งที่ไม่ชอบมากที่สุดจากการรับชม / รับฟังรายการสนทนาประสาสมัคร
7. ความสนใจจะติดตามรับชม / รับฟังรายการสนทนาประสาสมัครต่อไป
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 25 เขต
จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตดอนเมือง ลาดกระบัง มีนบุรี คลองสามวา
หนองจอก พระนคร ป้อมปราบฯ ปทุมวัน บางรัก สาทร วัฒนา ดุสิต บางซื่อ พญาไท ราชเทวี คลองเตย ดินแดง ประเวศ บางเขน
สวนหลวง บางนา บางกะปิ สะพานสูง สายไหม ลาดพร้าว และปริมณฑล 3 จังหวัดได้แก่ ปทุมธานี สมุทรปราการ และนนทบุรี จากนั้น
สุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,036 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.9 และเพศหญิง
ร้อยละ 49.1
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1-4 เมษายน 2551
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 7 เมษายน 2551
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 527 50.9
หญิง 509 49.1
อายุ
18-25 ปี 277 26.7
26-35 ปี 327 31.6
36-45 ปี 258 24.9
46 ปีขึ้นไป 174 16.8
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 493 47.6
ปริญญาตรี 485 46.8
สูงกว่าปริญญาตรี 58 5.6
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 135 13.0
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 263 25.4
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 214 20.7
รับจ้างทั่วไป 161 15.5
พ่อบ้านแม่บ้าน เกษียณอายุ 82 7.9
นิสิต นักศึกษา 181 17.5
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-