ด้วยในวันที่ 19 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้เป็นวันวิสาขบูชา ซึ่งพุทธศาสนิกชนทุกคนควรถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ทำกิจกรรมทางศาสนาร่วม
กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุตรหลานในครอบครัวที่นับวันจะยิ่งหาโอกาสใกล้ชิดกับวัดและศาสนาได้ยากขึ้นอันเนื่องจากวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมไม่เอื้อ
อำนวย แต่ทั้งนี้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรได้ทราบถึงทัศนคติของเยาวชนในปัจจุบันที่มีต่อวัดและศาสนา เพื่อเป็นแนวทางหาวิธีที่จะทำให้เยาวชนได้ใกล้ชิด
และใช้ศาสนาเป็นที่พึ่งได้ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “วัดและศาสนาในสายตา
เยาวชน” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนอายุ 13-25 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,233 คน เมื่อวันที่ 2-5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สรุป
ผลได้ดังนี้
1. การรับรู้ของเยาวชนต่อความสำคัญของวันวิสาขบูชาว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน พบว่า
ทราบ............................................................ร้อยละ 44.4
ไม่ทราบ .........................................................ร้อยละ 55.6
2. ความสำคัญของหลักคำสอนของศาสนาที่มีต่อการดำเนินชีวิตนั้น เยาวชนเห็นว่า
มีความสำคัญมาก....................................................ร้อยละ 53.2
มีความสำคัญค่อนข้างมาก .............................................ร้อยละ 40.1
มีความสำคัญค่อนข้างน้อย..............................................ร้อยละ 5.1
มีความสำคัญน้อย....................................................ร้อยละ 1.6
3. การใช้หลักคำสอนของศาสนาเป็นทางออกในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่า
เคยใช้หลักคำสอนของศาสนาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น...............................ร้อยละ 84.1
โดย การให้อภัย ใช้สติแก้ปัญหา
รู้จักอดทนอดกลั้นเมื่ออยู่ในสังคมคนหมู่มาก
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นต้น
ไม่เคยใช้ ........................................................ร้อยละ 15.9
เพราะ ไม่ค่อยรู้หลักคำสอนของศาสนา
คิดหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง คำสอนเห็นผลช้า เป็นต้น
4. เมื่อถามความรู้สึกที่มีต่อ “วัด” ว่าสามารถเป็นที่พึ่งทางใจของเยาวชนได้หรือไม่นั้น พบว่า
เห็นว่าวัดเป็นที่พึ่งทางใจได้ ..........................................ร้อยละ 93.1
โดยช่วยทำจิตใจให้สงบ ได้ไปนั่งสมาธิ
ช่วยสอนหลักในการดำเนินชีวิต และช่วยสร้างกำลังใจ เป็นต้น
เห็นว่าวัดไม่สามารถเป็นที่พึ่งทางใจได้ ...................................ร้อยละ 6.9
เพราะ ความเชื่อถือที่มีต่อวัดลดลง เห็นผลช้า
ปรึกษาพ่อแม่และเพื่อนสะดวกกว่า เป็นต้น
5. ความเห็นที่ว่า ในปัจจุบันนี้วัดกับเยาวชนไทยห่างไกลกันมากขึ้น นั้น
เห็นด้วย ...............................................ร้อยละ 91.6
ไม่เห็นด้วย .............................................ร้อยละ 8.4
6. ทั้งนี้ เมื่อให้เยาวชนระบุถึงสาเหตุที่ไม่ค่อยเข้าวัด เนื่องจาก
(เป็นคำตอบปลายเปิดให้เยาวชนระบุเอง)
-มีกิจกรรมอื่นที่ดึงความสนใจได้มากกว่า เช่น การเที่ยวกับเพื่อน เล่นเกมส์ออนไลน์ เล่นอินเทอร์เน็ต และเข้าสถานบันเทิง...ร้อยละ 35.1
-วัดไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับเยาวชน...............................................................ร้อยละ 31.0
-ไม่มีคนชักชวน แนะนำ หรือทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง.......................................................ร้อยละ 9.8
-ไม่เชื่อถือ และไม่เห็นประโยชน์ของการเข้าวัด..........................................................ร้อยละ 9.3
-ไม่มีเวลา.....................................................................................ร้อยละ 8.4
-อื่นๆ เช่น ตื่นสาย อาย ไม่กล้า....................................................................ร้อยละ 2.5
-ไม่แสดงความเห็น...............................................................................ร้อยละ 3.9
7. ความคิดเห็นต่อวิธีการที่จะทำให้เยาวชนได้ใกล้ชิดกับวัดและศาสนามากขึ้น คือ
(เป็นคำตอบปลายเปิดให้เยาวชนระบุเอง)
-วัดต้องมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ที่สามารถดึงดูดเยาวชนได้ ....................................................ร้อยละ 25.9
-ปลูกฝังตั้งแต่เด็กโดยเริ่มที่พ่อแม่ สอนและทำเป็นแบบอย่าง .................................................ร้อยละ 24.9
-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์ เผยแพร่ความรู้ และสร้างกิจกรรมที่เชื่อมโยงระหว่างเยาวชนกับวัดให้มากขึ้น ...........ร้อยละ 24.1
-โรงเรียนควรมีกิจกรรมเกี่ยวกับวัดและศาสนา หรือการสอนสอดแทรกในวิชาเรียน.................................ร้อยละ 12.0
-พระสงฆ์ควรปรับแนวการเทศนาให้น่าสนใจ เข้าใจง่ายและเหมาะกับเยาวชน....................................ร้อยละ 4.9
-ไม่แสดงความเห็น...............................................................................ร้อยละ 8.2
8. ข้อปฏิบัติในศีล 5 ที่เยาวชนต้องการให้นักการเมืองไทยยึดถือปฏิบัติมากที่สุด คือ
ไม่คิด หรือ กระทำการลักขโมย ฉ้อโกง คอร์รัปชั่น............................ร้อยละ 62.7
ไม่พูดปด หลอกลวง หยาบคาย ..........................................ร้อยละ 19.0
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกประเภท........................................ร้อยละ 9.3
ไม่คิด ไม่ร่วมรู้เห็นหรือทำร้ายสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ............................ร้อยละ 5.7
ไม่คิด ไม่ประพฤติผิดทางชู้สาว ..........................................ร้อยละ 3.3
จากผลการสำรวจข้างต้น อาจารย์อังศวีร์ ทองรอด หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า
ถึงแม้ว่าเยาวชนมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าวันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานก็ตาม แต่ก็ยังคงให้ความ
สำคัญต่อหลักคำสอนของศาสนา และเคยใช้หลักคำสอนของศาสนาเป็นทางออกในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ให้รู้จักมีสติ อดทนอดกลั้น และไม่ยุ่งเกี่ยวกับยา
เสพติด ซึ่งตรงนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีอย่างมากเนื่องจากในวัยนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นมักมาจากการใช้อารมณ์ วู่วาม และสุดท้ายใช้ยาเสพติดเป็นทางออก
ในภาวะที่มีสิ่งยั่วยุมากมายอยู่รอบตัว เยาวชนจำนวนมากยังคงเห็นวัดเป็นที่พึ่งทางใจของพวกเขาได้ ช่วยให้จิตใจสงบและช่วยสร้างกำลัง
ใจในยามที่ประสบปัญหา ในขณะที่ยังมีเยาวชนบางส่วนที่เข้าไม่ถึงหลักคำสอนของศาสนาจึงต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง อีกทั้งไม่เชื่อถือในวัดและศาสนา
อันเนื่องจากข่าวในทางลบที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง
สาเหตุที่ทำให้เยาวชนไม่ค่อยเข้าวัด เนื่องจาก ภายนอกวัดมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ดึงดูดความสนใจอยู่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การเที่ยวสนุก
สนานกับเพื่อน การเล่นเกมส์ออนไลน์ การเล่นอินเทอร์เน็ต และเข้าสถานบันเทิงต่าง ๆ ประกอบกับวัดเองก็ไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับเยาวชน อีก
ทั้งไม่มีใครชักชวนหรือเป็นแบบอย่างให้เห็นว่าเข้าวัดไปทำอะไร หรือไปแล้วจะได้อะไร
จากความเห็นของเยาวชนที่มีต่อวัดและศาสนาในครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า ยังมีความหวังที่จะทำให้วัดและเยาวชนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่ทั้งนี้
ต้องเกิดจากความร่วมมือและดำเนินการอย่างจริงจังของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น วัด ในฐานะเจ้าของสถานที่ต้องมีกิจกรรมที่น่าสนใจที่สามารถแทนการ
เที่ยวเตร่ตามแหล่งบันเทิงต่างๆ ได้ พระสงฆ์ในฐานะสื่อกลางต้องค้นหาวิธีการสอนและถ่ายทอดหลักศาสนาให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงเยาวชนมากยิ่ง
ขึ้น สำหรับสถาบันครอบครัว เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ต้องชักจูง ปลูกฝัง และพร้อมจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน โดยมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่เร่งรณรงค์ให้ข้อมูลความรู้ และประสานเชื่อมโยงระหว่างวัดกับสถานศึกษา สอดแทรกหลัก
ธรรมคำสอนไปในการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม รวมทั้งการจัดกิจกรรมให้วัด ศาสนาและเยาวชนได้ใกล้ชิดกัน
สามารถดูผลการสำรวจได้ทางเว็บไซต์ http://research.bu.ac.th/temp_ribu/poll/poll_list.php
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในประเด็นต่อไปนี้
1. การรับทราบถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
2. การให้ความสำคัญต่อหลักคำสอนของศาสนาในการดำเนินชีวิต
3. การใช้หลักคำสอนของศาสนาในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
4. ความเห็นต่อการที่ วัดสามารถเป็นที่พึ่งทางใจของเยาวชนได้
5. ความเห็นที่มีต่อ วัดกับเยาวชนไทยห่างไกลกันมากขึ้น
6. สาเหตุที่ทำให้เยาวชนไม่ค่อยเข้าวัด
7. วิธีที่จะให้เยาวชนได้ใกล้ชิดกับวัด/ศาสนามากขึ้น
8. ศีล 5 ข้อที่เยาวชนต้องการให้นักการเมืองไทยยึดถือและปฏิบัติมากที่สุด
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จำนวน 30 เขต จาก 50
เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน คลองสามวา จตุจักร ดอนเมือง ดุสิต ตลิ่งชัน
ทุ่งครุ ธนบุรี บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางนา บางพลัด บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท มีนบุรี ราชเทวี
ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม หลักสี่ และปริมณฑล 3 จังหวัด คือ ปทุมธานี นนทบุรี และ
สมุทรปราการ จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 13-25 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,233 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 43.5 และเพศ
หญิง ร้อยละ 56.5
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 2-5 พฤษภาคม 2551
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 15 พฤษภาคม 2551
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 536 43.5
หญิง 697 56.5
อายุ
13-15 ปี 269 21.8
16-18 ปี 316 25.6
19-21 ปี 330 26.8
23-25 ปี 318 25.8
การศึกษา
กำลังศึกษาอยู่ 1002 81.3
ไม่ได้ศึกษาแล้ว 231 18.7
อาศัยอยู่
บิดา มารดา 844 68.5
ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา 79 6.4
พี่น้อง 75 6.1
เพื่อน 122 9.9
คนรู้จัก 24 1.9
อื่น ๆ 89 7.2
ผลการเรียนล่าสุด
ต่ำกว่า 2.00 96 7.8
2.00-3.00 731 59.3
3.01-4.00 406 32.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุตรหลานในครอบครัวที่นับวันจะยิ่งหาโอกาสใกล้ชิดกับวัดและศาสนาได้ยากขึ้นอันเนื่องจากวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมไม่เอื้อ
อำนวย แต่ทั้งนี้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรได้ทราบถึงทัศนคติของเยาวชนในปัจจุบันที่มีต่อวัดและศาสนา เพื่อเป็นแนวทางหาวิธีที่จะทำให้เยาวชนได้ใกล้ชิด
และใช้ศาสนาเป็นที่พึ่งได้ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “วัดและศาสนาในสายตา
เยาวชน” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนอายุ 13-25 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,233 คน เมื่อวันที่ 2-5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สรุป
ผลได้ดังนี้
1. การรับรู้ของเยาวชนต่อความสำคัญของวันวิสาขบูชาว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน พบว่า
ทราบ............................................................ร้อยละ 44.4
ไม่ทราบ .........................................................ร้อยละ 55.6
2. ความสำคัญของหลักคำสอนของศาสนาที่มีต่อการดำเนินชีวิตนั้น เยาวชนเห็นว่า
มีความสำคัญมาก....................................................ร้อยละ 53.2
มีความสำคัญค่อนข้างมาก .............................................ร้อยละ 40.1
มีความสำคัญค่อนข้างน้อย..............................................ร้อยละ 5.1
มีความสำคัญน้อย....................................................ร้อยละ 1.6
3. การใช้หลักคำสอนของศาสนาเป็นทางออกในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่า
เคยใช้หลักคำสอนของศาสนาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น...............................ร้อยละ 84.1
โดย การให้อภัย ใช้สติแก้ปัญหา
รู้จักอดทนอดกลั้นเมื่ออยู่ในสังคมคนหมู่มาก
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นต้น
ไม่เคยใช้ ........................................................ร้อยละ 15.9
เพราะ ไม่ค่อยรู้หลักคำสอนของศาสนา
คิดหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง คำสอนเห็นผลช้า เป็นต้น
4. เมื่อถามความรู้สึกที่มีต่อ “วัด” ว่าสามารถเป็นที่พึ่งทางใจของเยาวชนได้หรือไม่นั้น พบว่า
เห็นว่าวัดเป็นที่พึ่งทางใจได้ ..........................................ร้อยละ 93.1
โดยช่วยทำจิตใจให้สงบ ได้ไปนั่งสมาธิ
ช่วยสอนหลักในการดำเนินชีวิต และช่วยสร้างกำลังใจ เป็นต้น
เห็นว่าวัดไม่สามารถเป็นที่พึ่งทางใจได้ ...................................ร้อยละ 6.9
เพราะ ความเชื่อถือที่มีต่อวัดลดลง เห็นผลช้า
ปรึกษาพ่อแม่และเพื่อนสะดวกกว่า เป็นต้น
5. ความเห็นที่ว่า ในปัจจุบันนี้วัดกับเยาวชนไทยห่างไกลกันมากขึ้น นั้น
เห็นด้วย ...............................................ร้อยละ 91.6
ไม่เห็นด้วย .............................................ร้อยละ 8.4
6. ทั้งนี้ เมื่อให้เยาวชนระบุถึงสาเหตุที่ไม่ค่อยเข้าวัด เนื่องจาก
(เป็นคำตอบปลายเปิดให้เยาวชนระบุเอง)
-มีกิจกรรมอื่นที่ดึงความสนใจได้มากกว่า เช่น การเที่ยวกับเพื่อน เล่นเกมส์ออนไลน์ เล่นอินเทอร์เน็ต และเข้าสถานบันเทิง...ร้อยละ 35.1
-วัดไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับเยาวชน...............................................................ร้อยละ 31.0
-ไม่มีคนชักชวน แนะนำ หรือทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง.......................................................ร้อยละ 9.8
-ไม่เชื่อถือ และไม่เห็นประโยชน์ของการเข้าวัด..........................................................ร้อยละ 9.3
-ไม่มีเวลา.....................................................................................ร้อยละ 8.4
-อื่นๆ เช่น ตื่นสาย อาย ไม่กล้า....................................................................ร้อยละ 2.5
-ไม่แสดงความเห็น...............................................................................ร้อยละ 3.9
7. ความคิดเห็นต่อวิธีการที่จะทำให้เยาวชนได้ใกล้ชิดกับวัดและศาสนามากขึ้น คือ
(เป็นคำตอบปลายเปิดให้เยาวชนระบุเอง)
-วัดต้องมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ที่สามารถดึงดูดเยาวชนได้ ....................................................ร้อยละ 25.9
-ปลูกฝังตั้งแต่เด็กโดยเริ่มที่พ่อแม่ สอนและทำเป็นแบบอย่าง .................................................ร้อยละ 24.9
-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์ เผยแพร่ความรู้ และสร้างกิจกรรมที่เชื่อมโยงระหว่างเยาวชนกับวัดให้มากขึ้น ...........ร้อยละ 24.1
-โรงเรียนควรมีกิจกรรมเกี่ยวกับวัดและศาสนา หรือการสอนสอดแทรกในวิชาเรียน.................................ร้อยละ 12.0
-พระสงฆ์ควรปรับแนวการเทศนาให้น่าสนใจ เข้าใจง่ายและเหมาะกับเยาวชน....................................ร้อยละ 4.9
-ไม่แสดงความเห็น...............................................................................ร้อยละ 8.2
8. ข้อปฏิบัติในศีล 5 ที่เยาวชนต้องการให้นักการเมืองไทยยึดถือปฏิบัติมากที่สุด คือ
ไม่คิด หรือ กระทำการลักขโมย ฉ้อโกง คอร์รัปชั่น............................ร้อยละ 62.7
ไม่พูดปด หลอกลวง หยาบคาย ..........................................ร้อยละ 19.0
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกประเภท........................................ร้อยละ 9.3
ไม่คิด ไม่ร่วมรู้เห็นหรือทำร้ายสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ............................ร้อยละ 5.7
ไม่คิด ไม่ประพฤติผิดทางชู้สาว ..........................................ร้อยละ 3.3
จากผลการสำรวจข้างต้น อาจารย์อังศวีร์ ทองรอด หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า
ถึงแม้ว่าเยาวชนมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าวันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานก็ตาม แต่ก็ยังคงให้ความ
สำคัญต่อหลักคำสอนของศาสนา และเคยใช้หลักคำสอนของศาสนาเป็นทางออกในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ให้รู้จักมีสติ อดทนอดกลั้น และไม่ยุ่งเกี่ยวกับยา
เสพติด ซึ่งตรงนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีอย่างมากเนื่องจากในวัยนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นมักมาจากการใช้อารมณ์ วู่วาม และสุดท้ายใช้ยาเสพติดเป็นทางออก
ในภาวะที่มีสิ่งยั่วยุมากมายอยู่รอบตัว เยาวชนจำนวนมากยังคงเห็นวัดเป็นที่พึ่งทางใจของพวกเขาได้ ช่วยให้จิตใจสงบและช่วยสร้างกำลัง
ใจในยามที่ประสบปัญหา ในขณะที่ยังมีเยาวชนบางส่วนที่เข้าไม่ถึงหลักคำสอนของศาสนาจึงต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง อีกทั้งไม่เชื่อถือในวัดและศาสนา
อันเนื่องจากข่าวในทางลบที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง
สาเหตุที่ทำให้เยาวชนไม่ค่อยเข้าวัด เนื่องจาก ภายนอกวัดมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ดึงดูดความสนใจอยู่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การเที่ยวสนุก
สนานกับเพื่อน การเล่นเกมส์ออนไลน์ การเล่นอินเทอร์เน็ต และเข้าสถานบันเทิงต่าง ๆ ประกอบกับวัดเองก็ไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับเยาวชน อีก
ทั้งไม่มีใครชักชวนหรือเป็นแบบอย่างให้เห็นว่าเข้าวัดไปทำอะไร หรือไปแล้วจะได้อะไร
จากความเห็นของเยาวชนที่มีต่อวัดและศาสนาในครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า ยังมีความหวังที่จะทำให้วัดและเยาวชนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่ทั้งนี้
ต้องเกิดจากความร่วมมือและดำเนินการอย่างจริงจังของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น วัด ในฐานะเจ้าของสถานที่ต้องมีกิจกรรมที่น่าสนใจที่สามารถแทนการ
เที่ยวเตร่ตามแหล่งบันเทิงต่างๆ ได้ พระสงฆ์ในฐานะสื่อกลางต้องค้นหาวิธีการสอนและถ่ายทอดหลักศาสนาให้เข้าใจง่ายและเข้าถึงเยาวชนมากยิ่ง
ขึ้น สำหรับสถาบันครอบครัว เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ต้องชักจูง ปลูกฝัง และพร้อมจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน โดยมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่เร่งรณรงค์ให้ข้อมูลความรู้ และประสานเชื่อมโยงระหว่างวัดกับสถานศึกษา สอดแทรกหลัก
ธรรมคำสอนไปในการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม รวมทั้งการจัดกิจกรรมให้วัด ศาสนาและเยาวชนได้ใกล้ชิดกัน
สามารถดูผลการสำรวจได้ทางเว็บไซต์ http://research.bu.ac.th/temp_ribu/poll/poll_list.php
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในประเด็นต่อไปนี้
1. การรับทราบถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
2. การให้ความสำคัญต่อหลักคำสอนของศาสนาในการดำเนินชีวิต
3. การใช้หลักคำสอนของศาสนาในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
4. ความเห็นต่อการที่ วัดสามารถเป็นที่พึ่งทางใจของเยาวชนได้
5. ความเห็นที่มีต่อ วัดกับเยาวชนไทยห่างไกลกันมากขึ้น
6. สาเหตุที่ทำให้เยาวชนไม่ค่อยเข้าวัด
7. วิธีที่จะให้เยาวชนได้ใกล้ชิดกับวัด/ศาสนามากขึ้น
8. ศีล 5 ข้อที่เยาวชนต้องการให้นักการเมืองไทยยึดถือและปฏิบัติมากที่สุด
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จำนวน 30 เขต จาก 50
เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน คลองสามวา จตุจักร ดอนเมือง ดุสิต ตลิ่งชัน
ทุ่งครุ ธนบุรี บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางนา บางพลัด บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท มีนบุรี ราชเทวี
ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม หลักสี่ และปริมณฑล 3 จังหวัด คือ ปทุมธานี นนทบุรี และ
สมุทรปราการ จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 13-25 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,233 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 43.5 และเพศ
หญิง ร้อยละ 56.5
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 2-5 พฤษภาคม 2551
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 15 พฤษภาคม 2551
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 536 43.5
หญิง 697 56.5
อายุ
13-15 ปี 269 21.8
16-18 ปี 316 25.6
19-21 ปี 330 26.8
23-25 ปี 318 25.8
การศึกษา
กำลังศึกษาอยู่ 1002 81.3
ไม่ได้ศึกษาแล้ว 231 18.7
อาศัยอยู่
บิดา มารดา 844 68.5
ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา 79 6.4
พี่น้อง 75 6.1
เพื่อน 122 9.9
คนรู้จัก 24 1.9
อื่น ๆ 89 7.2
ผลการเรียนล่าสุด
ต่ำกว่า 2.00 96 7.8
2.00-3.00 731 59.3
3.01-4.00 406 32.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-