กรุงเทพโพลล์: คนไทยคิดอย่างไรกับโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ ประจำไตรมาส 3 /2567

ข่าวผลสำรวจ Thursday October 3, 2024 09:07 —กรุงเทพโพลล์

จากการสำรวจประจำไตรมาส 3 ของปี 2567 ประชาชนมองเห็นโอกาสสำหรับการริเริ่มธุรกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2567 เป็นร้อยละ 50.2 จากเดิมร้อยละ 43.9 ขณะที่ไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลว มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 73.3 จากเดิมร้อยละ 59.9

ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 62.3 เห็นว่า สาเหตุที่ทำให้ไม่กล้าเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองเพราะกลัวล้มเหลว กลัวขาดทุน

ผลสำรวจเรื่อง ?คนไทยคิดอย่างไรกับโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ ประจำไตรมาส 3 /2567?

กรุงเทพโพลล์ร่วมกับคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง ?คนไทยคิดอย่างไรกับโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ ประจำไตรมาส 3/2567 ?โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,087 คน พบว่า

การสำรวจความเห็นเกี่ยวกับจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (เจ้าของธุรกิจ) ประจำไตรมาส 3 ของปี 2567 โดยได้ทำการเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ผ่านมา (ช่วงเดือน มิ.ย. 2567) ในประเด็นต่างๆ พบว่า ประชาชนเห็นโอกาสหรือความพร้อมสำหรับการริเริ่มธุรกิจในอนาคตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.2 (โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.3) รองลงมาคือ มีความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจ ในอนาคตข้างหน้า คิดเป็นร้อยละ 47.7 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ) และมีความรู้ความสามารถรวมถึงทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นในการที่จะเริ่มทำธุรกิจใหม่ คิดเป็นร้อยละ 46.4 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7) ขณะที่เห็นว่าไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลว คิดเป็นร้อยละ 73.3 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4)

ทั้งนี้สาเหตุที่ไม่กล้าเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองมากที่สุดคือ กลัวล้มเหลว กลัวขาดทุน คิดเป็นร้อยละ 62.3 รองลงมาคือไม่มีเงินทุนมากพอ คิดเป็นร้อยละ 53.1 ปัญหาข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง คิดเป็นร้อยละ 44.5 หากไม่สำเร็จกลัวคนในครอบครัวจะเดือดร้อน แบกภาระหนี้ร่วมกัน คิดเป็นร้อยละ 34.1และน้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ ราคาสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 32.3

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ประเด็นคำถามเกี่ยวกับจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (เจ้าของธุรกิจ)

คำถาม          สำรวจ
(ก.ย.67)          สำรวจ
(มิ.ย.67)          เพิ่มขึ้น/ลดลง
          ร้อยละ           ร้อยละ           ร้อยละ
ท่านมีความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจ ในอนาคตข้างหน้า          47.7          42.6          +5.1
ท่านเห็นโอกาสหรือความพร้อมสำหรับการริเริ่มธุรกิจในอนาคต          50.2          43.9          +6.3
ตัวท่านมีความรู้ความสามารถรวมถึงทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นในการที่จะเริ่มทำธุรกิจใหม่          46.4          38.7          +7.7
รู้จักผู้ประกอบการหรือมีเครือข่ายที่สามารถสนับสนุนในการริเริ่มธุรกิจ          36.0          30.3          +5.7
คิดว่าการเริ่มต้นธุรกิจใหม่เป็นสิ่งที่ง่ายในสถานการณ์ขณะนี้          12.4          13.2          -0.8
ไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลว          73.3          59.9          +13.4

2. สาเหตุที่ท่านไม่กล้าเริ่มต้นธุรกิจของตัวท่านเอง (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ)

กลัวล้มเหลว กลัวขาดทุน          ร้อยละ          62.3
ไม่มีเงินทุนมากพอ          ร้อยละ          53.1
ปัญหาเงินเฟ้อในปัจจุบัน  ค่าครองชีพสูง             ร้อยละ          44.5
หากไม่สำเร็จกลัวคนในครอบครัวจะเดือดร้อน แบกภาระหนี้ร่วมกัน          ร้อยละ          34.1
น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ ราคาสูงขึ้น          ร้อยละ          32.3
ขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ          ร้อยละ          31.6
ไม่รู้ว่าตัวเองจะทำธุรกิจอะไรดี          ร้อยละ          24.3
คิดว่างานที่ทำอยู่มั่นคงแล้ว เลี้ยงตัวเองได้แล้ว               ร้อยละ          21.5
กลัวทำแล้วเกิดสถานการณ์ไม่คาดฝัน เช่น โรคระบาด ภัยธรรมชาติ          ร้อยละ          21.4
นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ / เงินเดือนปริญญาตรี          ร้อยละ          15.7
คิดว่าสายเกินไปที่จะเริ่มต้นใหม่          ร้อยละ           14.2
กลัวการเริ่มต้นว่าจะทำไม่ได้          ร้อยละ          9.3
อื่นๆ อาทิ เศรษฐกิจไม่ดี สถานการณ์ทางการเมืองไม่นิ่ง แข่งขันสูง ฯลฯ          ร้อยละ          4.0
?

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจของคนไทยประจำไตรมาส 3 ของปี 2567 ในประเด็นต่างๆ รวมถึงเหตุผลที่ทำให้ไม่กล้าเริ่มธุรกิจเป็นของตนเอง ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ และลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) และลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 19 - 29 กันยายน 2567

วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 3 ตุลาคม 2567

ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
          จำนวน          ร้อยละ
เพศ
            ชาย          569          52.3
            หญิง          518          47.7
รวม          1,087          100.0
อายุ
            18 ? 30 ปี          224          20.6
            31 ? 40 ปี          170          15.7
            41 ? 50 ปี          227          20.9
            51 ? 60 ปี          234          21.5
            61 ปีขึ้นไป           232          21.3
รวม          1,087          100.0
การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี          807          74.2
            ปริญญาตรี          249          22.9
            สูงกว่าปริญญาตรี          31          2.9
รวม          1,087          100.0
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล          49          4.5
          ลูกจ้างเอกชน          266          24.5
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร          504          46.4
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง          39          3.6
                  ทำงานให้ครอบครัว          8          0.7
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ          132          12.1
          นักเรียน/นักศึกษา          55          5.1
          ว่างงาน           34          3.1
รวม          1,087          100.0

กรุงเทพโพลล์  โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898
E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th      Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th
Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll

ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ