จากการที่รัฐบาลได้ออกนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางเสียง
วิพากษ์วิจารณ์ทั้งในแง่บวกและลบเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไรต่อมาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพ” โดยเก็บข้อมูล
จากประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,201 คน เมื่อวันที่ 19-20 มิถุนายน 2551
สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่า
- ประชาชนร้อยละ 94.9 ระบุว่าได้รับผลกระทบคือ รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้หนี้ยืมสิน และต้องเอาทรัพย์สินไปจำนำ ฯลฯ
มีเพียงร้อยละ 5.1 ที่ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจาก ไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้าน ยึดแนวทางการใช้ชีวิตแบบประหยัดอยู่แล้ว ฯลฯ
2. สำหรับมาตรการต่างๆ โดยรวมที่รัฐบาลออกมาเพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพนั้น ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.4 เห็นด้วยกับมาตรการ
ที่ออกมา มีเพียงร้อยละ 9.5 ที่ไม่เห็นด้วย ส่วนอีกร้อยละ 30.1 ไม่แน่ใจเนื่องจากไม่ทราบรายละเอียดของมาตรการต่างๆ อย่างเพียงพอ
- เมื่อพิจารณาแต่ละมาตรการพบว่า การรื้อฟื้นโครงการเมดอินไทยแลนด์ ปลุกกระแสให้คนไทยหันมาใช้สินค้าไทยเป็นมาตรการที่
ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุด ขณะที่การแจกคูปองบัตรเติมเงินให้ผู้มีรายได้น้อยเดือนละ 300-400 บาทมีประชาชนเห็นด้วยน้อยที่สุด โดยกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย
กับมาตรการดังกล่าวให้เหตุผลว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด แก้ที่ปลายเหตุ มุ่งหาเสียงกับคนจน และเชื่อว่าจะเกิดการรั่วไหลระหว่างทาง ทั้งนี้ มี
รายละเอียดของความคิดเห็นในแต่ละมาตรการดังนี้
- การแจกคูปองบัตรเติมเงินให้ผู้มีรายได้น้อยเดือนละ 300-400 บาท
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 47.4
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 25.1
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 27.5
- การอัดฉีดงบประมาณปี 2551 วงเงิน 1 หมื่นล้านบาทในโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน
และชุมชน (เอสเอ็มแอล) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 60.7
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 17.5
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 21.8
- อนุมัติงบจัดซื้อปุ๋ยราคาถูก 304.5 ล้านบาท
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 56.3
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 10.9
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 32.8
- รื้อฟื้นโครงการเมดอินไทยแลนด์ ปลุกกระแสให้คนไทยหันมาใช้สินค้าไทย
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 84.3
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 2.9
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 12.8
- เพิ่มเงินค่าครองชีพชั่วคราวแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 77.1
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 8.6
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 14.3
- คืนที่ดินราชพัสดุ 1 ล้านไร่ เพื่อให้เกษตรกรใช้เพาะปลูกพืชพลังงานทดแทน
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 68.8
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 6.2
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 25.0
- โรงกลั่นลดค่าการกลั่นและกระจายน้ำมันราคาถูกให้กลุ่มธุรกิจ ขนส่ง และประมง
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 79.2
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 5.7
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 15.1
- อนุมัติงบ 2,000 ล้านบาท ติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวีรถโดยสารสาธารณะ
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 79.9
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 6.6
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 13.5
- ลดภาษีสรรพสามิตกระตุ้นการใช้น้ำมัน อี 85
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 63.3
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 6.8
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 29.9
- คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ออกไปอีก 2 ปี
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 76.4
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 5.0
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 18.6
3. อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการนำมาตรการดังกล่าวข้างต้นไปปฏิบัติให้สำเร็จผล พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 82.8
ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถนำมาตรการต่างๆ ไปปฏิบัติให้สำเร็จผลได้ โดย
เชื่อมั่น...........................................ร้อยละ 17.2
(โดยเชื่อมั่นมาก ร้อยละ 3.2 และค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 14.0)
ไม่เชื่อมั่น.........................................ร้อยละ 82.8
(โดยไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 50.5 และไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 32.3)
4. เมื่อให้ประชาชนให้คะแนนผลงานที่ผ่านมาของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพ ปรากฏว่าได้คะแนน 4.10 (จากคะแนนเต็ม 10)
5. สำหรับสิ่งที่อยากให้รัฐบาลทำโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันและค่าครองชีพ ได้แก่
ควรเน้นแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่าแก้ที่ปลายเหตุ..............ร้อยละ 28.9
แก้ปัญหาโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน .....ร้อยละ 27.4
รณรงค์เรื่องการประหยัดให้มากขึ้น.......................ร้อยละ 19.7
ดึงนักวิชาการ นักวิชาชีพมาร่วมแก้ปัญหา ..................ร้อยละ 11.4
เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ..........................ร้อยละ 10.6
อื่นๆ เช่นมุ่งพัฒนาภาคเกษตรกรรมให้สามารถเลี้ยงตัวได้ และเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี ฯลฯ...ร้อยละ 2.0
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในประเด็นต่อไปนี้
1. ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
3. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการนำมาตรการต่างๆ ไปปฏิบัติให้สำเร็จผล
4. ความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่ผ่านมา
5. สิ่งที่อยากให้รัฐบาลทำโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็น
ระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,201 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อยละ 50.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา
ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : วันที่ 19-20 มิถุนายน 2551
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 22 มิถุนายน 2551
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 593 49.4
หญิง 608 50.6
อายุ
20-30 ปี 374 31.2
31-40 ปี 389 32.4
41-50 ปี 262 21.8
51-60 ปี 148 12.3
61 ปีขึ้นไป 28 2.3
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 406 33.8
ปริญญาตรี 676 56.3
สูงกว่าปริญญาตรี 119 9.9
อาชีพ
ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 246 20.5
ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 251 20.9
พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 397 33.1
รับจ้างทั่วไป 153 12.7
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 73 6.1
อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 81 6.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
วิพากษ์วิจารณ์ทั้งในแง่บวกและลบเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไรต่อมาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพ” โดยเก็บข้อมูล
จากประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,201 คน เมื่อวันที่ 19-20 มิถุนายน 2551
สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่า
- ประชาชนร้อยละ 94.9 ระบุว่าได้รับผลกระทบคือ รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้หนี้ยืมสิน และต้องเอาทรัพย์สินไปจำนำ ฯลฯ
มีเพียงร้อยละ 5.1 ที่ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจาก ไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้าน ยึดแนวทางการใช้ชีวิตแบบประหยัดอยู่แล้ว ฯลฯ
2. สำหรับมาตรการต่างๆ โดยรวมที่รัฐบาลออกมาเพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพนั้น ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.4 เห็นด้วยกับมาตรการ
ที่ออกมา มีเพียงร้อยละ 9.5 ที่ไม่เห็นด้วย ส่วนอีกร้อยละ 30.1 ไม่แน่ใจเนื่องจากไม่ทราบรายละเอียดของมาตรการต่างๆ อย่างเพียงพอ
- เมื่อพิจารณาแต่ละมาตรการพบว่า การรื้อฟื้นโครงการเมดอินไทยแลนด์ ปลุกกระแสให้คนไทยหันมาใช้สินค้าไทยเป็นมาตรการที่
ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุด ขณะที่การแจกคูปองบัตรเติมเงินให้ผู้มีรายได้น้อยเดือนละ 300-400 บาทมีประชาชนเห็นด้วยน้อยที่สุด โดยกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย
กับมาตรการดังกล่าวให้เหตุผลว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด แก้ที่ปลายเหตุ มุ่งหาเสียงกับคนจน และเชื่อว่าจะเกิดการรั่วไหลระหว่างทาง ทั้งนี้ มี
รายละเอียดของความคิดเห็นในแต่ละมาตรการดังนี้
- การแจกคูปองบัตรเติมเงินให้ผู้มีรายได้น้อยเดือนละ 300-400 บาท
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 47.4
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 25.1
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 27.5
- การอัดฉีดงบประมาณปี 2551 วงเงิน 1 หมื่นล้านบาทในโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน
และชุมชน (เอสเอ็มแอล) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 60.7
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 17.5
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 21.8
- อนุมัติงบจัดซื้อปุ๋ยราคาถูก 304.5 ล้านบาท
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 56.3
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 10.9
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 32.8
- รื้อฟื้นโครงการเมดอินไทยแลนด์ ปลุกกระแสให้คนไทยหันมาใช้สินค้าไทย
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 84.3
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 2.9
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 12.8
- เพิ่มเงินค่าครองชีพชั่วคราวแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 77.1
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 8.6
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 14.3
- คืนที่ดินราชพัสดุ 1 ล้านไร่ เพื่อให้เกษตรกรใช้เพาะปลูกพืชพลังงานทดแทน
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 68.8
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 6.2
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 25.0
- โรงกลั่นลดค่าการกลั่นและกระจายน้ำมันราคาถูกให้กลุ่มธุรกิจ ขนส่ง และประมง
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 79.2
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 5.7
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 15.1
- อนุมัติงบ 2,000 ล้านบาท ติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวีรถโดยสารสาธารณะ
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 79.9
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 6.6
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 13.5
- ลดภาษีสรรพสามิตกระตุ้นการใช้น้ำมัน อี 85
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 63.3
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 6.8
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 29.9
- คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ออกไปอีก 2 ปี
เห็นด้วย..........................................ร้อยละ 76.4
ไม่เห็นด้วย........................................ร้อยละ 5.0
ไม่แน่ใจ..........................................ร้อยละ 18.6
3. อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการนำมาตรการดังกล่าวข้างต้นไปปฏิบัติให้สำเร็จผล พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 82.8
ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถนำมาตรการต่างๆ ไปปฏิบัติให้สำเร็จผลได้ โดย
เชื่อมั่น...........................................ร้อยละ 17.2
(โดยเชื่อมั่นมาก ร้อยละ 3.2 และค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 14.0)
ไม่เชื่อมั่น.........................................ร้อยละ 82.8
(โดยไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 50.5 และไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 32.3)
4. เมื่อให้ประชาชนให้คะแนนผลงานที่ผ่านมาของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพ ปรากฏว่าได้คะแนน 4.10 (จากคะแนนเต็ม 10)
5. สำหรับสิ่งที่อยากให้รัฐบาลทำโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันและค่าครองชีพ ได้แก่
ควรเน้นแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่าแก้ที่ปลายเหตุ..............ร้อยละ 28.9
แก้ปัญหาโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน .....ร้อยละ 27.4
รณรงค์เรื่องการประหยัดให้มากขึ้น.......................ร้อยละ 19.7
ดึงนักวิชาการ นักวิชาชีพมาร่วมแก้ปัญหา ..................ร้อยละ 11.4
เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ..........................ร้อยละ 10.6
อื่นๆ เช่นมุ่งพัฒนาภาคเกษตรกรรมให้สามารถเลี้ยงตัวได้ และเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี ฯลฯ...ร้อยละ 2.0
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในประเด็นต่อไปนี้
1. ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
3. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการนำมาตรการต่างๆ ไปปฏิบัติให้สำเร็จผล
4. ความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่ผ่านมา
5. สิ่งที่อยากให้รัฐบาลทำโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็น
ระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,201 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อยละ 50.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา
ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : วันที่ 19-20 มิถุนายน 2551
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 22 มิถุนายน 2551
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 593 49.4
หญิง 608 50.6
อายุ
20-30 ปี 374 31.2
31-40 ปี 389 32.4
41-50 ปี 262 21.8
51-60 ปี 148 12.3
61 ปีขึ้นไป 28 2.3
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 406 33.8
ปริญญาตรี 676 56.3
สูงกว่าปริญญาตรี 119 9.9
อาชีพ
ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 246 20.5
ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 251 20.9
พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 397 33.1
รับจ้างทั่วไป 153 12.7
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 73 6.1
อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 81 6.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-