ด้วยในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ เป็นวันสิ้นสุดการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. ที่
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(คปค.) ได้ออกประกาศวันที่ 30 กันยายน 2549 แต่งตั้งคณะกรรมการชุด
ดังกล่าว ให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบเกี่ยวกับสัญญา สัญญาสัมปทาน การจัดซื้อจัดจ้าง การเอื้อประโยชน์ของฝ่ายต่าง ๆ ตลอดจน
การกระทำของบุคคลใดๆ ที่เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ นั้น เพื่อเป็นการประเมินผลงานของ
คตส. จากการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไป ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นในหัว
ข้อ “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของคตส.” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหา
นคร จำนวน 1,012 คน เมื่อวันที่ 25 -26 มิถุนายน 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความพึงพอใจต่อการทำงานที่ผ่านมาของ คตส. พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 5.79 จากคะแนนเต็ม 10 โดยด้านความตั้งใจ ทุ่มเท
และเสียสละในการทำงาน ได้คะแนนสูงที่สุด ขณะที่ด้านความรวดเร็วใน การทำงานได้คะแนนต่ำที่สุด ดังนี้
- ด้านความตั้งใจ ทุ่มเท เสียสละในการทำงาน ได้ 6.19 คะแนน
- ด้านความยุติธรรมเป็นกลางในการทำงาน ได้ 5.72 คะแนน
- ด้านความโปร่งใสชัดเจนในการทำงาน ได้ 5.70 คะแนน
- ด้านความรวดเร็วในการทำงาน ได้ 5.53 คะแนน
2. จากการทำหน้าที่ตรวจสอบในคดีต่าง ๆ ที่ คตส. ได้ดำเนินการทั้ง 13 คดี ประชาชนพอใจการทำคดีการก่อสร้างโครงการระบบขน
ส่งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานฯ ของการรถไฟแห่งประเทศไทยมากที่สุด ส่วนการให้เงินกู้โดยมิชอบของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด แก่ผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองเป็นคดีที่ประชาชนพอใจน้อยที่สุด
โดยมีคะแนนความพึงพอใจในแต่ละคดี ดังนี้ (จากคะแนนเต็ม 10)
1. การก่อสร้างโครงการระบบขนส่งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานฯของการรถไฟแห่งประเทศไทย 5.75
2. การจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด(CTX 9000 Dsi) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 5.66
3. การไต่สวนกรณีสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินถนนรัชดาภิเษก 5.66
4. การซื้อขายหุ้นและโอนหุ้น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 5.65
5. การไต่สวนโครงการจัดซื้อจัดจ้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 5.58
6. กรณีการจัดซื้อจัดจ้างเอกชนโดยการเคหะแห่งชาติ โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 4 5.57
7. การไต่สวนกรณีทุจริตเกี่ยวกับการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร ในราคาที่สูงเกินความเป็นจริง 5.51
8. การไต่สวนโครงการจัดซื้อต้นกล้ายางและโครงการปลูกยาง 90 ล้านต้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5.48
9. การกระทำความผิดโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัวของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 5.45
10. การเอื้อประโยชน์ธุรกิจของนักการเมืองและพวกพ้อง กรณีการแปลงค่าสัมปทานกิจการโทรคมนาคม 5.44
11. การจ้างก่อสร้างและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการกลาง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5.39
12. การให้เงินกู้แก่รัฐบาลสหภาพพม่าของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(Exim Bank) 5.34
13. การให้เงินกู้โดยมิชอบของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด แก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5.26
3. สำหรับความเชื่อมั่นต่อการทำงานที่ผ่านมาของ คตส. ซึ่งเป็นองค์กรที่มาจากการแต่งตั้งของคณะปฏิรูปการปกครองฯ (คปค.)
นั้น พบว่า
ร้อยละ 53.1 ระบุว่าเชื่อมั่น เนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถ ซื่อสัตย์และผ่านการคัดเลือกมาแล้ว
ร้อยละ 46.9 ระบุว่าไม่เชื่อมั่น เนื่องจากเป็นทีมที่แต่งตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจ อาจไม่เป็นกลางเพราะแต่งตั้งจาก คปค.
4. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ที่จะต้องสอบสวนคดีต่าง ๆ ต่อจาก
คตส. ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบเอง)
- ทำงานให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร้อยละ 27.1
- ขอให้ทำงานอย่างซื่อสัตย์ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ร้อยละ 23.3
- ขอให้มีความเป็นกลาง ยุติธรรม ร้อยละ 22.3
- ขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ร้อยละ 7.2
- ขอให้สานต่อคดีที่ คตส. ทำไว้ ร้อยละ 6.4
- อย่ายอมให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงาน ร้อยละ 6.4
- ขอให้กำลังใจให้ทำงานเพื่อประเทศชาติต่อไป ร้อยละ 3.8
- ขอให้ทำงานอย่างรอบคอบ รัดกุม ร้อยละ 2.7
- อื่น ๆ อาทิ ตั้งคณะทำงานใหม่ ร้อยละ 0.8
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. ความพึงพอใจในการทำงานที่ผ่านมาของ คตส. ในด้านต่าง ๆ
2. ความพึงพอใจต่อการดำเนินการตรวจสอบในคดีต่าง ๆ 13 คดี ของ คตส.
3. ความเชื่อมั่นที่มีต่อการทำงานของ คตส. กรณีเป็นองค์กรที่แต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครอง (คปค.)
4. สิ่งที่อยากฝากถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ดำเนินการสอบสวนคดีต่าง ๆ ต่อจาก คตส.
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 26 เขต จาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย ดินแดง บางกะปิ บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางรัก
ปทุมวัน ป้อมปราบฯ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สะพานสูง สัมพันธวงศ์ หลักสี่ ดอนเมือง ทุ่งครุ บางเขน บางพลัด ภาษีเจริญ วังทองหลาง
สวนหลวง สาทร สายไหม หนองแขม และพญาไท จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 20 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,012 คน เป็นเพศ
ชาย ร้อยละ 48.9 และเพศหญิง ร้อยละ 51.1
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา
ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25-26 มิถุนายน 2551
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 30 มิถุนายน 2551
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 495 48.9
หญิง 517 51.1
อายุ
20-30 ปี 367 36.3
31-40 ปี 302 29.8
41-50 ปี 229 22.6
51-60 ปี 86 8.5
61 ปีขึ้นไป 28 2.8
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 363 35.9
ปริญญาตรี 585 57.8
สูงกว่าปริญญาตรี 64 6.3
อาชีพ
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 144 14.2
ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 236 23.3
รับจ้างทั่วไป 128 12.6
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 306 30.3
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 67 6.6
อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 131 13.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(คปค.) ได้ออกประกาศวันที่ 30 กันยายน 2549 แต่งตั้งคณะกรรมการชุด
ดังกล่าว ให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบเกี่ยวกับสัญญา สัญญาสัมปทาน การจัดซื้อจัดจ้าง การเอื้อประโยชน์ของฝ่ายต่าง ๆ ตลอดจน
การกระทำของบุคคลใดๆ ที่เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ นั้น เพื่อเป็นการประเมินผลงานของ
คตส. จากการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไป ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นในหัว
ข้อ “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของคตส.” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหา
นคร จำนวน 1,012 คน เมื่อวันที่ 25 -26 มิถุนายน 2551 สรุปผลได้ดังนี้
1. ความพึงพอใจต่อการทำงานที่ผ่านมาของ คตส. พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 5.79 จากคะแนนเต็ม 10 โดยด้านความตั้งใจ ทุ่มเท
และเสียสละในการทำงาน ได้คะแนนสูงที่สุด ขณะที่ด้านความรวดเร็วใน การทำงานได้คะแนนต่ำที่สุด ดังนี้
- ด้านความตั้งใจ ทุ่มเท เสียสละในการทำงาน ได้ 6.19 คะแนน
- ด้านความยุติธรรมเป็นกลางในการทำงาน ได้ 5.72 คะแนน
- ด้านความโปร่งใสชัดเจนในการทำงาน ได้ 5.70 คะแนน
- ด้านความรวดเร็วในการทำงาน ได้ 5.53 คะแนน
2. จากการทำหน้าที่ตรวจสอบในคดีต่าง ๆ ที่ คตส. ได้ดำเนินการทั้ง 13 คดี ประชาชนพอใจการทำคดีการก่อสร้างโครงการระบบขน
ส่งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานฯ ของการรถไฟแห่งประเทศไทยมากที่สุด ส่วนการให้เงินกู้โดยมิชอบของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด แก่ผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองเป็นคดีที่ประชาชนพอใจน้อยที่สุด
โดยมีคะแนนความพึงพอใจในแต่ละคดี ดังนี้ (จากคะแนนเต็ม 10)
1. การก่อสร้างโครงการระบบขนส่งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานฯของการรถไฟแห่งประเทศไทย 5.75
2. การจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด(CTX 9000 Dsi) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 5.66
3. การไต่สวนกรณีสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินถนนรัชดาภิเษก 5.66
4. การซื้อขายหุ้นและโอนหุ้น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 5.65
5. การไต่สวนโครงการจัดซื้อจัดจ้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 5.58
6. กรณีการจัดซื้อจัดจ้างเอกชนโดยการเคหะแห่งชาติ โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 4 5.57
7. การไต่สวนกรณีทุจริตเกี่ยวกับการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร ในราคาที่สูงเกินความเป็นจริง 5.51
8. การไต่สวนโครงการจัดซื้อต้นกล้ายางและโครงการปลูกยาง 90 ล้านต้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5.48
9. การกระทำความผิดโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัวของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 5.45
10. การเอื้อประโยชน์ธุรกิจของนักการเมืองและพวกพ้อง กรณีการแปลงค่าสัมปทานกิจการโทรคมนาคม 5.44
11. การจ้างก่อสร้างและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการกลาง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5.39
12. การให้เงินกู้แก่รัฐบาลสหภาพพม่าของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(Exim Bank) 5.34
13. การให้เงินกู้โดยมิชอบของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด แก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5.26
3. สำหรับความเชื่อมั่นต่อการทำงานที่ผ่านมาของ คตส. ซึ่งเป็นองค์กรที่มาจากการแต่งตั้งของคณะปฏิรูปการปกครองฯ (คปค.)
นั้น พบว่า
ร้อยละ 53.1 ระบุว่าเชื่อมั่น เนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถ ซื่อสัตย์และผ่านการคัดเลือกมาแล้ว
ร้อยละ 46.9 ระบุว่าไม่เชื่อมั่น เนื่องจากเป็นทีมที่แต่งตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจ อาจไม่เป็นกลางเพราะแต่งตั้งจาก คปค.
4. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ที่จะต้องสอบสวนคดีต่าง ๆ ต่อจาก
คตส. ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบเอง)
- ทำงานให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร้อยละ 27.1
- ขอให้ทำงานอย่างซื่อสัตย์ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ร้อยละ 23.3
- ขอให้มีความเป็นกลาง ยุติธรรม ร้อยละ 22.3
- ขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ร้อยละ 7.2
- ขอให้สานต่อคดีที่ คตส. ทำไว้ ร้อยละ 6.4
- อย่ายอมให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงาน ร้อยละ 6.4
- ขอให้กำลังใจให้ทำงานเพื่อประเทศชาติต่อไป ร้อยละ 3.8
- ขอให้ทำงานอย่างรอบคอบ รัดกุม ร้อยละ 2.7
- อื่น ๆ อาทิ ตั้งคณะทำงานใหม่ ร้อยละ 0.8
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. ความพึงพอใจในการทำงานที่ผ่านมาของ คตส. ในด้านต่าง ๆ
2. ความพึงพอใจต่อการดำเนินการตรวจสอบในคดีต่าง ๆ 13 คดี ของ คตส.
3. ความเชื่อมั่นที่มีต่อการทำงานของ คตส. กรณีเป็นองค์กรที่แต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครอง (คปค.)
4. สิ่งที่อยากฝากถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ดำเนินการสอบสวนคดีต่าง ๆ ต่อจาก คตส.
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 26 เขต จาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย ดินแดง บางกะปิ บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางรัก
ปทุมวัน ป้อมปราบฯ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สะพานสูง สัมพันธวงศ์ หลักสี่ ดอนเมือง ทุ่งครุ บางเขน บางพลัด ภาษีเจริญ วังทองหลาง
สวนหลวง สาทร สายไหม หนองแขม และพญาไท จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 20 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,012 คน เป็นเพศ
ชาย ร้อยละ 48.9 และเพศหญิง ร้อยละ 51.1
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา
ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25-26 มิถุนายน 2551
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 30 มิถุนายน 2551
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 495 48.9
หญิง 517 51.1
อายุ
20-30 ปี 367 36.3
31-40 ปี 302 29.8
41-50 ปี 229 22.6
51-60 ปี 86 8.5
61 ปีขึ้นไป 28 2.8
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 363 35.9
ปริญญาตรี 585 57.8
สูงกว่าปริญญาตรี 64 6.3
อาชีพ
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 144 14.2
ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 236 23.3
รับจ้างทั่วไป 128 12.6
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 306 30.3
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 67 6.6
อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 131 13.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-