แท็ก
อภิปรายไม่ไว้วางใจ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นายสมัคร สุนทรเวช
สภาผู้แทนราษฎร
นายกรัฐมนตรี
กรุงเทพโพลล์
เมื่อวันที่ 23 — 26 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี
นายสมัคร สุนทรเวช และรัฐมนตรีอีก 7 คน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง
“ประชาชนคิดอย่างไรกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,116 คน
เมื่อวันที่ 28-29 มิถุนายนที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
1. เมื่อสอบถามประชาชนถึงการติดตามรับชม/รับฟัง หรือทราบข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เมื่อวันที่ 23-26 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่า
- ติดตามการถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 13.3
- ติดตามการถ่ายทอดสดเป็นช่วงๆ ร้อยละ 51.8
- ติดตามจากข่าวที่สื่อต่างๆ นำมาเสนอ ร้อยละ 34.9
2. หลังจบการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พบว่า รัฐมนตรีที่ประชาชนไม่ไว้วางใจให้บริหารประเทศต่อไปมากที่สุด คือ
นายนพดล ปัทมะ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ
เรียงลำดับรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่ไว้วางใจจากมากไปน้อย ดังนี้
ไม่ไว้วางใจ ไว้วางใจ
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
นายนพดล ปัทมะ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ 73.1 26.9
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.กระทรวงมหาดไทย 71.1 28.9
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.กระทรวงคมนาคม 64.4 35.6
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี 62.3 37.7
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงการคลัง 59.6 40.4
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รมว.กระทรวงพาณิชย์ 59.4 40.6
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.กระทรวงยุติธรรม 58.8 41.2
3. ภายหลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลง พบว่า ประเด็นในการอภิปรายที่ยังค้างคาใจประชาชนอยู่ คือ
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
ข้อเท็จจริงกรณีปราสาทพระวิหาร ร้อยละ 43.1
การแก้ปัญหาราคาสินค้าและค่าครองชีพ ร้อยละ 19.1
การแก้ปัญหาราคาน้ำมัน ร้อยละ 8.6
โครงการเปลี่ยนรถเมล์ร้อนเป็นรถแอร์เอ็นจีวี ร้อยละ 4.8
การแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 3.8
ความสามารถในการบริหารงานของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 2.1
ไม่มีเรื่องค้างคาใจ ร้อยละ 10.7
อื่นๆ เช่น ความเกี่ยวข้องระหว่างรัฐบาลชุดปัจจุบันกับอดีต
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บริษัทศรีสุบรรณฯ
และแนวทางปฏิบัติกับกลุ่มผู้ชุมนุมฯ เป็นต้น ร้อยละ 7.8
4. เมื่อให้ประชาชนให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในการอภิปรายครั้งนี้ (จากคะแนนเต็ม
10 คะแนน) พบว่า
ประชาชนให้คะแนนฝ่ายรัฐบาลในการทำหน้าที่ชี้แจงประเด็นที่ถูกอภิปราย 4.58 คะแนน ให้คะแนนการทำหน้าที่ซักฟอกของฝ่ายค้าน
6.71 คะแนน และสมาชิกวุฒิสภา(สว.) 5.62 คะแนน
5. ผู้อภิปรายฝ่ายรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบการอภิปราย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 25.1
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.กระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 8.3
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รมว.กระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 6.9
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงการคลัง ร้อยละ 4.7
นายนพดล ปัทมะ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ ร้อยละ 2.5
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.กระทรวงยุติธรรม ร้อยละ 1.7
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.กระทรวงคมนาคม ร้อยละ 0.7
ไม่มีบุคคลที่ชื่นชอบ ร้อยละ 50.1
6. ผู้อภิปรายฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบการอภิปรายมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 39.1
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ร้อยละ 12.1
นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 3.4
อื่นๆ ร้อยละ 8.6
ไม่มีบุคคลที่ชื่นชอบ ร้อยละ 36.8
7. ผู้อภิปรายที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ที่ประชาชนชื่นชอบการอภิปรายมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
นางรสนา โตสิตระกูล ร้อยละ 5.2
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ร้อยละ 2.4
นายคำนูณ สิทธิสมาน ร้อยละ 2.2
อื่นๆ ร้อยละ 3.3
ไม่มีบุคคลที่ชื่นชอบ ร้อยละ 86.9
8. เมื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พบว่า
ประชาชนร้อยละ 46.1 เชื่อข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 20.7 เชื่อข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า และร้อยละ 33.2 ระบุว่า
ไม่เชื่อฝ่ายใดเลย
9. สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการอภิปราย พบว่า
ร้อยละ 51.7 เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่แตกต่างจากเดิม
ร้อยละ 28.9 เชื่อว่าสถานการณ์จะแย่ลง
ร้อยละ 19.4 เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
10. สิ่งที่ประชาชนต้องการให้เกิดขึ้น หลังจากการอภิปรายครั้งนี้ คือ
ปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 29.7
ให้รัฐบาลบริหารประเทศต่อไป ร้อยละ 24.2
ยุบสภา ร้อยละ 21.1
ให้นายกรัฐมนตรี ลาออก ร้อยละ 15.1
ให้พรรคประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาล ร้อยละ 7.9
อื่นๆ เช่น ให้มีการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ร้อยละ 2.0
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. การติดตามการเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
2. ความคิดเห็นต่อการไว้วางใจให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายฯ ปฏิบัติงานในหน้าที่ต่อไป
3. ประเด็นในการอภิปรายที่ยังค้างคาใจ
4. คะแนนการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา(สว.)
5. ผู้อภิปรายฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ที่ชื่นชอบมากที่สุด
6. ความเชื่อถือที่มีต่อข้อมูลที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านนำมาอภิปรายในครั้งนี้
7. ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการอภิปราย
8. สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นหลังการอภิปรายครั้งนี้
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 28 เขต จาก
50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทุ่งครุ
บางขุนเทียน บางเขน บางซื่อ บางนา บางบอน ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา
ราชเทวี ลาดพร้าว วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร หลักสี่ และห้วยขวาง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ
20 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,116 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.7 และเพศหญิง ร้อยละ 48.3
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 28-29 มิถุนายน 2551
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 1 กรกฎาคม 2551
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 577 51.7
หญิง 539 48.3
อายุ
20-30 ปี 303 27.1
31-40 ปี 286 25.6
41-50 ปี 272 24.4
51-60 ปี 183 16.4
61 ปีขึ้นไป 72 6.5
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 414 37.1
ปริญญาตรี 624 55.9
สูงกว่าปริญญาตรี 78 7.0
อาชีพ
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 124 11.1
ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 279 25.0
รับจ้างทั่วไป 156 14.0
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 331 29.7
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 112 10.0
อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 114 10.2
รวม 1,116 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
นายสมัคร สุนทรเวช และรัฐมนตรีอีก 7 คน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง
“ประชาชนคิดอย่างไรกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,116 คน
เมื่อวันที่ 28-29 มิถุนายนที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
1. เมื่อสอบถามประชาชนถึงการติดตามรับชม/รับฟัง หรือทราบข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เมื่อวันที่ 23-26 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่า
- ติดตามการถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 13.3
- ติดตามการถ่ายทอดสดเป็นช่วงๆ ร้อยละ 51.8
- ติดตามจากข่าวที่สื่อต่างๆ นำมาเสนอ ร้อยละ 34.9
2. หลังจบการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พบว่า รัฐมนตรีที่ประชาชนไม่ไว้วางใจให้บริหารประเทศต่อไปมากที่สุด คือ
นายนพดล ปัทมะ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ
เรียงลำดับรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่ไว้วางใจจากมากไปน้อย ดังนี้
ไม่ไว้วางใจ ไว้วางใจ
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
นายนพดล ปัทมะ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ 73.1 26.9
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.กระทรวงมหาดไทย 71.1 28.9
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.กระทรวงคมนาคม 64.4 35.6
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี 62.3 37.7
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงการคลัง 59.6 40.4
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รมว.กระทรวงพาณิชย์ 59.4 40.6
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.กระทรวงยุติธรรม 58.8 41.2
3. ภายหลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลง พบว่า ประเด็นในการอภิปรายที่ยังค้างคาใจประชาชนอยู่ คือ
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
ข้อเท็จจริงกรณีปราสาทพระวิหาร ร้อยละ 43.1
การแก้ปัญหาราคาสินค้าและค่าครองชีพ ร้อยละ 19.1
การแก้ปัญหาราคาน้ำมัน ร้อยละ 8.6
โครงการเปลี่ยนรถเมล์ร้อนเป็นรถแอร์เอ็นจีวี ร้อยละ 4.8
การแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 3.8
ความสามารถในการบริหารงานของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 2.1
ไม่มีเรื่องค้างคาใจ ร้อยละ 10.7
อื่นๆ เช่น ความเกี่ยวข้องระหว่างรัฐบาลชุดปัจจุบันกับอดีต
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บริษัทศรีสุบรรณฯ
และแนวทางปฏิบัติกับกลุ่มผู้ชุมนุมฯ เป็นต้น ร้อยละ 7.8
4. เมื่อให้ประชาชนให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในการอภิปรายครั้งนี้ (จากคะแนนเต็ม
10 คะแนน) พบว่า
ประชาชนให้คะแนนฝ่ายรัฐบาลในการทำหน้าที่ชี้แจงประเด็นที่ถูกอภิปราย 4.58 คะแนน ให้คะแนนการทำหน้าที่ซักฟอกของฝ่ายค้าน
6.71 คะแนน และสมาชิกวุฒิสภา(สว.) 5.62 คะแนน
5. ผู้อภิปรายฝ่ายรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบการอภิปราย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 25.1
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.กระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 8.3
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รมว.กระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 6.9
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงการคลัง ร้อยละ 4.7
นายนพดล ปัทมะ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ ร้อยละ 2.5
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.กระทรวงยุติธรรม ร้อยละ 1.7
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.กระทรวงคมนาคม ร้อยละ 0.7
ไม่มีบุคคลที่ชื่นชอบ ร้อยละ 50.1
6. ผู้อภิปรายฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบการอภิปรายมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 39.1
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ร้อยละ 12.1
นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 3.4
อื่นๆ ร้อยละ 8.6
ไม่มีบุคคลที่ชื่นชอบ ร้อยละ 36.8
7. ผู้อภิปรายที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ที่ประชาชนชื่นชอบการอภิปรายมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
นางรสนา โตสิตระกูล ร้อยละ 5.2
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ร้อยละ 2.4
นายคำนูณ สิทธิสมาน ร้อยละ 2.2
อื่นๆ ร้อยละ 3.3
ไม่มีบุคคลที่ชื่นชอบ ร้อยละ 86.9
8. เมื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พบว่า
ประชาชนร้อยละ 46.1 เชื่อข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 20.7 เชื่อข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า และร้อยละ 33.2 ระบุว่า
ไม่เชื่อฝ่ายใดเลย
9. สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการอภิปราย พบว่า
ร้อยละ 51.7 เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่แตกต่างจากเดิม
ร้อยละ 28.9 เชื่อว่าสถานการณ์จะแย่ลง
ร้อยละ 19.4 เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
10. สิ่งที่ประชาชนต้องการให้เกิดขึ้น หลังจากการอภิปรายครั้งนี้ คือ
ปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 29.7
ให้รัฐบาลบริหารประเทศต่อไป ร้อยละ 24.2
ยุบสภา ร้อยละ 21.1
ให้นายกรัฐมนตรี ลาออก ร้อยละ 15.1
ให้พรรคประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาล ร้อยละ 7.9
อื่นๆ เช่น ให้มีการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ร้อยละ 2.0
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. การติดตามการเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
2. ความคิดเห็นต่อการไว้วางใจให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายฯ ปฏิบัติงานในหน้าที่ต่อไป
3. ประเด็นในการอภิปรายที่ยังค้างคาใจ
4. คะแนนการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา(สว.)
5. ผู้อภิปรายฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ที่ชื่นชอบมากที่สุด
6. ความเชื่อถือที่มีต่อข้อมูลที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านนำมาอภิปรายในครั้งนี้
7. ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการอภิปราย
8. สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นหลังการอภิปรายครั้งนี้
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 28 เขต จาก
50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทุ่งครุ
บางขุนเทียน บางเขน บางซื่อ บางนา บางบอน ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา
ราชเทวี ลาดพร้าว วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร หลักสี่ และห้วยขวาง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ
20 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,116 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.7 และเพศหญิง ร้อยละ 48.3
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 28-29 มิถุนายน 2551
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 1 กรกฎาคม 2551
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 577 51.7
หญิง 539 48.3
อายุ
20-30 ปี 303 27.1
31-40 ปี 286 25.6
41-50 ปี 272 24.4
51-60 ปี 183 16.4
61 ปีขึ้นไป 72 6.5
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 414 37.1
ปริญญาตรี 624 55.9
สูงกว่าปริญญาตรี 78 7.0
อาชีพ
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 124 11.1
ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 279 25.0
รับจ้างทั่วไป 156 14.0
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 331 29.7
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 112 10.0
อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 114 10.2
รวม 1,116 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-