แนวคิดและที่มาของการสำรวจ
ในช่วงระยะที่ผ่านมาจะพบว่าข่าวคราวของเยาวชนไทยที่ปรากฏตามสื่อต่างๆมักเป็นข่าวด้านลบมากขึ้น
เรื่อยๆทั้งในเรื่องพฤติกรรมทางเพศ ปัญหายาเสพติด การมีค่านิยมฟุ้งเฟ้อยึดติดวัตถุ และพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
โดยอายุของเยาวชนผู้ตกเป็นข่าวก็นับวันจะยิ่งน้อยลงทุกที ซึ่งนอกเหนือจากสภาพสังคมที่มีผลต่อความคิดและพฤติกรรม
ของเยาวชนแล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าครอบครัวเป็นสถาบันหลักที่สำคัญที่สุดในการหล่อหลอมและขัดเกลาความเป็น
มนุษย์ผู้รู้ผิดชอบชั่วดีให้กับเยาวชนเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม แบบแผนการดำเนินชีวิตของครอบครัวไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากตามกระ
แสโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เป็นผลให้สัมพันธภาพภายในครอบครัวเสื่อมถอยลง พ่อ แม่ ลูก ไม่ได้
มีโอกาสทำตามบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ การอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมถูกผลักให้เป็นภาระของสถาบันอื่น
ในสังคม ส่งผลให้เยาวชนไทยเติบโตขึ้นอย่างไร้รากและไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้อย่างที่ควรจะเป็น
เนื่องในโอกาสวันครอบครัว (วันที่ 14 เมษายน) ที่จะถึงนี้ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 6-22 ปี ซึ่ง
เป็นวัยที่ควรจะได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างใกล้ชิดจากครอบครัว ทั้งนี้ เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาของครอบ
ครัวไทยในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองใหญ่ในแต่ละภาคของประเทศ การตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหา
เยาวชนไทยในปัจจุบันของผู้ที่เป็นพ่อแม่ ความเชื่อมั่นต่อแนวทางการแก้ปัญหาของเยาวชนไทยโดยการปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรมผ่านระบบครอบครัว บทบาทหน้าที่ วิธีการ และการให้เวลาในการอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่
เยาวชน รวมถึงปัญหาอุปสรรคที่พบ เพื่อสะท้อนมุมมองของผู้ที่เป็นพ่อแม่ให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยว
ข้องสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางดำเนินงานเพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการบ่ม
เพาะเยาวชนที่ดีออกสู่สังคมต่อไป
วัตถุประสงค์ในการการสำรวจเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับ
- ปัญหาสำคัญที่ครอบครัวไทยโดยเฉพาะในเมืองใหญ่กำลังประสบอยู่
- ปัญหาที่น่าเป็นห่วงของเยาวชนไทยในสายตาพ่อแม่
- ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาโดยการอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมผ่านระบบครอบครัว
- บทบาทหน้าที่ การให้เวลา และวิธีการที่ใช้ในการอบรมสั่งสอนลูกของพ่อแม่ในปัจจุบัน
- ปัญหาอุปสรรคในการอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับลูก
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างพ่อแม่ที่มีลูกอายุระหว่าง 6-22 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัด
หัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาค ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา และชลบุรี ตามสัดส่วนจำนวนครัวเรือนในแต่ละ
จังหวัด ได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,533 คน เป็นชายร้อยละ 44.1 หญิงร้อยละ 55.9
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ ต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 10.7
อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 39.4
อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 38.5
และอายุมากกว่า 50 ปี ร้อยละ 11.4
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาระดับ ประถมศึกษา ร้อยละ 21.4
มัธยมศึกษา/ปวช. ร้อยละ 25.7
ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 18.8
ปริญญาตรี ร้อยละ 29.7
และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 4.4
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพ รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 26.7
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 28.0
รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 13.9
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชน ร้อยละ 16.6
พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 10.9
เกษตรกร ร้อยละ 3.0
และอื่นๆ อีกร้อยละ 0.9
ความคลาดเคลื่อน
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ จากนั้นนำแบบ
สอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลก่อนนำไปลงรหัสป้อนข้อมูลและประมวลผลต่อไป
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16-19 มีนาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 เมษายน 2548
ผลการสำรวจ
1. ปริมาณครอบครัวที่ระบุว่ามีปัญหาอยู่ในปัจจุบันมีถึงร้อยละ 79.8 หรือประมาณ 4 ใน 5 โดยครอบ
ครัวที่ระบุว่าไม่มีปัญหามีเพียงร้อยละ 20.2 หรือ1 ใน 5 เท่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่า จังหวัดที่ระบุว่ามีปัญหาครอบครัวมากที่สุด ได้แก่
เชียงใหม่ (ร้อยละ 87.7)) รองลงมา คือ นครราชสีมา (ร้อยละ 82.7) กรุงเทพฯ (ร้อยละ 79.7)
ชลบุรี (ร้อยละ 76.8) ส่วนสงขลาเป็นจังหวัดซึ่งมีปัญหาครอบครัวน้อยที่สุด (ร้อยละ 66.7)
2. ปัญหาสำคัญที่ครอบครัวประสบอยู่ในปัจจุบัน อันดับแรกได้แก่ ปัญหาการเงิน (ร้อยละ 33.0)
รองลงมาได้แก่ ปัญหาการไม่มีเวลาให้กัน (ร้อยละ 17.5) ปัญหาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว (ร้อยละ 10.0)
ปัญหาเรื่องความประพฤติของลูก (ร้อยละ 8.2) ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย (ร้อยละ 5.9) และปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ
5.2) ขณะที่ร้อยละ 20.2 ระบุว่าไม่มีปัญหาครอบครัว
ในส่วนของปัญหาหลักๆ ที่ครอบครัวประสบอยู่นั้นจะพบว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันจนแทบจะเรียก
ได้ว่าเป็นปัญหาเดียวกัน เพียงแต่แสดงผลออกมาต่างกันตามระยะเวลาของการสั่งสมปัญหาเท่านั้น กล่าวคือเมื่อครอบ
ครัวประสบปัญหาด้านการเงินก็จำเป็นที่พ่อแม่จะต้องดิ้นรนทำงานเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวให้มากขึ้น ทำให้เกิด
ปัญหาไม่มีเวลาให้กันตามมาอันส่งผลมาถึงปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว และปัญหาความประพฤติของลูกในที่สุด
3. สำหรับปัญหาที่น่าเป็นห่วงของเยาวชนไทยในปัจจุบันในสายตาพ่อแม่ ได้แก่ ปัญหายาเสพติด (ร้อย
ละ 35.8) รองลงมาได้แก่ ปัญหาพฤติกรรมทางเพศ (ร้อยละ 23.2) ปัญหาเรื่องความประพฤติ เช่น
เที่ยวกลางคืน การแต่งกาย ใช้จ่ายเกินตัว และพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง (ร้อยละ 23.1) ปัญหาติดเกม การ
พนัน และภัยทางอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 13.7) และปัญหาเรื่องการเรียน (ร้อยละ 4.2)
จะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่องการเรียนซึ่งน่าจะเป็นเรื่องหลักของเยาวชน และเป็นปัญหาใหญ่ที่พ่อแม่ยุคก่อน
เคยเป็นห่วงลูกกลับกลายเป็นปัญหาอันดับสุดท้ายที่พ่อแม่ในปัจจุบันเป็นห่วงกังวล แต่หันไปเป็นห่วงในปัญหาอันเกี่ยวเนื่อง
มาจากสภาพสังคมแวดล้อมมากกว่า
4. เมื่อถามว่าการอบรมสั่งสอนเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมจากครอบครัวจะช่วยแก้ปัญหาของเยาวชน
ไทยได้หรือไม่ พบว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่ คือร้อยละ 93.5 เชื่อว่าการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวจะช่วยแก้ปัญหาของ
เยาวชนได้ มีเพียงร้อยละ 6.5 ที่ไม่เชื่อเช่นนั้นโดยให้เหตุผลว่า ลูกเชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ (ร้อยละ 3.6)
ปัจจุบันมีสิ่งล่อใจให้เยาวชนหลงผิดอยู่มากและมีอิทธิพลมากกว่าคำสั่งสอนของพ่อแม่ (ร้อยละ 1.9) พ่อแม่ในปัจจุบัน
ไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับลูกจึงไม่สามารถอบรมสั่งสอนได้ (ร้อยละ 0.7) และการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวอย่างเดียว
แก้ปัญหาเยาวชนไม่ได้ต้องให้หน่วยอื่นในสังคมร่วมมือด้วย เช่น โรงเรียน และสื่อต่างๆ (ร้อยละ 0.3)
5. สำหรับคำถามที่ว่า ทุกวันนี้การอบรมสั่งสอนลูกเป็นหน้าที่ของใครในครอบครัว ร้อยละ 89.1 ระบุ
ว่าเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ร้อยละ 6.4 เป็นหน้าที่ของญาติผู้ใหญ่ ร้อยละ 4.0 เป็นหน้าที่ของทุกคนในครอบครัว
และร้อยละ 0.3 ระบุว่าเป็นหน้าที่ของบุคคลอื่น ได้แก่ พี่เลี้ยง และครู/อาจารย์
6. วิธีที่ใช้ในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับลูก อันดับแรก ใช้การพูดอบรมสั่งสอน (ร้อยละ
49.6) รองลงมา ใช้การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี (ร้อยละ 36.8) ใช้การให้รางวัล/ การลงโทษ (ร้อยละ
6.6) ให้ดูบุคคลอื่นเป็นตัวอย่าง (ร้อยละ 6.2) และใช้วิธีการอื่น เช่น ใช้หลักศาสนา พาเข้าวัด (อีกร้อยละ
0.8)
7. วิธีการลงโทษเมื่อลูกทำความผิด ส่วนใหญ่ลงโทษโดยการว่ากล่าวตักเตือน (ร้อยละ 77.6)
รองลงมาใช้การตี ร้อยละ (9.7) ตัดเงินค่าใช้จ่ายและค่าขนม (ร้อยละ 5.0) ไม่พูดด้วย (ร้อยละ 4.5) ไม่
ลงโทษ (ร้อยละ 2.6) และใช้วิธีให้ทำคุณไถ่โทษ (ร้อยละ 0.6)
8. วิธีการให้รางวัลเมื่อลูกทำความดี ส่วนใหญ่ให้คำชมเชย (ร้อยละ 52.1) รองลงมาให้รางวัล
เป็นสิ่งของ (ร้อยละ 15.7) พาไปเที่ยว (ร้อยละ 14.8) ให้เงิน (ร้อยละ 6.5) ให้ลูกเลือกเองว่าอยาก
ได้อะไร (ร้อยละ 5.5) และไม่ให้รางวัล (ร้อยละ 5.4)
9. เมื่อถามว่าทุกวันนี้พ่อแม่มีเวลาได้อบรมสั่งสอนลูกมากน้อยเพียงใด ปรากฎว่า พ่อแม่ ร้อยละ
75.5 หรือประมาณ 3 ใน 4 ระบุว่ามีเวลาได้อบรมสั่งสอนลูกค่อนข้างน้อยถึงน้อย มีเพียงร้อยละ 24.5 หรือ
ประมาณ 1 ใน 4 ที่ระบุว่ามีเวลาได้อบรมสั่งสอนลูกค่อนข้างมากถึงมาก
10. อุปสรรคสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับลูก อันดับแรก คือพ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่กับลูก
(ร้อยละ 35.3) รองลงมาคือ ลูกเชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ (ร้อยละ24.9) สื่อสร้างค่านิยมที่ขัดแย้งกับคำสอน
ของพ่อแม่ (ร้อยละ 23.3) ไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในครอบครัว (ร้อยละ 5.5) พ่อแม่ไม่สามารถปฏิบัติตัว
เป็นแบบอย่างที่ดีได้ (ร้อยละ 4.2) และพ่อกับแม่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันในการอบรมสั่งสอนลูก (ร้อยละ
3.5) ในขณะที่ ร้อยละ 3.3 ระบุว่าไม่มีอุปสรรคใดๆ
บทสรุปและวิเคราะห์
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย
หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์
ผลการสำรวจสรุปได้ว่าพ่อแม่ในปัจจุบันยังคงเชื่อมั่นว่าการอบรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมจากครอบ
ครัวจะช่วยแก้ปัญหาของเยาวชนไทยได้ แต่อุปสรรคสำคัญคือการที่พ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่กับลูกทำให้ลูกหันไปเชื่อเพื่อน
มากกว่า นอกจากนี้สื่อยังสร้างค่านิยมที่ขัดแย้งกับคำสอนของพ่อแม่ ดังนั้น แนวทางในการส่งเสริมให้ครอบครัวมีโอกาส
ได้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในการบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนจึงควรมีการดำเนินการใน 3 ส่วน ดังนี้
1. ควรมีการรณรงค์สร้างทัศนคติที่เหมาะสมแก่พ่อแม่ โดยชี้ให้เห็นว่าวัตถุเงินทองไม่ใช่องค์ประกอบ
สำคัญที่สุดที่จะทำให้ครอบครัวมีความสุข ดังนั้นแทนที่จะจะมุ่งหน้าหาเงินเพื่อสร้างฐานะอย่างเดียว ควรจะต้องรู้จัก
สร้างสมดุลให้กับชีวิตโดยการประหยัดและใช้เงินให้เป็นด้วยเพื่อจะได้มีเวลาอยู่กับครอบครัวให้มากขึ้น
2. ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่ลูกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ใน
ปัจจุบันที่พ่อแม่ลูกมีเวลาอยู่ด้วยกันไม่มากนัก โดยเน้นวิธีการที่ลูกสามารถซึมซับได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันตลอด
เวลาให้มากขึ้น อาทิ การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี หรือการลงโทษเมื่อลูกทำความผิดด้วยวิธีการให้ทำคุณไถ่โทษซึ่ง
มีผลต่อเนื่องเกี่ยวพันดีกว่าการพูดอบรมสั่งสอนแต่เพียงอย่างเดียวที่บรรดาลูกๆ ทั้งหลายอาจมองว่าเป็นเพียงการบ่นที่
น่ารำคาญและไม่สนใจที่จะฟัง
3. ควรมีการปฏิรูปสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อที่นับได้ว่าใกล้ชิดกับเยาวชนมากที่สุด โดย
พ่อแม่ควรมีสื่อเป็นพวกไม่ใช่เป็นฝ่ายตรงข้ามหรือศัตรูในบ้านที่คอยให้ข้อมูลและสร้างค่านิยมที่ขัดแย้งกับคำสอนของพ่อแม่
อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 676 44.1
หญิง 857 55.9
อายุ :
ต่ำกว่า 30 ปี 164 10.7
31-40 ปี 604 39.4
41-50ปี 591 38.5
มากกว่า 50ปี 174 11.4
การศึกษา :
ประถมศึกษา 328 21.4
มัธยมศึกษา/ปวช. 394 25.7
ปวส./อนุปริญญา 288 18.8
ปริญญาตรี 455 29.7
สูงกว่าปริญญาตรี 68 4.4
อาชีพ :
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 409 26.7
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 429 28.0
รับจ้างทั่วไป 213 13.9
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 255 16.6
พ่อบ้าน/แม่บ้าน 167 10.9
เกษตรกร 46 3.0
อื่นๆ 14 0.9
ตารางที่ 2 : ปริมาณครอบครัวที่ระบุว่ามีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน
จำนวน ร้อยละ
มีปัญหา 1,224 79.8
ไม่มีปัญหา 309 20.2
รวม 1,533 100
ตารางที่ 2.1 : เปรียบเทียบปริมาณครอบครัวที่มีปัญหาในแต่ละจังหวัด
จำนวน ร้อยละ
เชียงใหม่ 184 87.7
นครราชสีมา 220 82.7
กรุงเทพฯ 596 79.7
ชลบุรี 136 76.8
สงขลา 88 66.7
เฉลี่ยรวม 1,224 79.8
ตารางที่ 3 : ปัญหาสำคัญที่ครอบครัวประสบอยู่
จำนวน ร้อยละ
ปัญหาการเงิน 506 33.0
ปัญหาการไม่มีเวลาให้กัน 269 17.5
ปัญหาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 153 10.0
ปัญหาเรื่องความประพฤติของลูก 126 8.2
ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย 91 5.9
ปัญหาสุขภาพ 79 5.2
ไม่มีปัญหา 309 20.2
รวม 1,533 100
ตารางที่ 4 : ปัญหาที่น่าเป็นห่วงของเยาวชนไทยในปัจจุบันในสายตาพ่อแม่
จำนวน ร้อยละ
- ปัญหายาเสพติด 549 35.8
- ปัญหาพฤติกรรมทางเพศ 356 23.2
- ปัญหาเรื่องความประพฤติ เช่น เที่ยวกลางคืน
การแต่งกาย ใช้จ่ายเกินตัว และพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง 354 23.1
- ปัญหาติดเกม การพนัน และภัยทางอินเทอร์เน็ต 210 13.7
- ปัญหาด้านการเรียน 64 4.2
- รวม 1,533 100
ตารางที่ 5 : ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาของเยาวชนโดยการอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม
ผ่านระบบครอบครัว
จำนวน ร้อยละ
- เชื่อว่าการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวจะช่วยแก้ปัญหาของเยาวชนไทยได้ 1,433 93.5
- ไม่เชื่อว่าการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวจะช่วยแก้ปัญหาของเยาวชนไทยได้ 100 6.5
เนื่องจาก จำนวน ร้อยละ
- ลูกเชื่อคนอื่นมากกว่าพ่อแม่ 56 3.6
- ปัจจุบันมีสิ่งล่อใจให้เยาวชนหลงผิดอยู่มาก
และมีอิทธิพลมากกว่าคำสั่งสอนของพ่อแม่ 28 1.9
- พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับลูก 11 0.7
- การอบรมสั่งสอนจากครอบครัวอย่างเดียว
แก้ปัญหาเยาวชนไม่ได้ต้องให้หน่วยอื่น
ในสังคมร่วมมือด้วย เช่น โรงเรียน และสื่อ 5 0.3
- รวม 1,533 100
ตารางที่ 6 : ทุกวันนี้การอบรมสั่งสอนลูกเป็นหน้าที่ของใครในครอบครัว
จำนวน ร้อยละ
พ่อ แม่ 1,367 89.1
ญาติผู้ใหญ่ 98 6.4
ทุกคนในครอบครัว 61 4.0
พี่เลี้ยง 7 0.5
รวม 1,533 100
ตารางที่ 7 : วิธีที่ใช้ในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับลูก
จำนวน ร้อยละ
ใช้การพูดอบรมสั่งสอน 760 49.6
ใช้การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 565 36.8
ใช้การให้รางวัล/การลงโทษ 101 6.6
ให้ดูบุคคลอื่นเป็นตัวอย่าง 95 6.2
อื่นๆ เช่นใช้หลักศาสนา พาเข้าวัด 12 0.8
รวม 1,533 100
ตารางที่ 8 : วิธีการลงโทษเมื่อลูกทำความผิด
จำนวน ร้อยละ
ว่ากล่าวตักเตือน 1,190 77.6
ตี 149 9.7
ตัดเงินค่าใช้จ่าย ค่าขนม 77 5.0
ไม่พูดด้วย 69 4.5
ไม่ลงโทษ 38 2.6
ให้ทำคุณไถ่โทษ 10 0.6
รวม 1,533 100
ตารางที่ 9 : วิธีการให้รางวัลเมื่อลูกทำความดี
จำนวน ร้อยละ
ให้คำชมเชย 798 52.1
ให้เงินและสิ่งของ 340 22.2
พาไปเที่ยว 226 14.8
ให้ลูกเลือกเองว่าอยากได้อะไร 86 5.5
ไม่ให้รางวัล 83 5.4
รวม 1,533 100
ตารางที่ 10 : ทุกวันนี้พ่อแม่มีเวลาได้อบรมสั่งสอนลูกมากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
มีเวลาได้อบรมสั่งสอนค่อนข้างมากถึงมาก 376 24.5
มีเวลาได้อบรมสั่งสอนค่อนข้างน้อยถึงน้อย 1,157 75.5
รวม 1,533 100
ตารางที่ 11 : อุปสรรคสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับลูก
จำนวน ร้อยละ
พ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่กับลูก 539 35.3
ลูกเชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ 382 24.9
สื่อสร้างค่านิยมที่ขัดแย้งกับคำสอนของพ่อแม่ 357 23.3
ไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในครอบครัว 85 5.5
พ่อแม่ไม่สามารถปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีได้ 65 4.2
พ่อกับแม่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันในการอบรมสั่งสอนลูก 54 3.5
ไม่มีอุปสรรค 51 3.3
รวม 1,533 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
ในช่วงระยะที่ผ่านมาจะพบว่าข่าวคราวของเยาวชนไทยที่ปรากฏตามสื่อต่างๆมักเป็นข่าวด้านลบมากขึ้น
เรื่อยๆทั้งในเรื่องพฤติกรรมทางเพศ ปัญหายาเสพติด การมีค่านิยมฟุ้งเฟ้อยึดติดวัตถุ และพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
โดยอายุของเยาวชนผู้ตกเป็นข่าวก็นับวันจะยิ่งน้อยลงทุกที ซึ่งนอกเหนือจากสภาพสังคมที่มีผลต่อความคิดและพฤติกรรม
ของเยาวชนแล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าครอบครัวเป็นสถาบันหลักที่สำคัญที่สุดในการหล่อหลอมและขัดเกลาความเป็น
มนุษย์ผู้รู้ผิดชอบชั่วดีให้กับเยาวชนเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม แบบแผนการดำเนินชีวิตของครอบครัวไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากตามกระ
แสโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เป็นผลให้สัมพันธภาพภายในครอบครัวเสื่อมถอยลง พ่อ แม่ ลูก ไม่ได้
มีโอกาสทำตามบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ การอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมถูกผลักให้เป็นภาระของสถาบันอื่น
ในสังคม ส่งผลให้เยาวชนไทยเติบโตขึ้นอย่างไร้รากและไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้อย่างที่ควรจะเป็น
เนื่องในโอกาสวันครอบครัว (วันที่ 14 เมษายน) ที่จะถึงนี้ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 6-22 ปี ซึ่ง
เป็นวัยที่ควรจะได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างใกล้ชิดจากครอบครัว ทั้งนี้ เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาของครอบ
ครัวไทยในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองใหญ่ในแต่ละภาคของประเทศ การตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหา
เยาวชนไทยในปัจจุบันของผู้ที่เป็นพ่อแม่ ความเชื่อมั่นต่อแนวทางการแก้ปัญหาของเยาวชนไทยโดยการปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรมผ่านระบบครอบครัว บทบาทหน้าที่ วิธีการ และการให้เวลาในการอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่
เยาวชน รวมถึงปัญหาอุปสรรคที่พบ เพื่อสะท้อนมุมมองของผู้ที่เป็นพ่อแม่ให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยว
ข้องสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางดำเนินงานเพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการบ่ม
เพาะเยาวชนที่ดีออกสู่สังคมต่อไป
วัตถุประสงค์ในการการสำรวจเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับ
- ปัญหาสำคัญที่ครอบครัวไทยโดยเฉพาะในเมืองใหญ่กำลังประสบอยู่
- ปัญหาที่น่าเป็นห่วงของเยาวชนไทยในสายตาพ่อแม่
- ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาโดยการอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมผ่านระบบครอบครัว
- บทบาทหน้าที่ การให้เวลา และวิธีการที่ใช้ในการอบรมสั่งสอนลูกของพ่อแม่ในปัจจุบัน
- ปัญหาอุปสรรคในการอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับลูก
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างพ่อแม่ที่มีลูกอายุระหว่าง 6-22 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัด
หัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาค ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา สงขลา และชลบุรี ตามสัดส่วนจำนวนครัวเรือนในแต่ละ
จังหวัด ได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,533 คน เป็นชายร้อยละ 44.1 หญิงร้อยละ 55.9
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ ต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 10.7
อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 39.4
อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 38.5
และอายุมากกว่า 50 ปี ร้อยละ 11.4
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาระดับ ประถมศึกษา ร้อยละ 21.4
มัธยมศึกษา/ปวช. ร้อยละ 25.7
ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 18.8
ปริญญาตรี ร้อยละ 29.7
และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 4.4
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพ รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 26.7
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 28.0
รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 13.9
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชน ร้อยละ 16.6
พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 10.9
เกษตรกร ร้อยละ 3.0
และอื่นๆ อีกร้อยละ 0.9
ความคลาดเคลื่อน
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ จากนั้นนำแบบ
สอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลก่อนนำไปลงรหัสป้อนข้อมูลและประมวลผลต่อไป
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16-19 มีนาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 เมษายน 2548
ผลการสำรวจ
1. ปริมาณครอบครัวที่ระบุว่ามีปัญหาอยู่ในปัจจุบันมีถึงร้อยละ 79.8 หรือประมาณ 4 ใน 5 โดยครอบ
ครัวที่ระบุว่าไม่มีปัญหามีเพียงร้อยละ 20.2 หรือ1 ใน 5 เท่านั้น
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่า จังหวัดที่ระบุว่ามีปัญหาครอบครัวมากที่สุด ได้แก่
เชียงใหม่ (ร้อยละ 87.7)) รองลงมา คือ นครราชสีมา (ร้อยละ 82.7) กรุงเทพฯ (ร้อยละ 79.7)
ชลบุรี (ร้อยละ 76.8) ส่วนสงขลาเป็นจังหวัดซึ่งมีปัญหาครอบครัวน้อยที่สุด (ร้อยละ 66.7)
2. ปัญหาสำคัญที่ครอบครัวประสบอยู่ในปัจจุบัน อันดับแรกได้แก่ ปัญหาการเงิน (ร้อยละ 33.0)
รองลงมาได้แก่ ปัญหาการไม่มีเวลาให้กัน (ร้อยละ 17.5) ปัญหาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว (ร้อยละ 10.0)
ปัญหาเรื่องความประพฤติของลูก (ร้อยละ 8.2) ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย (ร้อยละ 5.9) และปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ
5.2) ขณะที่ร้อยละ 20.2 ระบุว่าไม่มีปัญหาครอบครัว
ในส่วนของปัญหาหลักๆ ที่ครอบครัวประสบอยู่นั้นจะพบว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันจนแทบจะเรียก
ได้ว่าเป็นปัญหาเดียวกัน เพียงแต่แสดงผลออกมาต่างกันตามระยะเวลาของการสั่งสมปัญหาเท่านั้น กล่าวคือเมื่อครอบ
ครัวประสบปัญหาด้านการเงินก็จำเป็นที่พ่อแม่จะต้องดิ้นรนทำงานเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวให้มากขึ้น ทำให้เกิด
ปัญหาไม่มีเวลาให้กันตามมาอันส่งผลมาถึงปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว และปัญหาความประพฤติของลูกในที่สุด
3. สำหรับปัญหาที่น่าเป็นห่วงของเยาวชนไทยในปัจจุบันในสายตาพ่อแม่ ได้แก่ ปัญหายาเสพติด (ร้อย
ละ 35.8) รองลงมาได้แก่ ปัญหาพฤติกรรมทางเพศ (ร้อยละ 23.2) ปัญหาเรื่องความประพฤติ เช่น
เที่ยวกลางคืน การแต่งกาย ใช้จ่ายเกินตัว และพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง (ร้อยละ 23.1) ปัญหาติดเกม การ
พนัน และภัยทางอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 13.7) และปัญหาเรื่องการเรียน (ร้อยละ 4.2)
จะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่องการเรียนซึ่งน่าจะเป็นเรื่องหลักของเยาวชน และเป็นปัญหาใหญ่ที่พ่อแม่ยุคก่อน
เคยเป็นห่วงลูกกลับกลายเป็นปัญหาอันดับสุดท้ายที่พ่อแม่ในปัจจุบันเป็นห่วงกังวล แต่หันไปเป็นห่วงในปัญหาอันเกี่ยวเนื่อง
มาจากสภาพสังคมแวดล้อมมากกว่า
4. เมื่อถามว่าการอบรมสั่งสอนเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมจากครอบครัวจะช่วยแก้ปัญหาของเยาวชน
ไทยได้หรือไม่ พบว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่ คือร้อยละ 93.5 เชื่อว่าการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวจะช่วยแก้ปัญหาของ
เยาวชนได้ มีเพียงร้อยละ 6.5 ที่ไม่เชื่อเช่นนั้นโดยให้เหตุผลว่า ลูกเชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ (ร้อยละ 3.6)
ปัจจุบันมีสิ่งล่อใจให้เยาวชนหลงผิดอยู่มากและมีอิทธิพลมากกว่าคำสั่งสอนของพ่อแม่ (ร้อยละ 1.9) พ่อแม่ในปัจจุบัน
ไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับลูกจึงไม่สามารถอบรมสั่งสอนได้ (ร้อยละ 0.7) และการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวอย่างเดียว
แก้ปัญหาเยาวชนไม่ได้ต้องให้หน่วยอื่นในสังคมร่วมมือด้วย เช่น โรงเรียน และสื่อต่างๆ (ร้อยละ 0.3)
5. สำหรับคำถามที่ว่า ทุกวันนี้การอบรมสั่งสอนลูกเป็นหน้าที่ของใครในครอบครัว ร้อยละ 89.1 ระบุ
ว่าเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ร้อยละ 6.4 เป็นหน้าที่ของญาติผู้ใหญ่ ร้อยละ 4.0 เป็นหน้าที่ของทุกคนในครอบครัว
และร้อยละ 0.3 ระบุว่าเป็นหน้าที่ของบุคคลอื่น ได้แก่ พี่เลี้ยง และครู/อาจารย์
6. วิธีที่ใช้ในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับลูก อันดับแรก ใช้การพูดอบรมสั่งสอน (ร้อยละ
49.6) รองลงมา ใช้การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี (ร้อยละ 36.8) ใช้การให้รางวัล/ การลงโทษ (ร้อยละ
6.6) ให้ดูบุคคลอื่นเป็นตัวอย่าง (ร้อยละ 6.2) และใช้วิธีการอื่น เช่น ใช้หลักศาสนา พาเข้าวัด (อีกร้อยละ
0.8)
7. วิธีการลงโทษเมื่อลูกทำความผิด ส่วนใหญ่ลงโทษโดยการว่ากล่าวตักเตือน (ร้อยละ 77.6)
รองลงมาใช้การตี ร้อยละ (9.7) ตัดเงินค่าใช้จ่ายและค่าขนม (ร้อยละ 5.0) ไม่พูดด้วย (ร้อยละ 4.5) ไม่
ลงโทษ (ร้อยละ 2.6) และใช้วิธีให้ทำคุณไถ่โทษ (ร้อยละ 0.6)
8. วิธีการให้รางวัลเมื่อลูกทำความดี ส่วนใหญ่ให้คำชมเชย (ร้อยละ 52.1) รองลงมาให้รางวัล
เป็นสิ่งของ (ร้อยละ 15.7) พาไปเที่ยว (ร้อยละ 14.8) ให้เงิน (ร้อยละ 6.5) ให้ลูกเลือกเองว่าอยาก
ได้อะไร (ร้อยละ 5.5) และไม่ให้รางวัล (ร้อยละ 5.4)
9. เมื่อถามว่าทุกวันนี้พ่อแม่มีเวลาได้อบรมสั่งสอนลูกมากน้อยเพียงใด ปรากฎว่า พ่อแม่ ร้อยละ
75.5 หรือประมาณ 3 ใน 4 ระบุว่ามีเวลาได้อบรมสั่งสอนลูกค่อนข้างน้อยถึงน้อย มีเพียงร้อยละ 24.5 หรือ
ประมาณ 1 ใน 4 ที่ระบุว่ามีเวลาได้อบรมสั่งสอนลูกค่อนข้างมากถึงมาก
10. อุปสรรคสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับลูก อันดับแรก คือพ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่กับลูก
(ร้อยละ 35.3) รองลงมาคือ ลูกเชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ (ร้อยละ24.9) สื่อสร้างค่านิยมที่ขัดแย้งกับคำสอน
ของพ่อแม่ (ร้อยละ 23.3) ไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในครอบครัว (ร้อยละ 5.5) พ่อแม่ไม่สามารถปฏิบัติตัว
เป็นแบบอย่างที่ดีได้ (ร้อยละ 4.2) และพ่อกับแม่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันในการอบรมสั่งสอนลูก (ร้อยละ
3.5) ในขณะที่ ร้อยละ 3.3 ระบุว่าไม่มีอุปสรรคใดๆ
บทสรุปและวิเคราะห์
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย
หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์
ผลการสำรวจสรุปได้ว่าพ่อแม่ในปัจจุบันยังคงเชื่อมั่นว่าการอบรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมจากครอบ
ครัวจะช่วยแก้ปัญหาของเยาวชนไทยได้ แต่อุปสรรคสำคัญคือการที่พ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่กับลูกทำให้ลูกหันไปเชื่อเพื่อน
มากกว่า นอกจากนี้สื่อยังสร้างค่านิยมที่ขัดแย้งกับคำสอนของพ่อแม่ ดังนั้น แนวทางในการส่งเสริมให้ครอบครัวมีโอกาส
ได้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในการบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนจึงควรมีการดำเนินการใน 3 ส่วน ดังนี้
1. ควรมีการรณรงค์สร้างทัศนคติที่เหมาะสมแก่พ่อแม่ โดยชี้ให้เห็นว่าวัตถุเงินทองไม่ใช่องค์ประกอบ
สำคัญที่สุดที่จะทำให้ครอบครัวมีความสุข ดังนั้นแทนที่จะจะมุ่งหน้าหาเงินเพื่อสร้างฐานะอย่างเดียว ควรจะต้องรู้จัก
สร้างสมดุลให้กับชีวิตโดยการประหยัดและใช้เงินให้เป็นด้วยเพื่อจะได้มีเวลาอยู่กับครอบครัวให้มากขึ้น
2. ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่ลูกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ใน
ปัจจุบันที่พ่อแม่ลูกมีเวลาอยู่ด้วยกันไม่มากนัก โดยเน้นวิธีการที่ลูกสามารถซึมซับได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันตลอด
เวลาให้มากขึ้น อาทิ การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี หรือการลงโทษเมื่อลูกทำความผิดด้วยวิธีการให้ทำคุณไถ่โทษซึ่ง
มีผลต่อเนื่องเกี่ยวพันดีกว่าการพูดอบรมสั่งสอนแต่เพียงอย่างเดียวที่บรรดาลูกๆ ทั้งหลายอาจมองว่าเป็นเพียงการบ่นที่
น่ารำคาญและไม่สนใจที่จะฟัง
3. ควรมีการปฏิรูปสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อที่นับได้ว่าใกล้ชิดกับเยาวชนมากที่สุด โดย
พ่อแม่ควรมีสื่อเป็นพวกไม่ใช่เป็นฝ่ายตรงข้ามหรือศัตรูในบ้านที่คอยให้ข้อมูลและสร้างค่านิยมที่ขัดแย้งกับคำสอนของพ่อแม่
อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 676 44.1
หญิง 857 55.9
อายุ :
ต่ำกว่า 30 ปี 164 10.7
31-40 ปี 604 39.4
41-50ปี 591 38.5
มากกว่า 50ปี 174 11.4
การศึกษา :
ประถมศึกษา 328 21.4
มัธยมศึกษา/ปวช. 394 25.7
ปวส./อนุปริญญา 288 18.8
ปริญญาตรี 455 29.7
สูงกว่าปริญญาตรี 68 4.4
อาชีพ :
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 409 26.7
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 429 28.0
รับจ้างทั่วไป 213 13.9
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 255 16.6
พ่อบ้าน/แม่บ้าน 167 10.9
เกษตรกร 46 3.0
อื่นๆ 14 0.9
ตารางที่ 2 : ปริมาณครอบครัวที่ระบุว่ามีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน
จำนวน ร้อยละ
มีปัญหา 1,224 79.8
ไม่มีปัญหา 309 20.2
รวม 1,533 100
ตารางที่ 2.1 : เปรียบเทียบปริมาณครอบครัวที่มีปัญหาในแต่ละจังหวัด
จำนวน ร้อยละ
เชียงใหม่ 184 87.7
นครราชสีมา 220 82.7
กรุงเทพฯ 596 79.7
ชลบุรี 136 76.8
สงขลา 88 66.7
เฉลี่ยรวม 1,224 79.8
ตารางที่ 3 : ปัญหาสำคัญที่ครอบครัวประสบอยู่
จำนวน ร้อยละ
ปัญหาการเงิน 506 33.0
ปัญหาการไม่มีเวลาให้กัน 269 17.5
ปัญหาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 153 10.0
ปัญหาเรื่องความประพฤติของลูก 126 8.2
ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย 91 5.9
ปัญหาสุขภาพ 79 5.2
ไม่มีปัญหา 309 20.2
รวม 1,533 100
ตารางที่ 4 : ปัญหาที่น่าเป็นห่วงของเยาวชนไทยในปัจจุบันในสายตาพ่อแม่
จำนวน ร้อยละ
- ปัญหายาเสพติด 549 35.8
- ปัญหาพฤติกรรมทางเพศ 356 23.2
- ปัญหาเรื่องความประพฤติ เช่น เที่ยวกลางคืน
การแต่งกาย ใช้จ่ายเกินตัว และพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง 354 23.1
- ปัญหาติดเกม การพนัน และภัยทางอินเทอร์เน็ต 210 13.7
- ปัญหาด้านการเรียน 64 4.2
- รวม 1,533 100
ตารางที่ 5 : ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาของเยาวชนโดยการอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม
ผ่านระบบครอบครัว
จำนวน ร้อยละ
- เชื่อว่าการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวจะช่วยแก้ปัญหาของเยาวชนไทยได้ 1,433 93.5
- ไม่เชื่อว่าการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวจะช่วยแก้ปัญหาของเยาวชนไทยได้ 100 6.5
เนื่องจาก จำนวน ร้อยละ
- ลูกเชื่อคนอื่นมากกว่าพ่อแม่ 56 3.6
- ปัจจุบันมีสิ่งล่อใจให้เยาวชนหลงผิดอยู่มาก
และมีอิทธิพลมากกว่าคำสั่งสอนของพ่อแม่ 28 1.9
- พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับลูก 11 0.7
- การอบรมสั่งสอนจากครอบครัวอย่างเดียว
แก้ปัญหาเยาวชนไม่ได้ต้องให้หน่วยอื่น
ในสังคมร่วมมือด้วย เช่น โรงเรียน และสื่อ 5 0.3
- รวม 1,533 100
ตารางที่ 6 : ทุกวันนี้การอบรมสั่งสอนลูกเป็นหน้าที่ของใครในครอบครัว
จำนวน ร้อยละ
พ่อ แม่ 1,367 89.1
ญาติผู้ใหญ่ 98 6.4
ทุกคนในครอบครัว 61 4.0
พี่เลี้ยง 7 0.5
รวม 1,533 100
ตารางที่ 7 : วิธีที่ใช้ในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับลูก
จำนวน ร้อยละ
ใช้การพูดอบรมสั่งสอน 760 49.6
ใช้การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 565 36.8
ใช้การให้รางวัล/การลงโทษ 101 6.6
ให้ดูบุคคลอื่นเป็นตัวอย่าง 95 6.2
อื่นๆ เช่นใช้หลักศาสนา พาเข้าวัด 12 0.8
รวม 1,533 100
ตารางที่ 8 : วิธีการลงโทษเมื่อลูกทำความผิด
จำนวน ร้อยละ
ว่ากล่าวตักเตือน 1,190 77.6
ตี 149 9.7
ตัดเงินค่าใช้จ่าย ค่าขนม 77 5.0
ไม่พูดด้วย 69 4.5
ไม่ลงโทษ 38 2.6
ให้ทำคุณไถ่โทษ 10 0.6
รวม 1,533 100
ตารางที่ 9 : วิธีการให้รางวัลเมื่อลูกทำความดี
จำนวน ร้อยละ
ให้คำชมเชย 798 52.1
ให้เงินและสิ่งของ 340 22.2
พาไปเที่ยว 226 14.8
ให้ลูกเลือกเองว่าอยากได้อะไร 86 5.5
ไม่ให้รางวัล 83 5.4
รวม 1,533 100
ตารางที่ 10 : ทุกวันนี้พ่อแม่มีเวลาได้อบรมสั่งสอนลูกมากน้อยเพียงใด
จำนวน ร้อยละ
มีเวลาได้อบรมสั่งสอนค่อนข้างมากถึงมาก 376 24.5
มีเวลาได้อบรมสั่งสอนค่อนข้างน้อยถึงน้อย 1,157 75.5
รวม 1,533 100
ตารางที่ 11 : อุปสรรคสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับลูก
จำนวน ร้อยละ
พ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่กับลูก 539 35.3
ลูกเชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ 382 24.9
สื่อสร้างค่านิยมที่ขัดแย้งกับคำสอนของพ่อแม่ 357 23.3
ไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในครอบครัว 85 5.5
พ่อแม่ไม่สามารถปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีได้ 65 4.2
พ่อกับแม่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันในการอบรมสั่งสอนลูก 54 3.5
ไม่มีอุปสรรค 51 3.3
รวม 1,533 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-