แท็ก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นายสมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี
กรุงเทพโพลล์
โปรดเกล้า
ด้วยวันที่ 2 สิงหาคม ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 11 รัฐมนตรี ตามที่นายสมัคร
สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความรู้สึก
ของประชาชนหลังปรับ ครม. สมัคร 4” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,158 คน เมื่อวันที่ 3
สิงหาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
1. เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกที่มีต่อ ครม. ชุดใหม่ พบว่า
ประชาชนร้อยละ 36.8 พอในภาพรวมของ ครม. ชุดใหม่
โดยให้เหตุผลว่า น่าจะช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศได้ เป็นการให้โอกาสคนอื่นๆ มาทำงาน ร้อยละ 44.0 ไม่พอใจ
โดยให้เหตุผลว่า หลายตำแหน่งมาจากพรรคพวกกัน และความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง ร้อยละ 19.2 ไม่มีความเห็น
2. ตำแหน่งที่เห็นว่ามีการแต่งตั้งผู้มาดำรงตำแหน่งได้เหมาะสมที่สุด 3 อันดับแรก คือ
รมว. กระทรวงการต่างประเทศ นายเตช บุนนาค ร้อยละ 36.0
รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ร้อยละ 21.5
รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ร้อยละ 8.5
3. จากการปรับ ครม. ครั้งนี้
ประชาชนร้อยละ 48.3 เห็นว่าไม่ทำให้คะแนนนิยมของรัฐบาลเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ขณะที่ร้อยละ 30.5 เห็นว่า ส่งผลให้คะแนนนิยมลดลง
และร้อยละ 21.2 เห็นว่า ส่งผลให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
4. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ ครม. ชุดใหม่ในการแก้ปัญหาหลัก 4 ประการของประเทศไทย พบว่า
- ปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
เชื่อว่าแก้ได้ 33.7 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ 22.9 ไม่แน่ใจ 43.4
- ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ
เชื่อว่าแก้ได้ 30.5 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ 39.1 ไม่แน่ใจ 30.4
- ปัญหาการแตกความสามัคคีของคนในชาติ
เชื่อว่าแก้ได้ 14.5 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ 50.1 ไม่แน่ใจ 35.4
- ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
เชื่อว่าแก้ได้ 11.1 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ 63.3 ไม่แน่ใจ 25.6
5. เรื่องที่ประชาชนต้องการให้ ครม. ชุดใหม่ ดำเนินการเร่งด่วนเป็นอันดับแรก คือ
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
แก้ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ ร้อยละ 61.3
สร้างความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 12.3
แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 9.5
แก้ปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ร้อยละ 5.1
แก้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ร้อยละ 4.5
อื่นๆ เช่น การแก้ปัญหาจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ร้อยละ 4.4
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 2.9
6. สำหรับความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการปรับ ครม. พบว่า
ประชาชนร้อยละ 52.0 เชื่อว่าสถานการณ์จะเหมือนเดิม
ขณะที่อีกร้อยละ 27.9 เชื่อว่า สถานการณ์จะดีขึ้น
และร้อยละ 20.1 เชื่อว่า จะแย่ลง
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. ความเห็นที่มีต่อ ครม. ชุดใหม่ในภาพรวม
2. ตำแหน่งที่คิดว่ามีการแต่งตั้งผู้มาดำรงตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด
3. คะแนนนิยมที่มีต่อรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช หลังการปรับ ครม.
4. ความเชื่อมั่นในความสามารถของ ครม. ชุดใหม่ ในการแก้ปัญหาต่างๆ
5. เรื่องที่ต้องการให้ ครม. ชุดใหม่ดำเนินการเร่งด่วนเป็นอันดับแรก
6. ความเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยหลังการปรับ ครม.
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 19 เขต จาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดอนเมือง ดินแดง วัฒนา บางกะปิ บางเขน บางนา บึงกุ่ม
ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระโขนง ยานนาวา ราชเทวี สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร และหลักสี่ จากนั้นสุ่มถนน และ ประชากรเป้า
หมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,158 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.4 และ เพศหญิง ร้อยละ 45.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา
ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3 สิงหาคม 2551
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 4 สิงหาคม 2551
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 630 54.4
หญิง 528 45.6
อายุ
18-25 ปี 242 20.9
26-35 ปี 362 31.3
36-45 ปี 329 28.4
46 ปีขึ้นไป 225 19.4
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 440 38.0
ปริญญาตรี 628 54.2
สูงกว่าปริญญาตรี 90 7.8
อาชีพ
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 194 16.8
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 367 31.7
ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 279 24.1
รับจ้างทั่วไป 138 11.9
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 116 10.0
อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 64 5.5
รวม 1,158 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความรู้สึก
ของประชาชนหลังปรับ ครม. สมัคร 4” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,158 คน เมื่อวันที่ 3
สิงหาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
1. เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกที่มีต่อ ครม. ชุดใหม่ พบว่า
ประชาชนร้อยละ 36.8 พอในภาพรวมของ ครม. ชุดใหม่
โดยให้เหตุผลว่า น่าจะช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศได้ เป็นการให้โอกาสคนอื่นๆ มาทำงาน ร้อยละ 44.0 ไม่พอใจ
โดยให้เหตุผลว่า หลายตำแหน่งมาจากพรรคพวกกัน และความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง ร้อยละ 19.2 ไม่มีความเห็น
2. ตำแหน่งที่เห็นว่ามีการแต่งตั้งผู้มาดำรงตำแหน่งได้เหมาะสมที่สุด 3 อันดับแรก คือ
รมว. กระทรวงการต่างประเทศ นายเตช บุนนาค ร้อยละ 36.0
รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ร้อยละ 21.5
รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ร้อยละ 8.5
3. จากการปรับ ครม. ครั้งนี้
ประชาชนร้อยละ 48.3 เห็นว่าไม่ทำให้คะแนนนิยมของรัฐบาลเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ขณะที่ร้อยละ 30.5 เห็นว่า ส่งผลให้คะแนนนิยมลดลง
และร้อยละ 21.2 เห็นว่า ส่งผลให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
4. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ ครม. ชุดใหม่ในการแก้ปัญหาหลัก 4 ประการของประเทศไทย พบว่า
- ปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
เชื่อว่าแก้ได้ 33.7 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ 22.9 ไม่แน่ใจ 43.4
- ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ
เชื่อว่าแก้ได้ 30.5 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ 39.1 ไม่แน่ใจ 30.4
- ปัญหาการแตกความสามัคคีของคนในชาติ
เชื่อว่าแก้ได้ 14.5 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ 50.1 ไม่แน่ใจ 35.4
- ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
เชื่อว่าแก้ได้ 11.1 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ 63.3 ไม่แน่ใจ 25.6
5. เรื่องที่ประชาชนต้องการให้ ครม. ชุดใหม่ ดำเนินการเร่งด่วนเป็นอันดับแรก คือ
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
แก้ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ ร้อยละ 61.3
สร้างความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 12.3
แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 9.5
แก้ปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ร้อยละ 5.1
แก้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ร้อยละ 4.5
อื่นๆ เช่น การแก้ปัญหาจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ร้อยละ 4.4
ไม่มีความเห็น ร้อยละ 2.9
6. สำหรับความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการปรับ ครม. พบว่า
ประชาชนร้อยละ 52.0 เชื่อว่าสถานการณ์จะเหมือนเดิม
ขณะที่อีกร้อยละ 27.9 เชื่อว่า สถานการณ์จะดีขึ้น
และร้อยละ 20.1 เชื่อว่า จะแย่ลง
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. ความเห็นที่มีต่อ ครม. ชุดใหม่ในภาพรวม
2. ตำแหน่งที่คิดว่ามีการแต่งตั้งผู้มาดำรงตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด
3. คะแนนนิยมที่มีต่อรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช หลังการปรับ ครม.
4. ความเชื่อมั่นในความสามารถของ ครม. ชุดใหม่ ในการแก้ปัญหาต่างๆ
5. เรื่องที่ต้องการให้ ครม. ชุดใหม่ดำเนินการเร่งด่วนเป็นอันดับแรก
6. ความเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยหลังการปรับ ครม.
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 19 เขต จาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดอนเมือง ดินแดง วัฒนา บางกะปิ บางเขน บางนา บึงกุ่ม
ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระโขนง ยานนาวา ราชเทวี สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร และหลักสี่ จากนั้นสุ่มถนน และ ประชากรเป้า
หมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,158 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.4 และ เพศหญิง ร้อยละ 45.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา
ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3 สิงหาคม 2551
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 4 สิงหาคม 2551
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 630 54.4
หญิง 528 45.6
อายุ
18-25 ปี 242 20.9
26-35 ปี 362 31.3
36-45 ปี 329 28.4
46 ปีขึ้นไป 225 19.4
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 440 38.0
ปริญญาตรี 628 54.2
สูงกว่าปริญญาตรี 90 7.8
อาชีพ
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 194 16.8
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 367 31.7
ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 279 24.1
รับจ้างทั่วไป 138 11.9
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 116 10.0
อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 64 5.5
รวม 1,158 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-