วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับความตื่นตัวเรื่องการประหยัด ใน
ประเด็นต่อไปนี้
1. ความคิดเห็นต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน
2. สาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยประสบกับสภาวะเศรษฐกิจดังที่เป็นอยู่
3. ความมั่นใจต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
4. ความเหมาะสมของมาตรการประหยัดพลังงาน 3 ข้อที่รัฐบาลประกาศใช้
5. พฤติกรรมที่คนไทยควรจะปรับปรุงแก้ไขเป็นอันดับแรกเพื่อการประหยัด
6. ปัจจัยสำคัญที่สุดในการจูงใจให้คนไทยประหยัด
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองจาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร
ให้ได้ 30 เขต จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,095 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 4 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง “ คน
กรุงฯ กับความตื่นตัวเรื่องการประหยัด”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 13 — 14 กรกฎาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 15 กรกฎาคม 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 1,095 คน เป็นชายร้อยละ 48.7 หญิงร้อยละ 51.3
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.7 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ 27.7 มีอายุระหว่าง 26 — 35
ปี ร้อยละ 24.5มีอายุระหว่าง 36 — 45 ปี และร้อยละ 13.1 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 11.8 ระดับมัธยมศึกษา/ปวช. ร้อยละ 22.2
ระดับ ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 10.1 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 52.6 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 3.3
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการ ร้อยละ 9.0 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.9 พนักงาน/
ลูกจ้างบริษัทเอกชน ร้อยละ 24.9 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 14.9 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.6 พ่อ
บ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 2.3 นิสิต/นักศึกษา ร้อยละ 22.9 อาชีพอิสระ ร้อยละ 6.8 และอื่นๆ ร้อย
ละ 0.7
2. เมื่อถามถึงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 53.9
เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันค่อนข้างแย่ และร้อยละ 18.6 เห็นว่าแย่ ในขณะที่ ร้อยละ 23.7 เห็น
ว่าสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันค่อนข้างดี และร้อยละ 3.8 เห็นว่าดี
3. สาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยประสบกับสภาวะเศรษฐกิจดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ร้อยละ 44.9 เห็น
ว่าเกิดจากการที่คนไทยใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ร้อยละ 26.9 ระบุว่าเกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศ ร้อยละ
24.4 ระบุว่าเกิดจากรัฐบาลดำเนินนโยบายผิดพลาด และร้อยละ 3.8 ระบุว่าเกิดจากการที่รัฐบาลไม่จริงใจใน
การแก้ปัญหา
4. สำหรับความมั่นใจต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่นายกรัฐมนตรีแถลงเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่าน
มานั้น ร้อยละ 43.3 ไม่มั่นใจว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยให้สภาพเศรษฐกิจของไทยดีขึ้นได้ มีเพียงร้อยละ 26.7
ที่มั่นใจ ขณะที่ร้อยละ 30.0 ไม่แน่ใจ
5. เมื่อถามถึงความเหมาะสมของมาตรการประหยัดพลังงาน 3 ข้อที่รัฐบาลประกาศใช้ ได้แก่ การปิด
สถานีบริการน้ำมันตั้งแต่เวลา 4 ทุ่มถึงตี 5 ยกเว้นถนนสายหลัก และสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ เอ็นจีวี/ ปิดไฟป้าย
โฆษณาและป้ายประดับสถานที่ทำธุรกิจหลังเวลา 4 ทุ่ม / และห้ามหน่วยงานของรัฐเบิกจ่ายน้ำมันเบนซินถ้าสามารถใช้
ก๊าซโซฮอล์ได้นั้น ร้อยละ 75.3 เห็นว่ามาตรการดังกล่าวมีความเหมาะสม ขณะที่ร้อยละ 24.7 เห็นว่าไม่เหมาะ
สม โดยผู้ที่เห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่เหมาะสมได้ให้เหตุผลว่า ประชาชนบางกลุ่มยังจำเป็นต้องใช้น้ำมันหลัง 4 ทุ่ม
(ร้อยละ 9.7 ) เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ (ร้อยละ 8.2 ) มาตรการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและ
ลูกจ้างแรงงาน (ร้อยละ 3.1) ควรมีมาตรการอื่นมากกว่า 3 ข้อที่ประกาศใช้ เช่นปิดไฟสถานบันเทิง สนาม
กอล์ฟ และร้านสะดวกซื้อ (ร้อยละ 1.8) และไม่ระบุเหตุผลอีกร้อยละ 1.9
6. เมื่อถามว่าพฤติกรรมใดที่คนไทยควรปรับปรุงแก้ไขเป็นอันดับแรกหากคิดจะประหยัด อันดับแรกเห็น
ว่าต้องเลิกค่านิยมฟุ้งเฟ้อ รักสบาย และใช้จ่ายเกินตัว (ร้อยละ 43.9) รองลงมาเห็นว่าควรหันมาใช้รถสาธารณะ
แทนรถยนต์ส่วนตัว (ร้อยละ 14.7) ใช้น้ำและไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น (ร้อยละ 11.3) กินของไทยใช้ของไทย
(ร้อยละ 8.8) คิดถึงส่วนรวมให้มากขึ้น (ร้อยละ 8.1) ต้องรู้จักวางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้า (ร้อยละ
7.7) ใช้เวลาอยู่บ้านกับครอบครัวให้มากขึ้น (ร้อยละ 3.8) และขับรถความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง
(ร้อยละ 1.7)
7. ส่วนปัจจัยสำคัญที่สุดในการจูงใจให้คนไทยประหยัด เห็นว่าต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง (ร้อย
ละ 47.4) รองลงมาเห็นว่าผู้นำต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี (ร้อยละ 30.7) ต้องมีมาตรการลงโทษกับผู้ที่ไม่
ประหยัด (ร้อยละ 11.5) ต้องมีรางวัลล่อใจให้ปฏิบัติตาม (ร้อยละ 8.5) และอื่นๆ เช่น ควรออกเป็น
มาตรการบังคับให้ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน (ร้อยละ 1.9)
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 533 48.7
หญิง 562 51.3
อายุ :
18 — 25 ปี 381 34.7
26 — 35 ปี 303 27.7
36 — 45 ปี 268 24.5
46 ปีขึ้นไป 143 13.1
การศึกษา
ประถมศึกษา 129 11.8
มัธยมศึกษา/ปวช. 244 22.2
ปวส./อนุปริญญา 110 10.1
ปริญญาตรี 576 52.6
สูงกว่าปริญญาตรี 36 3.3
อาชีพ :
ข้าราชการ 98 9.0
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 86 7.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 273 24.9
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 163 14.9
รับจ้างทั่วไป 116 10.6
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 25 2.3
นิสิต/นักศึกษา 251 22.9
อาชีพอิสระ 75 6.8
อื่นๆ 8 0.7
ตารางที่ 2: ความคิดเห็นต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน
จำนวน ร้อยละ
ดี 42 3.8
ค่อนข้างดี 259 23.7
ค่อนข้างแย่ 590 53.9
แย่ 204 18.6
ตารางที่ 3: สาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยประสบกับสภาวะเศรษฐกิจดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
คนไทยใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย 511 44.9
เกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศ 307 26.9
รัฐบาลดำเนินนโยบายผิดพลาด 278 24.4
รัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหา 44 3.8
ตารางที่ 4: ความมั่นใจต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่นายกรัฐมนตรีแถลงเมื่อคืนวันที่
12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เช่นการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จัดสรรเงินให้หมู่บ้าน ขยายตลาดสินค้า
การเกษตรและสินค้าโอท็อป และขยายบริการโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคในอันที่จะมีผลให้สภาพเศรษฐกิจของไทยดีขึ้น
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 292 26.7
ไม่มั่นใจ 474 43.3
ไม่แน่ใจ 329 30.0
ตารางที่ 5: ความคิดเห็นต่อมาตรการประหยัดพลังงาน 3 ข้อ ที่รัฐบาลประกาศใช้
ได้แก่การปิดสถานีบริการน้ำมันหลังเวลา 4 ทุ่มถึงตี 5 ยกเว้นถนนสายหลัก และสถานีบริการก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี/
ปิดไฟป้ายโฆษณาและป้ายประดับสถานที่ที่ทำธุรกิจหลังเวลา 4 ทุ่ม / และห้ามหน่วยงานรัฐเบิกจ่ายน้ำมันเบนซิน
ถ้าสามารถใช้ก๊าซโซฮอล์ได้
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 825 75.3
ไม่เหมาะสม 270 24.7
เหตุผล
บางคนยังมีความจำเป็นต้องใช้ น้ำมันหลัง 4 ทุ่ม 106 9.7
เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ 90 8.2
ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและลูกจ้างแรงงาน 33 3.1
ควรมีมาตรการอื่นมากกว่า 3 ข้อ ที่ประกาศใช้ 20 1.8
ไม่ระบุเหตุผล 21 1.9
ตารางที่ 6: พฤติกรรมที่คนไทยควรปรับปรุงแก้ไขเป็นอันดับแรกหากคิดจะประหยัด
จำนวน ร้อยละ
เลิกค่านิยมฟุ้งเฟ้อ รักสบาย และใช้จ่ายเกินตัว 480 43.9
ใช้รถสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนตัว 161 14.7
ใช้น้ำและไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น 124 11.3
กินของไทย ใช้ของไทย 96 8.8
คิดถึงส่วนรวมให้มากขึ้น 89 8.1
รู้จักวางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้า 84 7.7
ใช้เวลาอยู่บ้านกับครอบครัวให้มากขึ้น 42 3.8
ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง 19 1.7
ตารางที่ 7: ปัจจัยสำคัญที่สุดในการจูงใจให้คนไทยประหยัด
จำนวน ร้อยละ
ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องจริงจัง 519 47.4
ผู้นำต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง 335 30.7
ต้องมีการลงโทษกับผู้ที่ไม่ประหยัด 126 11.5
ต้องมีรางวัลล่อใจให้ปฏิบัติตาม 94 8.5
อื่นๆ เช่น ควรออกเป็นมาตรการบังคับ 21 1.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับความตื่นตัวเรื่องการประหยัด ใน
ประเด็นต่อไปนี้
1. ความคิดเห็นต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน
2. สาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยประสบกับสภาวะเศรษฐกิจดังที่เป็นอยู่
3. ความมั่นใจต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
4. ความเหมาะสมของมาตรการประหยัดพลังงาน 3 ข้อที่รัฐบาลประกาศใช้
5. พฤติกรรมที่คนไทยควรจะปรับปรุงแก้ไขเป็นอันดับแรกเพื่อการประหยัด
6. ปัจจัยสำคัญที่สุดในการจูงใจให้คนไทยประหยัด
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองจาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร
ให้ได้ 30 เขต จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,095 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 4 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง “ คน
กรุงฯ กับความตื่นตัวเรื่องการประหยัด”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 13 — 14 กรกฎาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 15 กรกฎาคม 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 1,095 คน เป็นชายร้อยละ 48.7 หญิงร้อยละ 51.3
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.7 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี ร้อยละ 27.7 มีอายุระหว่าง 26 — 35
ปี ร้อยละ 24.5มีอายุระหว่าง 36 — 45 ปี และร้อยละ 13.1 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 11.8 ระดับมัธยมศึกษา/ปวช. ร้อยละ 22.2
ระดับ ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 10.1 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 52.6 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 3.3
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการ ร้อยละ 9.0 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.9 พนักงาน/
ลูกจ้างบริษัทเอกชน ร้อยละ 24.9 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 14.9 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.6 พ่อ
บ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 2.3 นิสิต/นักศึกษา ร้อยละ 22.9 อาชีพอิสระ ร้อยละ 6.8 และอื่นๆ ร้อย
ละ 0.7
2. เมื่อถามถึงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 53.9
เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันค่อนข้างแย่ และร้อยละ 18.6 เห็นว่าแย่ ในขณะที่ ร้อยละ 23.7 เห็น
ว่าสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันค่อนข้างดี และร้อยละ 3.8 เห็นว่าดี
3. สาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยประสบกับสภาวะเศรษฐกิจดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ร้อยละ 44.9 เห็น
ว่าเกิดจากการที่คนไทยใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ร้อยละ 26.9 ระบุว่าเกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศ ร้อยละ
24.4 ระบุว่าเกิดจากรัฐบาลดำเนินนโยบายผิดพลาด และร้อยละ 3.8 ระบุว่าเกิดจากการที่รัฐบาลไม่จริงใจใน
การแก้ปัญหา
4. สำหรับความมั่นใจต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่นายกรัฐมนตรีแถลงเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่าน
มานั้น ร้อยละ 43.3 ไม่มั่นใจว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยให้สภาพเศรษฐกิจของไทยดีขึ้นได้ มีเพียงร้อยละ 26.7
ที่มั่นใจ ขณะที่ร้อยละ 30.0 ไม่แน่ใจ
5. เมื่อถามถึงความเหมาะสมของมาตรการประหยัดพลังงาน 3 ข้อที่รัฐบาลประกาศใช้ ได้แก่ การปิด
สถานีบริการน้ำมันตั้งแต่เวลา 4 ทุ่มถึงตี 5 ยกเว้นถนนสายหลัก และสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ เอ็นจีวี/ ปิดไฟป้าย
โฆษณาและป้ายประดับสถานที่ทำธุรกิจหลังเวลา 4 ทุ่ม / และห้ามหน่วยงานของรัฐเบิกจ่ายน้ำมันเบนซินถ้าสามารถใช้
ก๊าซโซฮอล์ได้นั้น ร้อยละ 75.3 เห็นว่ามาตรการดังกล่าวมีความเหมาะสม ขณะที่ร้อยละ 24.7 เห็นว่าไม่เหมาะ
สม โดยผู้ที่เห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่เหมาะสมได้ให้เหตุผลว่า ประชาชนบางกลุ่มยังจำเป็นต้องใช้น้ำมันหลัง 4 ทุ่ม
(ร้อยละ 9.7 ) เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ (ร้อยละ 8.2 ) มาตรการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและ
ลูกจ้างแรงงาน (ร้อยละ 3.1) ควรมีมาตรการอื่นมากกว่า 3 ข้อที่ประกาศใช้ เช่นปิดไฟสถานบันเทิง สนาม
กอล์ฟ และร้านสะดวกซื้อ (ร้อยละ 1.8) และไม่ระบุเหตุผลอีกร้อยละ 1.9
6. เมื่อถามว่าพฤติกรรมใดที่คนไทยควรปรับปรุงแก้ไขเป็นอันดับแรกหากคิดจะประหยัด อันดับแรกเห็น
ว่าต้องเลิกค่านิยมฟุ้งเฟ้อ รักสบาย และใช้จ่ายเกินตัว (ร้อยละ 43.9) รองลงมาเห็นว่าควรหันมาใช้รถสาธารณะ
แทนรถยนต์ส่วนตัว (ร้อยละ 14.7) ใช้น้ำและไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น (ร้อยละ 11.3) กินของไทยใช้ของไทย
(ร้อยละ 8.8) คิดถึงส่วนรวมให้มากขึ้น (ร้อยละ 8.1) ต้องรู้จักวางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้า (ร้อยละ
7.7) ใช้เวลาอยู่บ้านกับครอบครัวให้มากขึ้น (ร้อยละ 3.8) และขับรถความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง
(ร้อยละ 1.7)
7. ส่วนปัจจัยสำคัญที่สุดในการจูงใจให้คนไทยประหยัด เห็นว่าต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง (ร้อย
ละ 47.4) รองลงมาเห็นว่าผู้นำต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี (ร้อยละ 30.7) ต้องมีมาตรการลงโทษกับผู้ที่ไม่
ประหยัด (ร้อยละ 11.5) ต้องมีรางวัลล่อใจให้ปฏิบัติตาม (ร้อยละ 8.5) และอื่นๆ เช่น ควรออกเป็น
มาตรการบังคับให้ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน (ร้อยละ 1.9)
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 533 48.7
หญิง 562 51.3
อายุ :
18 — 25 ปี 381 34.7
26 — 35 ปี 303 27.7
36 — 45 ปี 268 24.5
46 ปีขึ้นไป 143 13.1
การศึกษา
ประถมศึกษา 129 11.8
มัธยมศึกษา/ปวช. 244 22.2
ปวส./อนุปริญญา 110 10.1
ปริญญาตรี 576 52.6
สูงกว่าปริญญาตรี 36 3.3
อาชีพ :
ข้าราชการ 98 9.0
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 86 7.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 273 24.9
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 163 14.9
รับจ้างทั่วไป 116 10.6
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 25 2.3
นิสิต/นักศึกษา 251 22.9
อาชีพอิสระ 75 6.8
อื่นๆ 8 0.7
ตารางที่ 2: ความคิดเห็นต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน
จำนวน ร้อยละ
ดี 42 3.8
ค่อนข้างดี 259 23.7
ค่อนข้างแย่ 590 53.9
แย่ 204 18.6
ตารางที่ 3: สาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยประสบกับสภาวะเศรษฐกิจดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
คนไทยใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย 511 44.9
เกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศ 307 26.9
รัฐบาลดำเนินนโยบายผิดพลาด 278 24.4
รัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหา 44 3.8
ตารางที่ 4: ความมั่นใจต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่นายกรัฐมนตรีแถลงเมื่อคืนวันที่
12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เช่นการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จัดสรรเงินให้หมู่บ้าน ขยายตลาดสินค้า
การเกษตรและสินค้าโอท็อป และขยายบริการโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคในอันที่จะมีผลให้สภาพเศรษฐกิจของไทยดีขึ้น
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 292 26.7
ไม่มั่นใจ 474 43.3
ไม่แน่ใจ 329 30.0
ตารางที่ 5: ความคิดเห็นต่อมาตรการประหยัดพลังงาน 3 ข้อ ที่รัฐบาลประกาศใช้
ได้แก่การปิดสถานีบริการน้ำมันหลังเวลา 4 ทุ่มถึงตี 5 ยกเว้นถนนสายหลัก และสถานีบริการก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี/
ปิดไฟป้ายโฆษณาและป้ายประดับสถานที่ที่ทำธุรกิจหลังเวลา 4 ทุ่ม / และห้ามหน่วยงานรัฐเบิกจ่ายน้ำมันเบนซิน
ถ้าสามารถใช้ก๊าซโซฮอล์ได้
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 825 75.3
ไม่เหมาะสม 270 24.7
เหตุผล
บางคนยังมีความจำเป็นต้องใช้ น้ำมันหลัง 4 ทุ่ม 106 9.7
เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ 90 8.2
ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและลูกจ้างแรงงาน 33 3.1
ควรมีมาตรการอื่นมากกว่า 3 ข้อ ที่ประกาศใช้ 20 1.8
ไม่ระบุเหตุผล 21 1.9
ตารางที่ 6: พฤติกรรมที่คนไทยควรปรับปรุงแก้ไขเป็นอันดับแรกหากคิดจะประหยัด
จำนวน ร้อยละ
เลิกค่านิยมฟุ้งเฟ้อ รักสบาย และใช้จ่ายเกินตัว 480 43.9
ใช้รถสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนตัว 161 14.7
ใช้น้ำและไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น 124 11.3
กินของไทย ใช้ของไทย 96 8.8
คิดถึงส่วนรวมให้มากขึ้น 89 8.1
รู้จักวางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้า 84 7.7
ใช้เวลาอยู่บ้านกับครอบครัวให้มากขึ้น 42 3.8
ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง 19 1.7
ตารางที่ 7: ปัจจัยสำคัญที่สุดในการจูงใจให้คนไทยประหยัด
จำนวน ร้อยละ
ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องจริงจัง 519 47.4
ผู้นำต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง 335 30.7
ต้องมีการลงโทษกับผู้ที่ไม่ประหยัด 126 11.5
ต้องมีรางวัลล่อใจให้ปฏิบัติตาม 94 8.5
อื่นๆ เช่น ควรออกเป็นมาตรการบังคับ 21 1.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-