จากเหตุการณ์กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้มีการเคลื่อนไหวโดยบุกยึดและปิดล้อมสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น สถานี โทรทัศน์ NBT ทำเนียบรัฐบาล กระทรวงการคลัง และปิดถนนสายหลักบางสาย นั้น ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนิน การสำรวจความคิดเห็นเรื่อง ”คนกรุงเทพฯ คิดอย่างไรกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,023 คน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่แสดงความเห็น การปิดถนนเพื่อชุมนุมขับไล่รัฐบาล 13.8 72.6 13.6 การบุกยึดสถานีโทรทัศน์ NBT 14.8 70.8 14.4 การปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล กระทรวง และสถานที่ราชการต่างๆ 16.9 68.3 14.8 2. ความเห็นต่อการที่ตำรวจจะดำเนินการเอาผิดกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ทั้ง 5 คน พบว่า เห็นด้วย ร้อยละ 42.8 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 31.7 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 25.5 3. ความเห็นต่อการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้ เห็นว่ายังไม่ควรประกาศใช้ ร้อยละ 46.9 เห็นว่าควรประกาศใช้ ร้อยละ 27.6 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 25.5 4. สิ่งที่ต้องการให้ทหารดำเนินการในขณะนี้ คือ ให้เข้ามาควบคุมสถานการณ์ร่วมกับตำรวจ ร้อยละ 51.8 ให้อยู่เฉยๆ วางตัวเป็นกลาง ร้อยละ 38.4 ให้ทำรัฐประหาร ร้อยละ 4.5 อื่นๆ เช่น ให้รอดูสถานการณ์ไปก่อน ร้อยละ 5.3 5. เรื่องที่เป็นห่วงมากที่สุดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือ ห่วงว่าจะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 43.1 ห่วงว่าจะเกิดการเผชิญหน้าและแตกแยกในหมู่คนไทยด้วยกัน ร้อยละ 32.7 ห่วงว่าจะเกิดการฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ให้รุนแรงโดยมือที่สาม ร้อยละ 21.4 อื่นๆ เช่น ห่วงภาพลักษณ์ของประเทศ และกลัวเกิดเหตุการณ์นองเลือด ร้อยละ 2.8 6. สิ่งที่ต้องการเห็นเกี่ยวกับอนาคตของรัฐบาล คือ ให้อยู่บริหารประเทศต่อไป.....................................ร้อยละ 34.9 ให้มีการปรับเปลี่ยน..........................................ร้อยละ 65.1
โดย - ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่..............ร้อยละ 33.3
- ให้นายกรัฐมนตรีลาออก .............ร้อยละ 17.0
- ให้คณะรัฐมนตรีลาออก...............ร้อยละ 14.8
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. การบุกยึดและปิดล้อมสถานที่ต่างๆ ของกลุ่มพันธมิตรฯ
2. การดำเนินการเอาผิดกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ทั้ง 5 คน
3. การประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน
4. สิ่งที่ต้องการให้ทหารดำเนินการในขณะนี้
5. เรื่องที่เป็นห่วงมากที่สุดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
6. สิ่งที่ต้องการเห็นเกี่ยวกับอนาคตของรัฐบาล
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 25 เขต จาก 50 เขต ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสาน จตุจักร บางกะปิ บางขุนเทียน บางกอกใหญ่ บางซื่อ บางบอน บางนา บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สาทร สายไหม บางรัก และหลักสี่ จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,023 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.7 และเพศหญิง ร้อยละ 50.3
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน..4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 26 สิงหาคม 2551
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 27 สิงหาคม 2551
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 509 49.7 หญิง 514 50.3 อายุ 18-25 ปี 266 26.0 26-35 ปี 387 37.8 36-45 ปี 256 25.1 46 ปีขึ้นไป 114 11.1 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 418 40.9 ปริญญาตรี 542 52.9 สูงกว่าปริญญาตรี 63 6.2 อาชีพ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 84 8.2 พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 379 37.1 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 246 24.0 รับจ้างทั่วไป 149 14.5 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 106 10.3 อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 60 5.9 รวม 1,023 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--