วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในประเด็นต่อไปนี้
1. การให้ความสนใจติดตามข่าวกรณี ส.ส.พรรคไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่นายประมวล รุจน
เสรี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อออกจากพรรค
2. การเขียนหนังสือเรื่อง “พระราชอำนาจ” รวมถึงการออกมาวิจารณ์การเสนอชื่อผู้ว่าการสำนักงาน
ตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่แทนคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ของนายประมวล เป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่
3. นายประมวลสมควรถูกขับออกจากพรรคไทยรักไทยหรือไม่
4. คิดว่ารัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ออกจากการเป็นผู้ว่าการสำนัก
งานตรวจเงินแผ่นดิน แล้วเสนอชื่อนายวิสุทธิ์ มนตริวัต ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนหรือไม่
5. เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยหรือไม่อย่างไร
6. ความรู้สึกที่มีต่อพรรคไทยรักไทยในปัจจุบัน
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ทราบข่าว
กรณี ส.ส.พรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อออกจากพรรค
โดยการสอบถามข้อมูลทางโทรศัพท์และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยพนักงานสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,098
คนเป็นชายร้อยละ 50.6 หญิงร้อยละ 49.4 อายุ 18-25 ปีร้อยละ 30.1 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 27.1
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 23.9 และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 18.9
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 12.8 มัธยมศึกษาและปวช.ร้อยละ 31.0 ปวส.
และอนุปริญญาร้อยละ 9.1 ปริญญาตรีร้อยละ 43.5 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 3.6
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 10.8 พนักงานลูกจ้างบริษัท
เอกชนร้อยละ 24.7 ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 23.5 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 8.7 พ่อบ้าน แม่บ้าน และ
เกษียณอายุร้อยละ 8.6 นิสิต นักศึกษาร้อยละ 15.7 อาชีพอิสระร้อยละ 5.1 และอื่นๆ ร้อยละ 2.9
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8-9 กันยายน 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 9 กันยายน 2548
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามถึงความสนใจติดตามข่าวที่นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย
ออกมาแสดง ความเห็นเรื่องการเสนอชื่อผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แทนคุณหญิงจารุวรรณ เม
ณฑกา รวมทั้งการออกหนังสือ “พระราชอำนาจ” จนทำให้ ส.ส.พรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่ออกจาก
พรรค พบว่ามีประชาชนที่สนใจติดตามข่าวดังกล่าวร้อยละ 67.4 และไม่สนใจติดตามร้อยละ 32.6
2. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50.8 เห็นว่าการกระทำของนายประมวล รุจนเสรี เป็นเรื่องที่เหมาะสม
เพราะทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวมและไม่ได้มุ่งโจมตีพรรคไทยรักไทย ขณะที่ร้อยละ 45.2 เห็นว่า
ไม่เหมาะสมเพราะในฐานะที่เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยควรแสดงความคิดเห็นผ่านพรรค และ
ร้อยละ 4.0 ไม่แสดงความเห็น
3. เมื่อถามว่านายประมวล รุจนเสรี สมควรถูกขับออกจากพรรคไทยรักไทยหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วน
ใหญ่คือร้อยละ 55.7 เห็นว่าไม่สมควร ขณะที่ร้อยละ 40.3 เห็นว่าสมควร และร้อยละ 4.0 ไม่แสดงความ
เห็น
4. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.6 เชื่อว่ารัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา
ออกจาก
ตำแหน่งผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แล้วเสนอแต่งตั้งนายวิสุทธิ์ มนตริวัต ขึ้นดำรง
ตำแหน่งแทน
ขณะที่อีกร้อยละ 32.1 เชื่อว่ารัฐบาลไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว และร้อยละ 4.3 ระบุ
ว่าไม่แน่ใจ
5. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.8 เห็นว่ากรณีที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้คะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยลด
ลง ขณะที่ร้อยละ 38.6 เห็นว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย มีเพียงร้อยละ 5.6
ที่เห็นว่าคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยจะเพิ่มขึ้น
6. สำหรับความรู้สึกที่มีต่อพรรคไทยรักไทยในปัจจุบันนั้น ประชาชนร้อยละ 37.7 มีความรู้สึกในทางที่
ไม่ดี อาทิ รู้สึกผิดหวัง ดีแต่สร้างภาพ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากกว่าประเทศชาติ ความน่าเชื่อถือลด
ลง และมีปัญหาแตกแยกในพรรค เป็นต้น ขณะที่ร้อยละ 36.8 มีความรู้สึกในทางที่ดี อาทิ คิดว่าดีที่สุดในบรรดา
ตัวเลือกที่มีอยู่ ยังมีส่วนดีมากกว่าส่วนไม่ดี บริหารประเทศได้ดี และชื่นชอบหัวหน้าพรรค เป็นต้น ส่วนอีกร้อย
ละ 18.8 รู้สึกว่ามีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดีพอๆ กัน และร้อยละ 6.7 ไม่แสดงความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 556 50.6
หญิง 542 49.4
อายุ :
18 — 25 ปี 330 30.1
26 — 35 ปี 298 27.1
36 — 45 ปี 262 23.9
46 ปีขึ้นไป 208 18.9
การศึกษา
ประถมศึกษา 140 12.8
มัธยมศึกษา/ปวช. 340 31.0
ปวส./อนุปริญญา 100 9.1
ปริญญาตรี 478 43.5
สูงกว่าปริญญาตรี 40 3.6
อาชีพ :
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 118 10.8
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 272 24.7
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 258 23.5
รับจ้างทั่วไป 96 8.7
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 94 8.6
นิสิต/นักศึกษา 172 15.7
อาชีพอิสระ 56 5.1
อื่นๆ 32 2.9
ตารางที่ 2: การให้ความสนใจติดตามข่าวเรื่อง ส.ส.พรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่
นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อออกจากพรรค
จำนวน ร้อยละ
สนใจติดตาม 740 67.4
ไม่สนใจติดตาม 358 32.6
ตารางที่ 2: การที่นายประมวล รุจนเสรี ในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยออกมาแสดงความเห็น
กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารและการเสนอชื่อผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่
แทนคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา รวมทั้งออกหนังสือ “พระราชอำนาจ” เป็นการกระทำที่เหมาะสม
หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 558 50.8
ไม่เหมาะสม 496 45.2
ไม่แสดงความเห็น 44 4.0
ตารางที่ 3: การกระทำดังกล่าวของนายประมวล รุจนเสรี สมควรถูกขับออกจากพรรคไทยรักไทยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
สมควร 442 40.3
ไม่สมควร 612 55.7
ไม่แสดงความเห็น 44 4.0
ตารางที่ 4: คิดว่ารัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ออกจากการเป็น
ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแล้วเสนอชื่อนายวิสุทธิ์ มนตริวัต ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มีส่วนเกี่ยวข้อง 698 63.6
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง 352 32.1
ไม่แน่ใจ 48 4.3
ตารางที่ 5: คิดว่าการที่ ส.ส.ของพรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวขับไล่นายประมวล รุจนเสรี
ส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยหรือไม่อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 62 5.6
คะแนนนิยมลดลง 612 55.8
ไม่ส่งผลต่อคะแนนนิยม 424 38.6
ตารางที่ 5: ความรู้สึกต่อพรรคไทยรักไทยในปัจจุบัน
จำนวน ร้อยละ
มีความรู้สึกในทางที่ดี เช่น 404 36.8
- ทำงานบริหารประเทศได้ดี
- ยังมีส่วนดีมากกว่าส่วนไม่ดี
- ดีที่สุดในบรรดาตัวเลือกที่มีอยู่
- ยังเชื่อมั่นในฝีมืออยู่
- แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ดี
- ช่วยเหลือคนจน
- ผลงานยังดีอยู่
- ชื่นชอบหัวหน้าพรรค
มีความรู้สึกในทางที่ไม่ดี เช่น 414 37.7
- รู้สึกผิดหวัง
- ความน่าเชื่อถือลดลง/แย่ลงเรื่อยๆ
- ไม่น่าไว้วางใจ
- ยึดประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากกว่าประเทศชาติ
- ไม่น่าเลื่อมใสเหมือนสมัยแรก
- ดีแต่สร้างภาพ
- มีปัญหาแตกแยกภายในพรรคมากเกินไป
รู้สึกว่ามีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดีพอๆ กัน 206 18.8
ไม่แสดงความเห็น 74 6.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในประเด็นต่อไปนี้
1. การให้ความสนใจติดตามข่าวกรณี ส.ส.พรรคไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่นายประมวล รุจน
เสรี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อออกจากพรรค
2. การเขียนหนังสือเรื่อง “พระราชอำนาจ” รวมถึงการออกมาวิจารณ์การเสนอชื่อผู้ว่าการสำนักงาน
ตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่แทนคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ของนายประมวล เป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่
3. นายประมวลสมควรถูกขับออกจากพรรคไทยรักไทยหรือไม่
4. คิดว่ารัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ออกจากการเป็นผู้ว่าการสำนัก
งานตรวจเงินแผ่นดิน แล้วเสนอชื่อนายวิสุทธิ์ มนตริวัต ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนหรือไม่
5. เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยหรือไม่อย่างไร
6. ความรู้สึกที่มีต่อพรรคไทยรักไทยในปัจจุบัน
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ทราบข่าว
กรณี ส.ส.พรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อออกจากพรรค
โดยการสอบถามข้อมูลทางโทรศัพท์และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยพนักงานสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,098
คนเป็นชายร้อยละ 50.6 หญิงร้อยละ 49.4 อายุ 18-25 ปีร้อยละ 30.1 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 27.1
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 23.9 และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 18.9
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 12.8 มัธยมศึกษาและปวช.ร้อยละ 31.0 ปวส.
และอนุปริญญาร้อยละ 9.1 ปริญญาตรีร้อยละ 43.5 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 3.6
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 10.8 พนักงานลูกจ้างบริษัท
เอกชนร้อยละ 24.7 ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 23.5 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 8.7 พ่อบ้าน แม่บ้าน และ
เกษียณอายุร้อยละ 8.6 นิสิต นักศึกษาร้อยละ 15.7 อาชีพอิสระร้อยละ 5.1 และอื่นๆ ร้อยละ 2.9
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8-9 กันยายน 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 9 กันยายน 2548
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามถึงความสนใจติดตามข่าวที่นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย
ออกมาแสดง ความเห็นเรื่องการเสนอชื่อผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แทนคุณหญิงจารุวรรณ เม
ณฑกา รวมทั้งการออกหนังสือ “พระราชอำนาจ” จนทำให้ ส.ส.พรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่ออกจาก
พรรค พบว่ามีประชาชนที่สนใจติดตามข่าวดังกล่าวร้อยละ 67.4 และไม่สนใจติดตามร้อยละ 32.6
2. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50.8 เห็นว่าการกระทำของนายประมวล รุจนเสรี เป็นเรื่องที่เหมาะสม
เพราะทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวมและไม่ได้มุ่งโจมตีพรรคไทยรักไทย ขณะที่ร้อยละ 45.2 เห็นว่า
ไม่เหมาะสมเพราะในฐานะที่เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยควรแสดงความคิดเห็นผ่านพรรค และ
ร้อยละ 4.0 ไม่แสดงความเห็น
3. เมื่อถามว่านายประมวล รุจนเสรี สมควรถูกขับออกจากพรรคไทยรักไทยหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วน
ใหญ่คือร้อยละ 55.7 เห็นว่าไม่สมควร ขณะที่ร้อยละ 40.3 เห็นว่าสมควร และร้อยละ 4.0 ไม่แสดงความ
เห็น
4. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.6 เชื่อว่ารัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา
ออกจาก
ตำแหน่งผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แล้วเสนอแต่งตั้งนายวิสุทธิ์ มนตริวัต ขึ้นดำรง
ตำแหน่งแทน
ขณะที่อีกร้อยละ 32.1 เชื่อว่ารัฐบาลไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว และร้อยละ 4.3 ระบุ
ว่าไม่แน่ใจ
5. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.8 เห็นว่ากรณีที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้คะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยลด
ลง ขณะที่ร้อยละ 38.6 เห็นว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย มีเพียงร้อยละ 5.6
ที่เห็นว่าคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยจะเพิ่มขึ้น
6. สำหรับความรู้สึกที่มีต่อพรรคไทยรักไทยในปัจจุบันนั้น ประชาชนร้อยละ 37.7 มีความรู้สึกในทางที่
ไม่ดี อาทิ รู้สึกผิดหวัง ดีแต่สร้างภาพ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากกว่าประเทศชาติ ความน่าเชื่อถือลด
ลง และมีปัญหาแตกแยกในพรรค เป็นต้น ขณะที่ร้อยละ 36.8 มีความรู้สึกในทางที่ดี อาทิ คิดว่าดีที่สุดในบรรดา
ตัวเลือกที่มีอยู่ ยังมีส่วนดีมากกว่าส่วนไม่ดี บริหารประเทศได้ดี และชื่นชอบหัวหน้าพรรค เป็นต้น ส่วนอีกร้อย
ละ 18.8 รู้สึกว่ามีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดีพอๆ กัน และร้อยละ 6.7 ไม่แสดงความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 556 50.6
หญิง 542 49.4
อายุ :
18 — 25 ปี 330 30.1
26 — 35 ปี 298 27.1
36 — 45 ปี 262 23.9
46 ปีขึ้นไป 208 18.9
การศึกษา
ประถมศึกษา 140 12.8
มัธยมศึกษา/ปวช. 340 31.0
ปวส./อนุปริญญา 100 9.1
ปริญญาตรี 478 43.5
สูงกว่าปริญญาตรี 40 3.6
อาชีพ :
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 118 10.8
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 272 24.7
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 258 23.5
รับจ้างทั่วไป 96 8.7
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 94 8.6
นิสิต/นักศึกษา 172 15.7
อาชีพอิสระ 56 5.1
อื่นๆ 32 2.9
ตารางที่ 2: การให้ความสนใจติดตามข่าวเรื่อง ส.ส.พรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่
นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อออกจากพรรค
จำนวน ร้อยละ
สนใจติดตาม 740 67.4
ไม่สนใจติดตาม 358 32.6
ตารางที่ 2: การที่นายประมวล รุจนเสรี ในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยออกมาแสดงความเห็น
กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารและการเสนอชื่อผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่
แทนคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา รวมทั้งออกหนังสือ “พระราชอำนาจ” เป็นการกระทำที่เหมาะสม
หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม 558 50.8
ไม่เหมาะสม 496 45.2
ไม่แสดงความเห็น 44 4.0
ตารางที่ 3: การกระทำดังกล่าวของนายประมวล รุจนเสรี สมควรถูกขับออกจากพรรคไทยรักไทยหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
สมควร 442 40.3
ไม่สมควร 612 55.7
ไม่แสดงความเห็น 44 4.0
ตารางที่ 4: คิดว่ารัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ออกจากการเป็น
ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแล้วเสนอชื่อนายวิสุทธิ์ มนตริวัต ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มีส่วนเกี่ยวข้อง 698 63.6
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง 352 32.1
ไม่แน่ใจ 48 4.3
ตารางที่ 5: คิดว่าการที่ ส.ส.ของพรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวขับไล่นายประมวล รุจนเสรี
ส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยหรือไม่อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 62 5.6
คะแนนนิยมลดลง 612 55.8
ไม่ส่งผลต่อคะแนนนิยม 424 38.6
ตารางที่ 5: ความรู้สึกต่อพรรคไทยรักไทยในปัจจุบัน
จำนวน ร้อยละ
มีความรู้สึกในทางที่ดี เช่น 404 36.8
- ทำงานบริหารประเทศได้ดี
- ยังมีส่วนดีมากกว่าส่วนไม่ดี
- ดีที่สุดในบรรดาตัวเลือกที่มีอยู่
- ยังเชื่อมั่นในฝีมืออยู่
- แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ดี
- ช่วยเหลือคนจน
- ผลงานยังดีอยู่
- ชื่นชอบหัวหน้าพรรค
มีความรู้สึกในทางที่ไม่ดี เช่น 414 37.7
- รู้สึกผิดหวัง
- ความน่าเชื่อถือลดลง/แย่ลงเรื่อยๆ
- ไม่น่าไว้วางใจ
- ยึดประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากกว่าประเทศชาติ
- ไม่น่าเลื่อมใสเหมือนสมัยแรก
- ดีแต่สร้างภาพ
- มีปัญหาแตกแยกภายในพรรคมากเกินไป
รู้สึกว่ามีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดีพอๆ กัน 206 18.8
ไม่แสดงความเห็น 74 6.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-