แท็ก
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ม็อบพันธมิตร
กรุงเทพโพลล์
ผู้ชุมนุม
พันธมิตรฯ
จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่ตำรวจ ทำการสลายกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตร
ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2551 ซึ่งรัฐบาลมีกำหนดการแถลงนโยบายต่อสภาฯ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้จัดทำโครงการ สำรวจเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกของคนกรุงเทพฯ ต่อกรณีสลายม็อบพันธมิตรฯ” โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,180 คน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นต่อการที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายพันธมิตรฯ ที่บริเวณรัฐสภา เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ฃ
ได้แถลงนโยบาย
- เห็นด้วย ร้อยละ 44.9
โดยให้เหตุผลว่า - ตำรวจทำตามหน้าที่
- เป็นวิธีการที่ใช้กันเป็นสากล
- พันธมิตรชุมนุมยืดเยื้อเกินไป ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจนว่าต้องการอะไรกันแน่
- การกระทำของพันธมิตรสร้างความวุ่นวาย / สร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ
- การเข้ายึด / ปิดล้อมสถานที่ราชการเป็นการกระทำที่ไม่สมควร
- ควรให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ทำงานตามหน้าที่
- มองไม่เห็นวิธีการอื่นที่เหมาะสมกว่านี้ ฯลฯ
- ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 55.1
โดยให้เหตุผลว่า - เป็นการกระทำที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ
- ตำรวจไม่มีสิทธิทำร้ายประชาชน
- ควรใช้วิธีการที่นุ่มนวลกว่านี้ เช่น ใช้การเจรจา ฉีดน้ำ หรือเลื่อนการแถลงนโยบายออกไปก่อน
- ควรแก้ปัญหาด้วยสมองมากกว่าใช้กำลัง
- ทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายมากยิ่งขึ้น
- ทำให้ภาพลักษณ์ประเทศไทยเสียหาย ฯลฯ
2. ความคิดเห็นต่อการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
- เห็นว่าเหมาะสมแล้ว ร้อยละ 64.6
โดยให้เหตุผลว่า - เป็นการแสดงความรับผิดชอบ - รัฐบาลไม่ให้เกียรติ
- ไม่สามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลได้ - ไม่มีอำนาจสั่งการที่แท้จริง
- อยู่ต่อไปก็แก้ปัญหาไม่ได้ - ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้แล้ว
- อายุมากแล้ว ควรเปิดทางให้คนรุ่นใหม่ ฯลฯ
- เห็นว่าไม่เหมาะสม ร้อยละ 35.4
โดยให้เหตุผลว่า - การลาออกไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา - ลาออกเร็วเกินไป ยังไม่ได้เริ่มต้นทำงานเลย
- เป็นการเอาตัวรอด ขาดภาวะผู้นำ - ควรอยู่ช่วยกันแก้ปัญหาไปก่อน ฯลฯ
3. ความเชื่อมั่นที่มีต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี หลังเกิดเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุม พบว่า
- เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 6.6
- ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 26.3
- ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 40.2
- ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 26.9
4. ทางออกที่เหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้
- ใช้การเจราจาพูดคุย ร้อยละ 28.0
โดยผู้ที่ประชาชนเห็นว่าเหมาะสมจะเป็นคนกลางในการเจรจา ได้แก่ - ผู้บัญชาการกองทัพบก
- พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
- สสร.3
- ผู้แทนของทั้งสองฝ่าย ฯลฯ
- ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 46.8
- ทำรัฐประหาร ร้อยละ 11.0
- ยังมองไม่เห็นทางออกที่เหมาะสม ร้อยละ 4.8
- อื่นๆ ร้อยละ 9.4
เช่น - ใช้หลักกฎหมายมาตัดสิน
- ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่าย
- ถอยคนละก้าวโดยให้รัฐบาลยุติเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญและพันธมิตรยุติการชุมนุม
- จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
- ให้รัฐบาลได้บริหารประเทศไปก่อน
- ให้พรรคประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาล
- ทำอย่างไรก็ได้ให้บ้านเมืองสงบ ฯลฯ
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. การที่ตำรวจใช้น้ำตาเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายพันธมิตรฯ ที่รัฐสภา เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้แถลงนโยบาย
2. ความเห็นต่อการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
3. ความเชื่อมั่นที่มี่ต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในการปฏิบัติงานตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
4. ทางออกที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้น สุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,180 คน เป็นเพศชายร้อยละ 53.2 และเพศหญิงร้อยละ 46.8
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และ
คำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8 ตุลาคม 2551
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 9 ตุลาคม 2551
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 627 53.2
หญิง 553 46.8
อายุ
18-25 ปี 272 23.1
26-35 ปี 353 29.9
36-45 ปี 318 26.9
46 ปีขึ้นไป 237 20.1
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 583 49.4
ปริญญาตรี 567 48.1
สูงกว่าปริญญาตรี 30 2.5
อาชีพ
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 220 18.6
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 315 26.7
ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 235 19.9
รับจ้างทั่วไป 190 16.2
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 70 5.9
นิสิต / นักศึกษา 133 11.2
อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 17 1.5
รวม 1,180 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2551 ซึ่งรัฐบาลมีกำหนดการแถลงนโยบายต่อสภาฯ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้จัดทำโครงการ สำรวจเรื่อง “อารมณ์ความรู้สึกของคนกรุงเทพฯ ต่อกรณีสลายม็อบพันธมิตรฯ” โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,180 คน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
1. ความคิดเห็นต่อการที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายพันธมิตรฯ ที่บริเวณรัฐสภา เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ฃ
ได้แถลงนโยบาย
- เห็นด้วย ร้อยละ 44.9
โดยให้เหตุผลว่า - ตำรวจทำตามหน้าที่
- เป็นวิธีการที่ใช้กันเป็นสากล
- พันธมิตรชุมนุมยืดเยื้อเกินไป ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจนว่าต้องการอะไรกันแน่
- การกระทำของพันธมิตรสร้างความวุ่นวาย / สร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ
- การเข้ายึด / ปิดล้อมสถานที่ราชการเป็นการกระทำที่ไม่สมควร
- ควรให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ทำงานตามหน้าที่
- มองไม่เห็นวิธีการอื่นที่เหมาะสมกว่านี้ ฯลฯ
- ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 55.1
โดยให้เหตุผลว่า - เป็นการกระทำที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ
- ตำรวจไม่มีสิทธิทำร้ายประชาชน
- ควรใช้วิธีการที่นุ่มนวลกว่านี้ เช่น ใช้การเจรจา ฉีดน้ำ หรือเลื่อนการแถลงนโยบายออกไปก่อน
- ควรแก้ปัญหาด้วยสมองมากกว่าใช้กำลัง
- ทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายมากยิ่งขึ้น
- ทำให้ภาพลักษณ์ประเทศไทยเสียหาย ฯลฯ
2. ความคิดเห็นต่อการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
- เห็นว่าเหมาะสมแล้ว ร้อยละ 64.6
โดยให้เหตุผลว่า - เป็นการแสดงความรับผิดชอบ - รัฐบาลไม่ให้เกียรติ
- ไม่สามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลได้ - ไม่มีอำนาจสั่งการที่แท้จริง
- อยู่ต่อไปก็แก้ปัญหาไม่ได้ - ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้แล้ว
- อายุมากแล้ว ควรเปิดทางให้คนรุ่นใหม่ ฯลฯ
- เห็นว่าไม่เหมาะสม ร้อยละ 35.4
โดยให้เหตุผลว่า - การลาออกไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา - ลาออกเร็วเกินไป ยังไม่ได้เริ่มต้นทำงานเลย
- เป็นการเอาตัวรอด ขาดภาวะผู้นำ - ควรอยู่ช่วยกันแก้ปัญหาไปก่อน ฯลฯ
3. ความเชื่อมั่นที่มีต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี หลังเกิดเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุม พบว่า
- เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 6.6
- ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 26.3
- ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 40.2
- ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 26.9
4. ทางออกที่เหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้
- ใช้การเจราจาพูดคุย ร้อยละ 28.0
โดยผู้ที่ประชาชนเห็นว่าเหมาะสมจะเป็นคนกลางในการเจรจา ได้แก่ - ผู้บัญชาการกองทัพบก
- พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
- สสร.3
- ผู้แทนของทั้งสองฝ่าย ฯลฯ
- ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 46.8
- ทำรัฐประหาร ร้อยละ 11.0
- ยังมองไม่เห็นทางออกที่เหมาะสม ร้อยละ 4.8
- อื่นๆ ร้อยละ 9.4
เช่น - ใช้หลักกฎหมายมาตัดสิน
- ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่าย
- ถอยคนละก้าวโดยให้รัฐบาลยุติเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญและพันธมิตรยุติการชุมนุม
- จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
- ให้รัฐบาลได้บริหารประเทศไปก่อน
- ให้พรรคประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาล
- ทำอย่างไรก็ได้ให้บ้านเมืองสงบ ฯลฯ
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. การที่ตำรวจใช้น้ำตาเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายพันธมิตรฯ ที่รัฐสภา เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้แถลงนโยบาย
2. ความเห็นต่อการลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
3. ความเชื่อมั่นที่มี่ต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในการปฏิบัติงานตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
4. ทางออกที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้น สุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,180 คน เป็นเพศชายร้อยละ 53.2 และเพศหญิงร้อยละ 46.8
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และ
คำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8 ตุลาคม 2551
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 9 ตุลาคม 2551
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 627 53.2
หญิง 553 46.8
อายุ
18-25 ปี 272 23.1
26-35 ปี 353 29.9
36-45 ปี 318 26.9
46 ปีขึ้นไป 237 20.1
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 583 49.4
ปริญญาตรี 567 48.1
สูงกว่าปริญญาตรี 30 2.5
อาชีพ
ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 220 18.6
พนักงาน ลูกจ้างบริษัทเอกชน 315 26.7
ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 235 19.9
รับจ้างทั่วไป 190 16.2
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 70 5.9
นิสิต / นักศึกษา 133 11.2
อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 17 1.5
รวม 1,180 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-