กรุงเทพโพลล์: ความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ต่อการประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน

ข่าวผลสำรวจ Friday November 14, 2008 09:46 —กรุงเทพโพลล์

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในคดีทุจริตจัดซื้อรถดับเพลิง เรือ ดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้การลาออกจะมีผลหลังวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯต่อการประกาศลาออกจากผู้ว่าฯ กทม. ของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,225 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.1 และเพศหญิงร้อยละ 53.9 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ความเห็นของคนกรุงเทพฯ ต่อการที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.
- เห็นด้วย                         ร้อยละ 69.2
เหตุผลที่เห็นด้วย
  • เป็นการแสดงความรับผิดชอบ เป็นตัวอย่างที่ดี
            ให้กับนักการเมืองคนอื่นๆ และถือเป็นบรรทัดฐานการเมืองใหม่                                  ร้อยละ 46.4
          - เชื่อว่ามีความผิดจริง ต้องยอมรับความผิด                                                 ร้อยละ 16.1
          - ผลงานไม่มี ไม่เหมาะกับตำแหน่งนี้อยู่แล้ว                                                 ร้อยละ  2.1
          - เป็นการรักษาภาพพจน์ให้กับพรรค                                                       ร้อยละ  0.2
  • อื่นๆ เช่น อยากให้เลือกตั้งใหม่เพื่อให้โอกาสคนอื่นมาทำงานแทนดีกว่าถูกศาลตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง ฯลฯ ร้อยละ 4.4
- ไม่เห็นด้วย                       ร้อยละ  30.8
เหตุผลที่ไม่เห็นด้วย
          - ยังไม่ถึงเวลา ควรรอให้ศาลตัดสิน เพื่อพิสูจน์ตัวเองก่อน                                      ร้อยละ 14.4
          - สิ้นเปลืองงบประมาณการเลือกตั้ง                                                       ร้อยละ  5.5
          - ที่ผ่านมาทำหน้าที่ผู้ว่าฯ กทม. ได้ดีมาตลอด                                                ร้อยละ  5.9
          - การลาออกเท่ากับยอมรับว่าทุจริตจริง                                                    ร้อยละ  5.0

2.  คะแนนนิยมของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ หลังนายอภิรักษ์ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ว่า กทม.
          - ส่งผลให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น                                                            ร้อยละ 16.7
          - ส่งผลให้คะแนนนิยมลดลง                                                             ร้อยละ 31.0
          - ไม่มีผลต่อคะแนนนิยม                                                                ร้อยละ 52.3

3.  แนวโน้มของคนกรุงเทพฯ ในการเลือกผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ครั้งต่อไป
          - จะเลือกผู้สมัครที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์                                                 ร้อยละ 40.2
          - จะไม่เลือกผู้สมัครที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์                                               ร้อยละ 18.4
          - ยังไม่แน่ใจ                                                                       ร้อยละ 41.4

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะคนกรุงเทพฯ ที่เคยเลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เมื่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ผ่านมา ระบุว่าจะยังคง เลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 66.8 ไม่เลือกร้อยละ 5.1 และยังไม่ตัดสินใจโดยจะรอดูบุคคลที่พรรคจะส่งลงสมัครก่อนร้อยละ 28.1

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่อไปนี้

1. ความเห็นต่อการที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ก่อนการตัดสินคดีของศาลฎีกา

2. คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ หลังเกิดเหตุการณ์นี้

3. แนวโน้มการตัดสินใจเลือกผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในการเลือกตั้งครั้งหน้า

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้น สุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่ม ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,225 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.1 และเพศหญิง ร้อยละ 53.9

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 13 พฤศจิกายน 2551

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ          :  14 พฤศจิกายน 2551

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                       จำนวน         ร้อยละ
เพศ
            ชาย                         565          53.9
            หญิง                         660          46.1
อายุ
            18-25 ปี                     298          24.3
            26-35 ปี                     437          35.7
            36-45 ปี                     292          23.9
            46 ปีขึ้นไป                    198          16.1
การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี                435          35.5
            ปริญญาตรี                     652          53.3
            สูงกว่าปริญญาตรี                138          11.2
อาชีพ
           ข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ     115          9.4
           พนักงานบริษัทเอกชน              502          41.0
           ค้าขาย  ธุรกิจส่วนตัว             248          20.2
           รับจ้างทั่วไป                    140          11.4
           พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ          50          4.1
           นิสิต/นักศึกษา                   122          10.0
           อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน       48          3.9
รวม                                   1,225          100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ