วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ในประเด็นต่อไปนี้
1. การเลือกตั้งเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยในขณะนี้หรือไม่
2. ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
3. ความเชื่อถือในข้อมูลหลักฐานที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่ามีแกนนำของ
พรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลังการว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กๆ ให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
4. ความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์โปร่งใสของการเลือกตั้งครั้งนี้
5. ความคิดเห็นต่อคะแนนเสียงที่พรรคไทยรักไทยได้จากการเลือกตั้งว่าจะช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาเรื่อง
การขาดจริยธรรมได้หรือไม่
6. ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองของไทยภายหลังการเลือกตั้ง
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 35 เขตจาก 50 เขต จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้
กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,475 คน เป็นชายร้อยละ 47.1 และหญิงร้อยละ 52.9
กลุ่มตัวอย่าง มีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 30.3
อายุ 26-35 ปีร้อยละ 30.4
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 24.2
และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 15.1
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 55.3
ปริญญาตรีร้อยละ 40.6
และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 4.1
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพ รับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 17.5
ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 24.5
รับจ้างทั่วไปร้อยละ 10.9
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 22.7
พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 6.2
นิสิตนักศึกษาร้อยละ 15.5
และอื่นๆ ร้อยละ 2.7
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21-22 มีนาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 23 มีนาคม 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 37.6 เห็นว่าการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการเมืองไทยในขณะนี้ ขณะที่
ร้อยละ 36.0 เห็นว่าการเลือกตั้งคือทางออกที่ดีที่สุด และร้อยละ 26.4 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ร้อยละ 56.4 ระบุว่าจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยในจำนวนนี้
ตั้งใจจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครร้อยละ 33.6 และจะงดออกเสียงร้อยละ 22.8 ขณะที่ร้อยละ 22.3 ระบุว่าจะไม่ไปเลือกตั้ง และร้อยละ
21.3 ยังไม่แน่ใจว่าจะไปเลือกตั้งหรือไม่
สำหรับกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ออกมาเปิดเผยว่ามีแกนนำของพรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลังการว่าจ้าง
พรรคการเมืองเล็กๆ บางพรรคให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตที่มีผู้สมัคร สส. ของพรรคไทยรักไทยเพียงคนเดียวเพื่อแก้ปัญหาเรื่องพรรคไทยรักไทยต้อง
ทำคะแนนให้ได้ถึง 20% นั้น คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 36.9 ไม่เชื่อในข้อมูลหลักฐานที่เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์นำมาเปิดเผย ขณะที่ร้อยละ
35.4 เชื่อ และร้อยละ 27.7 ไม่แน่ใจ
ส่วนความเชื่อมั่นในความโปร่งใสบริสุทธิ์ของการเลือกตั้งนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.6 ไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นไปอย่างโปร่ง
ใส (โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 23.1 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 45.5) มีเพียงร้อยละ 31.4 ที่เชื่อว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างโปร่งใส (โดย
เชื่อมั่นมากร้อยละ 10.1 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 21.3)
เมื่อถามว่าคะแนนเสียงที่พรรคไทยรักไทยได้รับจากการเลือกตั้งจะช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาเรื่องการขาด
จริยธรรมในการบริหารประเทศได้หรือไม่ ร้อยละ 46.4 ระบุว่าไม่ได้ ขณะที่ร้อยละ 21.3 ระบุว่าได้ และร้อยละ 32.3 ไม่แสดงความเห็น
สำหรับความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 เชื่อว่าสถานการณ์ทางการเมืองของไทย
จะไม่ดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน (โดยร้อยละ 36.2 เชื่อว่าจะไม่แตกต่างจากปัจจุบัน และร้อยละ 16.6 เชื่อว่าจะแย่กว่าปัจจุบัน) มีเพียงร้อยละ 19.2 ที่
เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น และร้อยละ 28.0 ไม่แน่ใจ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 695 47.1
หญิง 780 52.9
อายุ :
18 - 25 ปี 447 30.3
26 — 35 ปี 448 30.4
36 — 45 ปี 357 24.2
46 ปีขึ้นไป 223 15.1
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 816 55.3
ปริญญาตรี 599 40.6
สูงกว่าปริญญาตรี 60 4.1
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 258 17.5
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 362 24.5
รับจ้างทั่วไป 161 10.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 335 22.7
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 90 6.2
นิสิตนักศึกษา 229 15.5
อื่นๆ 40 2.7
รวม 1475 100.0
ตารางที่ 2: ความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการเมืองไทยในขณะนี้ใช่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช่ 531 36.0
ไม่ใช่ 555 37.6
ไม่แน่ใจ 389 26.4
ตารางที่ 3: ความตั้งใจที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนนี้
จำนวน ร้อยละ
ไป โดย 832 56.4
- จะลงคะแนนเลือกผู้สมัคร 33.6%
- จะงดออกเสียง 22.8%
ไม่ไป 329 22.3
ไม่แน่ใจ 314 21.3
ตารางที่ 4: ความเชื่อถือในข้อมูลหลักฐานที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่ามีแกนนำ
ของพรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลังการว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กๆ บางพรรคให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต
ที่มีผู้สมัคร สส. ของพรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียว เพื่อแก้ปัญหาเรื่องพรรคไทยรักไทยต้องทำคะแนนให้ได้ถึง 20%
จำนวน ร้อยละ
เชื่อ 522 35.4
ไม่เชื่อ 543 36.9
ไม่แน่ใจ 410 27.7
ตารางที่ 5: ความเชื่อมั่นในความโปร่งใสบริสุทธิ์ของการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549
จำนวน ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก 149 10.1
ค่อนข้างเชื่อมั่น 315 21.3
ไม่ค่อยเชื่อมั่น 671 45.5
ไม่เชื่อมั่นเลย 340 23.1
ตารางที่ 6: คะแนนเสียงที่พรรคไทยรักไทยได้รับจากการเลือกตั้งจะช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาเรื่องการขาดจริยธรรมในการบริหารประเทศได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 314 21.3
ไม่ได้ 685 46.4
ไม่มีความเห็น 476 32.3
ตารางที่ 7: ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการเลือกตั้ง
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน 283 19.2
แย่ลงกว่าปัจจุบัน 245 16.6
ไม่แตกต่างจากปัจจุบัน 534 36.2
ไม่แน่ใจ 413 28.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ในประเด็นต่อไปนี้
1. การเลือกตั้งเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยในขณะนี้หรือไม่
2. ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
3. ความเชื่อถือในข้อมูลหลักฐานที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่ามีแกนนำของ
พรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลังการว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กๆ ให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
4. ความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์โปร่งใสของการเลือกตั้งครั้งนี้
5. ความคิดเห็นต่อคะแนนเสียงที่พรรคไทยรักไทยได้จากการเลือกตั้งว่าจะช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาเรื่อง
การขาดจริยธรรมได้หรือไม่
6. ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองของไทยภายหลังการเลือกตั้ง
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 35 เขตจาก 50 เขต จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้
กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,475 คน เป็นชายร้อยละ 47.1 และหญิงร้อยละ 52.9
กลุ่มตัวอย่าง มีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 30.3
อายุ 26-35 ปีร้อยละ 30.4
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 24.2
และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 15.1
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 55.3
ปริญญาตรีร้อยละ 40.6
และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 4.1
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพ รับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 17.5
ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 24.5
รับจ้างทั่วไปร้อยละ 10.9
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 22.7
พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 6.2
นิสิตนักศึกษาร้อยละ 15.5
และอื่นๆ ร้อยละ 2.7
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21-22 มีนาคม 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 23 มีนาคม 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 37.6 เห็นว่าการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการเมืองไทยในขณะนี้ ขณะที่
ร้อยละ 36.0 เห็นว่าการเลือกตั้งคือทางออกที่ดีที่สุด และร้อยละ 26.4 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ร้อยละ 56.4 ระบุว่าจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยในจำนวนนี้
ตั้งใจจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครร้อยละ 33.6 และจะงดออกเสียงร้อยละ 22.8 ขณะที่ร้อยละ 22.3 ระบุว่าจะไม่ไปเลือกตั้ง และร้อยละ
21.3 ยังไม่แน่ใจว่าจะไปเลือกตั้งหรือไม่
สำหรับกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ออกมาเปิดเผยว่ามีแกนนำของพรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลังการว่าจ้าง
พรรคการเมืองเล็กๆ บางพรรคให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตที่มีผู้สมัคร สส. ของพรรคไทยรักไทยเพียงคนเดียวเพื่อแก้ปัญหาเรื่องพรรคไทยรักไทยต้อง
ทำคะแนนให้ได้ถึง 20% นั้น คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 36.9 ไม่เชื่อในข้อมูลหลักฐานที่เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์นำมาเปิดเผย ขณะที่ร้อยละ
35.4 เชื่อ และร้อยละ 27.7 ไม่แน่ใจ
ส่วนความเชื่อมั่นในความโปร่งใสบริสุทธิ์ของการเลือกตั้งนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.6 ไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นไปอย่างโปร่ง
ใส (โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 23.1 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 45.5) มีเพียงร้อยละ 31.4 ที่เชื่อว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างโปร่งใส (โดย
เชื่อมั่นมากร้อยละ 10.1 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 21.3)
เมื่อถามว่าคะแนนเสียงที่พรรคไทยรักไทยได้รับจากการเลือกตั้งจะช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาเรื่องการขาด
จริยธรรมในการบริหารประเทศได้หรือไม่ ร้อยละ 46.4 ระบุว่าไม่ได้ ขณะที่ร้อยละ 21.3 ระบุว่าได้ และร้อยละ 32.3 ไม่แสดงความเห็น
สำหรับความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 เชื่อว่าสถานการณ์ทางการเมืองของไทย
จะไม่ดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน (โดยร้อยละ 36.2 เชื่อว่าจะไม่แตกต่างจากปัจจุบัน และร้อยละ 16.6 เชื่อว่าจะแย่กว่าปัจจุบัน) มีเพียงร้อยละ 19.2 ที่
เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น และร้อยละ 28.0 ไม่แน่ใจ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 695 47.1
หญิง 780 52.9
อายุ :
18 - 25 ปี 447 30.3
26 — 35 ปี 448 30.4
36 — 45 ปี 357 24.2
46 ปีขึ้นไป 223 15.1
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 816 55.3
ปริญญาตรี 599 40.6
สูงกว่าปริญญาตรี 60 4.1
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 258 17.5
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 362 24.5
รับจ้างทั่วไป 161 10.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 335 22.7
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 90 6.2
นิสิตนักศึกษา 229 15.5
อื่นๆ 40 2.7
รวม 1475 100.0
ตารางที่ 2: ความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการเมืองไทยในขณะนี้ใช่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช่ 531 36.0
ไม่ใช่ 555 37.6
ไม่แน่ใจ 389 26.4
ตารางที่ 3: ความตั้งใจที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนนี้
จำนวน ร้อยละ
ไป โดย 832 56.4
- จะลงคะแนนเลือกผู้สมัคร 33.6%
- จะงดออกเสียง 22.8%
ไม่ไป 329 22.3
ไม่แน่ใจ 314 21.3
ตารางที่ 4: ความเชื่อถือในข้อมูลหลักฐานที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่ามีแกนนำ
ของพรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลังการว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กๆ บางพรรคให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต
ที่มีผู้สมัคร สส. ของพรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียว เพื่อแก้ปัญหาเรื่องพรรคไทยรักไทยต้องทำคะแนนให้ได้ถึง 20%
จำนวน ร้อยละ
เชื่อ 522 35.4
ไม่เชื่อ 543 36.9
ไม่แน่ใจ 410 27.7
ตารางที่ 5: ความเชื่อมั่นในความโปร่งใสบริสุทธิ์ของการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549
จำนวน ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก 149 10.1
ค่อนข้างเชื่อมั่น 315 21.3
ไม่ค่อยเชื่อมั่น 671 45.5
ไม่เชื่อมั่นเลย 340 23.1
ตารางที่ 6: คะแนนเสียงที่พรรคไทยรักไทยได้รับจากการเลือกตั้งจะช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาเรื่องการขาดจริยธรรมในการบริหารประเทศได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 314 21.3
ไม่ได้ 685 46.4
ไม่มีความเห็น 476 32.3
ตารางที่ 7: ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการเลือกตั้ง
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน 283 19.2
แย่ลงกว่าปัจจุบัน 245 16.6
ไม่แตกต่างจากปัจจุบัน 534 36.2
ไม่แน่ใจ 413 28.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-