จากการให้สัมภาษณ์ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ภายหลังเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีพระศพสมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการยุบพรรค และเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการ เมืองที่ส่อเค้าว่าจะรุนแรงขึ้น ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “การปรับ ครม. ของรัฐบาลสมชายในสายตาประชาชน” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกกลุ่มอาชีพที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,116 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.3 และเพศหญิงร้อยละ 53.7 เมื่อวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2551 สรุปผลได้ ดังนี้
- มีความเห็นในเชิงเห็นด้วย สนับสนุน เห็นว่าเหมาะสม ร้อยละ 34.6
โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเปิดโอกาสให้คนดี มีความรู้เหมาะสมกับ
ตำแหน่งมาทำงานช่วยแก้ปัญหาของประเทศ ฯลฯ
- มีความเห็นในเชิงไม่เห็นด้วย ไม่สนับสนุน และเห็นว่าไม่เหมาะสม ร้อยละ 43.9
โดยให้เหตุผลว่า ปรับ ครม. บ่อยเกินไป รัฐมนตรียังเข้ามาทำงาน
ได้ไม่นาน และคาดว่าเปลี่ยนแล้วก็คงมีแต่หน้าเดิมๆ
ไม่มีอะไรดีขึ้น ฯลฯ
- ไม่สนใจ เบื่อ อยากทำอะไรก็ทำกันไป ไม่รู้สึกอะไร ร้อยละ 21.5 2. รัฐมนตรีที่ประชาชนต้องการให้ถูกปรับออกจาก ครม. ชุดปัจจุบัน สูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ - ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารสุข ร้อยละ 69.2 (จากเต็ม100%) - นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 48.0 (จากเต็ม100%) - พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 31.5 (จากเต็ม100%) - นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 26.5 (จากเต็ม100%) - พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 26.3 (จากเต็ม100%) 3. สำหรับจุดประสงค์ของรัฐบาลในการปรับ ครม. ครั้งนี้ ประชาชนมีความเห็นว่า - เพื่อคลี่คลายวิกฤตของบ้านเมือง ร้อยละ 26.3 - เพื่อเตรียมรับมือกับคดียุบพรรคพลังประชาชนและการเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 26.3 - เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาประเทศได้ดียิ่งขึ้น ร้อยละ 21.7 - เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในคณะรัฐบาล ร้อยละ 17.2 - อื่นๆ เช่น เพื่อจัดแบ่งโควต้าใหม่ เพื่อจัดสรรผลประโยชน์ให้ลงตัว ฯลฯ ร้อยละ 8.5 4. เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเร่งด่วนมากที่สุด (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) คือ
- ยุติความขัดแย้ง ความรุนแรง และการชุมนุมของทุกฝ่ายสร้างความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 42.6
- แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ราคาสินค้า และค่าครองชีพ ร้อยละ 36.7 - พิจารณาตัวเอง ลาออก ยุบสภา และเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 9.1 - ให้ทำงานโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ ร้อยละ 4.6 - แก้ปัญหาการจราจร พัฒนาระบบคมนาคม ร้อยละ 2.3 - แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ร้อยละ 0.6 - แก้ปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ร้อยละ 0.6
- อื่นๆ เช่น แก้ปัญหาการเลิกจ้าง แก้รัฐธรรมนูญ แก้ปัญหาความขัดแย้งในรัฐบาล-
และหาผู้กระทำผิดจากเหตุรุนแรงวันที่ 7 ตุลาคม ฯลฯ ร้อยละ 3.5 5. แนวโน้มการให้ความสนับสนุนพรรคเพื่อไทย หากพรรคพลังประชาชนถูกตัดสินให้ยุบพรรค พบว่า - จะให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 20.4 - ไม่สนับสนุน ร้อยละ 35.5 - ยังไม่แน่ใจ ร้อยละ 44.1
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
1. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่าหากมีการปรับ ครม. ในช่วงระยะนี้
2. รายชื่อรัฐมนตรีที่อยากให้ปรับออกจาก ครม. ชุดปัจจุบัน
3. ความเห็นต่อจุดประสงค์ของการปรับ ครม. ครั้งนี้
4. เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการเร่งด่วนเป็นอันดับแรก
5. แนวโน้มการให้ความสนับสนุนพรรคเพื่อไทย หากพรรคพลังประชาชนถูกตัดสินให้ยุบพรรค
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้น สุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่ม ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,116 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.3 และเพศหญิง ร้อยละ 53.7
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18 - 19 พฤศจิกายน 2551
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 20 พฤศจิกายน 2551
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ : ชาย 517 46.3 หญิง 599 53.7 อายุ 18-25 ปี 422 37.8 26-35 ปี 376 33.7 36-45 ปี 202 18.1 46 ปีขึ้นไป 116 10.4 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 424 38.0 ปริญญาตรี 602 53.9 สูงกว่าปริญญาตรี 90 8.1 อาชีพ ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 78 7.0 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 286 25.6 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 256 22.9 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 50 4.5 รับจ้างทั่วไป 162 14.5 นิสิต นักศึกษา 252 22.6 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน 32 2.9 รวม 1,116 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--