กรุงเทพโพลล์: ความเห็นของประชาชนต่อการกระทำและการแสดงออกของกลุ่มต่างๆ

ข่าวผลสำรวจ Friday November 28, 2008 09:19 —กรุงเทพโพลล์

จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง และได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีการ ดำเนินการและแสดงออกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแนวทางที่แตกต่างกันออกไป ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการ สำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อการกระทำและการแสดงออกของกลุ่มต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาหาทางออกของวิกฤตการณ์ความขัดแย้งร่วม กันอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกกลุ่มอาชีพที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,180 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.2 และเพศหญิงร้อยละ 53.8 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการกระทำและการแสดงออกของฝ่ายต่าง ๆ ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
                                                เหมาะสม                ไม่เหมาะสม              ไม่มีความเห็น
- การกระทำและการแสดงออกของกลุ่มพันธมิตรฯ              11.2                    69.3                    19.5
- การกระทำและการแสดงออกของรัฐบาล                   22.2                    46.4                    31.4
- การกระทำและการแสดงออกของประธานรัฐสภา             21.6                    29.0                    49.4
- การกระทำและการแสดงออกของพรรคประชาธิปัตย์           23.7                    37.7                    38.6
- การกระทำและการแสดงออกของทหาร                    42.6                    26.7                    30.7
- การกระทำและการแสดงออกของตำรวจ                   37.3                    35.6                    27.1
- การกระทำและการแสดงออกของสื่อมวลชน                 40.9                    32.2                    26.9
- การกระทำและการแสดงออกของกลุ่มแนวร่วม นปช.          18.6                    48.8                    32.6
- การกระทำและการแสดงออกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร       17.2                    48.7                    34.1

โดยให้เหตุผลของการกระทำที่ไม่เหมาะสมของฝ่ายต่างๆ ดังนี้ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - การกระทำและแสดงออกของกลุ่มพันธมิตรฯ

                              เห็นว่าไม่เหมาะสม          ร้อยละ 69.3

โดยให้เหตุผลว่า ก่อให้เกิดความวุ่นวาย รุนแรงเกินเหตุ สร้างความเดือดร้อน เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต ไม่เคารพกฎหมาย ยึด สถานที่สำคัญทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม

- การกระทำและแสดงออกของรัฐบาล
                              เห็นว่าไม่เหมาะสม          ร้อยละ 46.4

โดยให้เหตุผลว่า ละเลยและวางเฉยไม่จริงจังในการแก้ปัญหา ไม่รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้นเหตุของความรุนแรง ยึดผล ประโยชน์และรักษาผลประโยชน์ของตน ควรลาออกเพื่อให้บ้านเมืองสงบ

- การกระทำและแสดงออกของประธานรัฐสภา (นายชัย ชิดชอบ)
                              เห็นว่าไม่เหมาะสม          ร้อยละ 29.0

โดยให้เหตุผลว่า ไม่เป็นกลาง ควบคุมการประชุมไม่ได้ ใช้คำพูดไม่เหมาะสม

- การกระทำและแสดงออกของพรรคประชาธิปัตย์
                              เห็นว่าไม่เหมาะสม          ร้อยละ 37.7

โดยให้เหตุผลว่า ไม่เป็นกลาง เอนเอียงเข้าข้างพันธมิตร อยากเป็นรัฐบาล ไม่กล้าแสดงออกให้ชัดเจน ไม่มีบทบาท ไม่ช่วยแก้ ปัญหาอย่างจริงจัง

- การกระทำและแสดงออกของทหาร
                              เห็นว่าไม่เหมาะสม          ร้อยละ 26.7

โดยให้เหตุผลว่า ไม่เด็ดขาด เพิกเฉย ไม่ดำเนินการใดๆ เพื่อป้องกันเหตุรุนแรง เช่น เข้าไปตรึงกำลังในสนามบินเพื่อป้องกันการบุก ยึด และตรวจค้นอาวุธของผู้ชุมนุม เป็นต้น

- การกระทำและแสดงออกของตำรวจ
                              เห็นว่าไม่เหมาะสม          ร้อยละ 35.6

โดยให้เหตุผลว่า ทำการเกินกว่าเหตุ ใช้ความรุนแรง ทำตามคำสั่งรัฐบาลมากเกินไป

- การกระทำและแสดงออกของสื่อมวลชน
                              เห็นว่าไม่เหมาะสม          ร้อยละ 32.2

โดยให้เหตุผลว่า เสนอข่าวไม่เป็นกลาง เสนอข่าวให้เกิดการทะเลาะแตกแยก เสนอข่าวไม่ครบถ้วน

- การกระทำและแสดงออกของกลุ่มแนวร่วม นปช.
                              เห็นว่าไม่เหมาะสม          ร้อยละ 48.8

โดยให้เหตุผลว่า ไม่ควรออกมาประกาศสงคราม ก่อเหตุปะทะ ปลุกระดม ทำให้เกิดเหตุความรุนแรงมากขึ้น และทำเพื่อปกป้องผล ประโยชน์ของพวกพ้องโดยไม่คิดถึงประเทศชาติส่วนรวม

- การกระทำและแสดงออกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
                              เห็นว่าไม่เหมาะสม          ร้อยละ 48.7

โดยให้เหตุผลว่า ไม่ยอมรับความผิดแล้วกลับมาสู้คดีตามกระบวนการของกฎหมายยุยงปลุกกระแสความขัดแย้ง ไม่หยุดให้ข่าวหรือให้ สัมภาษณ์ในทางเสียหายแก่ประเทศ ไม่ยอมวางมือทางการเมือง

2. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถานการณ์ในประเทศในขณะนี้ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่า
                    -  ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการใช้ชีวิต                        ได้คะแนน  4.31
                    -  ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางกฎหมาย               ได้คะแนน  3.58
                    -  ความเชื่อมั่นในความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ                   ได้คะแนน  3.50
                    -  ความเชื่อมั่นในความสามารถรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก               ได้คะแนน  3.24
                    -  ความเชื่อมั่นในความสามารถยุติปัญหาความขัดแย้งได้ด้วยสันติวิธี          ได้คะแนน  3.17
                    -  ความเชื่อมั่นศรัทธาในระบบการเมืองไทย                          ได้คะแนน  2.82

3.  ทางออกที่เหมาะสมมากที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้
          ให้แต่ละฝ่ายส่งผู้แทนมาเจรจากัน                                             ร้อยละ  39.2
          ยุบสภา                                                                ร้อยละ 24.3
          ใช้กำลังตำรวจ ทหารเข้าสลายการชุมนุม                                       ร้อยละ 16.1
          จัดตั้งรัฐบาลประชาภิวัฒน์                                                   ร้อยละ 12.3
          ทหารทำรัฐประหาร                                                       ร้อยละ 7.2
          ปล่อยให้กลุ่มผู้ชุมนุมดำเนินกิจกรรมต่อไป                                        ร้อยละ 0.9

4.  ผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้
          ได้รับผลกระทบ             ร้อยละ 72.2

โดยผลกระทบที่ได้รับ คือ - การจราจรติดขัด เดินทางไม่สะดวก

  • โรงเรียนบุตรหลานต้องหยุดการเรียนการสอน
  • ลูกค้ายกเลิกการสั่งซื้อสินค้า ยอดขายตก รายได้ตก กลัวตกงาน
  • เกิดความเครียด
  • เกิดความแตกแยกในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน ฯลฯ
          ไม่ได้รับผลกระทบ           ร้อยละ 27.8

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้

1. ความคิดเห็นต่อการกระทำและการแสดงออกของฝ่ายต่างๆ ในเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

2. ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ภายในประเทศ

3. ทางออกที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

4. ผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่ม ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,180 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.2 และเพศหญิง ร้อยละ 53.8

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 27 พฤศจิกายน 2551

วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ    :    28 พฤศจิกายน 2551

ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                       จำนวน         ร้อยละ
เพศ :
            ชาย                          545          46.2
            หญิง                          635          53.8
อายุ
            18-25 ปี                      372          31.5
            26-35 ปี                      433          36.7
            36-45 ปี                      230          19.5
            46 ปีขึ้นไป                     145          12.3
การศึกษา
           ต่ำกว่าปริญญาตรี                  455          38.5
           ปริญญาตรี                       622          52.8
           สูงกว่าปริญญาตรี                  103           8.7
อาชีพ
           ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ        58           4.9
           พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน         357          30.3
           ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว               310          26.3
           รับจ้างทั่วไป                     200          16.9
           พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ           25           2.1
           นิสิต นักศึกษา                    182          15.5
           อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน        48           4.0
รวม                                    1,180         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ