กรุงเทพโพลล์: ผลสำรวจเรื่อง : แนวโน้มการเลือกผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ (สำรวจครั้งที่ 2)

ข่าวผลสำรวจ Monday January 5, 2009 08:08 —กรุงเทพโพลล์

ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดให้วันที่ 11 มกราคม 2552 เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “แนวโน้มการเลือกผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ (สำรวจครั้งที่ 2)” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น1,594 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2551 - 2 มกราคม 2552 สรุปผลได้ ดังนี้

1. การรับรู้ของคนกรุงเทพฯ เกี่ยวกับกำหนดวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ในวันที่ 11 มกราคม 2552
          สำรวจครั้งที่ 1 (8-10 ธ.ค.)ร้อยละ          สำรวจครั้งที่ 2 (28 ธ.ค.-2 ม.ค.) ร้อยละ
ทราบ                    47.5                                 88.8
ไม่ทราบ                  52.5                                 11.2

2.   ความตั้งใจออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในวันที่ 11 มกราคม 2552
          สำรวจครั้งที่ 1 (8-10 ธ.ค.)ร้อยละ          สำรวจครั้งที่ 2  (28 ธ.ค.-2 ม.ค.) ร้อยละ
ไป                      82.7                                87.8
ไม่ไป                     4.4                                 3.9
ไม่แน่ใจ                  12.9                                 8.3

3.  บุคคลที่คนกรุงเทพฯ ตั้งใจจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. คนต่อไป คือ

สำรวจครั้งที่ 1 (8-10 ธ.ค.)ร้อยละ สำรวจครั้งที่ 2 (28 ธ.ค.-2 ม.ค.) ร้อยละ

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร                       30.2                              36.4
นายยุรนันท์ ภมรมนตรี                          7.7                              17.9
ม.ล.ณัฏฐกรณ์  เทวกุล                        17.2                              13.8
นายแก้วสรร อติโพธิ                           4.6                               6.3
นางลีนา จังจรรจา                            1.4                               0.4
ผู้สมัครหมายเลขอื่น                            2.2                               4.5
ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร                    33.3                              19.3
จะไปใช้สิทธิแต่ไม่ลงคะแนนเลือกใคร               3.4                               1.4

4.   เมื่อถามถึงโอกาสเปลี่ยนใจไปเลือกผู้สมัครคนอื่น พบว่า

สำรวจครั้งที่ 1 (8-10 ธ.ค.)ร้อยละ สำรวจครั้งที่ 2 (28 ธ.ค.-2 ม.ค.) ร้อยละ

ยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนใจ                     66.6                              71.1
มีโอกาสเปลี่ยนใจไปเลือกผู้สมัครคนอื่น          33.4                              28.9

โดยแยกตามผู้สมัครได้ดังนี้
- ผู้ที่ระบุว่าจะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
          - ยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนใจ                ร้อยละ 81.9
          - มีโอกาสเปลี่ยนใจ                    ร้อยละ 18.1

- ผู้ที่ระบุว่าจะเลือก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี
          - ยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนใจ                ร้อยละ 66.4
          - มีโอกาสเปลี่ยนใจ                    ร้อยละ 33.6

- ผู้ที่ระบุว่าจะเลือก ม.ล.ณัฏฐกรณ์  เทวกุล
          - ยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนใจ                ร้อยละ 68.9
          - มีโอกาสเปลี่ยนใจ                    ร้อยละ 31.1

- ผู้ที่ระบุว่าจะเลือก นายแก้วสรร  อติโพธิ
          - ยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนใจ                ร้อยละ 51.1
          - มีโอกาสเปลี่ยนใจ                    ร้อยละ 48.9

- ผู้ที่ระบุว่าจะเลือก นางลีนา  จังจรรจา
          - ยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนใจ                ร้อยละ 33.3
          - มีโอกาสเปลี่ยนใจ                    ร้อยละ 66.7

5.   เหตุผลหลักในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ของ คนกรุงเทพฯ คือ

สำรวจครั้งที่ 1(8-10 ธ.ค.)ร้อยละ สำรวจครั้งที่ 2 (28 ธ.ค.-2 ม.ค.) ร้อยละ

ดูจากทีมงานและพรรคที่สังกัด                                       33.5                         35.1
ดูจากนโยบายการดำเนินงาน                                       39.2                         25.9
ดูจากผลงานในอดีต                                              13.9                         10.5
อื่นๆ เช่น ดูจากคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัคร ความขยันในการลงพื้นที่หาเสียง     13.4                         28.5

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่อไปนี้

1. การรับรู้เกี่ยวกับกำหนดวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ วันที่ 11 มกราคม 2552

2. แนวโน้มการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในวันที่ 11 มกราคม 2552

3. ผู้สมัครที่ตั้งใจเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่

4. โอกาสเปลี่ยนใจไปเลือกผู้สมัครคนอื่น

5. เหตุผลหลักในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน

(Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นสุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่าง

ทั้งสิ้น 1,594 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.8 และเพศหญิง ร้อยละ 51.2

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  28 ธันวาคม 2551 - 2 มกราคม 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  2 มกราคม 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                       จำนวน         ร้อยละ
เพศ
            ชาย                          778          48.8
            หญิง                          816          51.2
รวม                                    1,594         100.0

อายุ
            18-25 ปี                      340          21.3
            26-35 ปี                      412          25.8
            36-45 ปี                      414          26.0
            46 ปีขึ้นไป                     428          26.9
รวม                                    1,594         100.0

การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี                 836          52.4
            ปริญญาตรี                      680          42.7
            สูงกว่าปริญญาตรี                  78           4.9
รวม                                    1,594         100.0

อาชีพ
           ข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ      210          13.2
           พนักงานบริษัทเอกชน               380          23.8
           ค้าขาย  ธุรกิจส่วนตัว              364          22.8
           รับจ้างทั่วไป                     230          14.4
           พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ          156           9.8
           นิสิต/นักศึกษา                    208          13.0
           อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน        46           3.0
รวม                                    1,594         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ