วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับอนาคตของรัฐบาลทักษิณภายใต้สถานการณ์ที่มีการชุมนุม
เคลื่อนไหว ในประเด็นต่อไปนี้
1. เห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อไปเพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง
2. คิดว่าการแถลงผลงานครบรอบ 5 ปีของรัฐบาลทักษิณ ในที่ประชุมสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่
ผ่านมา จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาลได้หรือไม่
3. ประชาชนพอใจผลงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาลทักษิณหรือไม่
4. คิดว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสภาพโดยรวมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
5. รู้สึกอย่างไรกับการทำงานของรัฐบาลทักษิณในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา
6. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างข้อดีกับข้อเสียแล้วคิดว่ารัฐบาลทักษิณมีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน
7. ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่
8. คิดว่ารัฐบาลทักษิณ 2 จะอยู่บริหารประเทศจนครบวาระ 4 ปีหรือไม่
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง (สำหรับกรุงเทพมหานครเก็บข้อมูลใน 28 เขตจาก 50 เขต ส่วนจังหวัด
นนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการเก็บข้อมูลจังหวัดละ 4 อำเภอ) จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,303 คน เป็นชายร้อยละ 45.5 และหญิงร้อยละ 54.5
กลุ่มตัวอย่างมี อายุ 18-25 ปีร้อยละ 36.3
อายุ 26-35 ปีร้อยละ 31.3
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 21.6
อายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 10.8
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 56.5
ปริญญาตรีร้อยละ 40.1
และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 3.4
กลุ่มตัวอย่าง ประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 16.8
ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 21.3
รับจ้างทั่วไปร้อยละ 7.4
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 29.6
พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 4.2
นิสิตนักศึกษาร้อยละ 18.6 และอื่นๆ ร้อยละ 2.1
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ จากนั้นนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนทำการบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 9-10 กุมภาพันธ์ 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 10 กุมภาพันธ์ 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีการชุมนุมประท้วงต่อไปเพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง
ประชาชนร้อยละ 61.6 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 37.7 เห็นด้วย และร้อยละ 0.7 ไม่แสดงความเห็น
2. ส่วนการแถลงผลงานครบรอบ 5 ปีของรัฐบาลทักษิณในที่ประชุมสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่าน
มานั้น ประชาชนร้อยละ 53.0 เห็นว่าไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นและลดกระแสกดดันนายกรัฐมนตรีได้ ในขณะที่ร้อยละ 28.4 เชื่อว่าการแถลง
ผลงานดังกล่าวช่วยเรียกความเชื่อมั่นและลดกระแสกดดันได้ และร้อยละ 18.6 ไม่แน่ใจ
3. สำหรับความพึงพอใจผลงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาลทักษิณ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่พอใจผลงานด้านเศรษฐกิจการเงิน การประกอบ
อาชีพ และผลงานด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต แต่ไม่พอใจผลงานด้านความมั่นคงปลอดภัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
3.1 ผลงานด้านเศรษฐกิจการเงินและการประกอบอาชีพ พอใจร้อยละ 56.1 ไม่พอใจร้อยละ 32.5 และไม่แสดง
ความเห็นร้อยละ 11.4
3.2 ผลงานด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต พอใจร้อยละ 51.8 ไม่พอใจร้อยละ 35.2 และไม่แสดงความเห็น
ร้อยละ 13.0
3.3 ผลงานด้านความมั่นคงปลอดภัย พอใจร้อยละ 39.9 ไม่พอใจร้อยละ 44.7 และไม่แสดงความเห็นร้อยละ 15.4
4. เมื่อถามถึงสภาพโดยรวมของประเทศไทยในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่ร้อยละ 56.6 เห็นว่าประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไป
ในทางที่ดีขึ้น ขณะที่ร้อยละ 20.5 เห็นว่าแย่ลง และร้อยละ 22.9 เห็นว่าเหมือนเดิม
5. สำหรับความรู้สึกที่มีต่อการทำงานของรัฐบาลทักษิณตลอดระยะ 5 ปีที่ผ่านมานั้น ร้อยละ 52.1 ระบุว่ารู้สึกสมหวัง ร้อยละ 36.3
รู้สึกผิดหวัง ส่วนอีกร้อยละ 11.6 ระบุว่ารู้สึกเฉยๆ เพราะไม่ได้คาดหวัง
6. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างข้อดีกับข้อเสียของรัฐบาลทักษิณ ประชาชนร้อยละ 39.1 เห็นว่ารัฐบาลทักษิณมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ขณะที่
ร้อยละ 19.9 เห็นว่ามีข้อเสียมากกว่าข้อดี และร้อยละ 41.0 เห็นว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียพอๆ กัน
7. ประชาชนร้อยละ 55.5 ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ขณะที่ร้อยละ 30.9 ไม่ต้องการ และร้อย
ละ 13.6 ไม่แสดงความเห็น
8. ประการสุดท้ายเมื่อถามว่าคิดว่ารัฐบาลทักษิณ 2 จะอยู่บริหารประเทศจนครบวาระ4 ปีหรือไม่ ร้อยละ 58.9 เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ครบ
วาระ มีเพียงร้อยละ 27.1 ที่เชื่อว่าอยู่ไม่ครบวาระ และร้อยละ 14.0 ไม่แน่ใจ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 593 45.5
หญิง 710 54.5
อายุ :
18-25 ปี 472 36.3
26-35 ปี 408 31.3
35-45 ปี 282 21.6
46 ปีขึ้นไป 141 10.8
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 737 56.5
ปริญญาตรี 522 40.1
สูงกว่าปริญญาตรี 44 3.4
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 219 16.8
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 277 21.3
รับจ้างทั่วไป 96 7.4
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 386 29.6
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 55 4.2
นิสิตนักศึกษา 242 18.6
อื่นๆ 28 2.1
ตารางที่ 2: เห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีการชุมนุมประท้วงต่อไปเพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 491 37.7
ไม่เห็นด้วย 802 61.6
ไม่แสดงความเห็น 10 0.7
ตารางที่ 3: คิดว่าการแถลงผลงานครบรอบ 5 ปีของรัฐบาลทักษิณในที่ประชุมสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้สามารถเรียกความเชื่อมั่นและลดกระแสกดดันให้นายกลาออกได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 370 28.4
ไม่ได้ 691 53.0
ไม่แน่ใจ 242 18.6
ตารางที่ 4: ความพึงพอใจผลงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาลทักษิณ
พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การประกอบอาชีพ 731 56.1 423 32.5 149 11.4
ด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต 674 51.8 459 35.2 170 13.0
ด้านความมั่นคงปลอดภัย 520 39.9 582 44.7 201 15.4
ตารางที่ 5: สภาพการเปลี่ยนแปลงโดยรวมของประเทศไทยในช่วงระยะ 5 ปีที่รัฐบาลทักษิณบริหารประเทศ
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 737 56.6
แย่ลง 267 20.5
เหมือนเดิม 299 22.9
ตารางที่ 6: ความรู้สึกที่มีต่อการทำงานของรัฐบาลทักษิณตลอดช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา
จำนวน ร้อยละ
รู้สึกสมหวัง 679 52.1
รู้สึกผิดหวัง 473 36.3
รู้สึกเฉยๆ เพราะไม่ได้คาดหวัง 151 11.6
ตารางที่ 7: ความคิดเห็นที่มีต่อรัฐบาลทักษิณเมื่อเปรียบเทียบระหว่างข้อดีกับข้อเสีย
จำนวน ร้อยละ
คิดว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสีย 510 39.1
คิดว่ามีข้อเสียมากกว่าข้อดี 259 19.9
คิดว่ามีข้อดีและข้อเสียพอ ๆกัน 534 41.0
ตารางที่ 8: ต้องการให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ต้องการ 723 55.5
ไม่ต้องการ 403 30.9
ไม่แสดงความเห็น 177 13.6
ตารางที่ 9: คิดว่ารัฐบาลทักษิณ 2 จะอยู่บริหารประเทศจนครบวาระ 4 ปีหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่าอยู่ครบวาระ 767 58.9
เชื่อว่าอยู่ไม่ครบวาระ 353 27.1
ไม่แน่ใจ 183 14.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับอนาคตของรัฐบาลทักษิณภายใต้สถานการณ์ที่มีการชุมนุม
เคลื่อนไหว ในประเด็นต่อไปนี้
1. เห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อไปเพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง
2. คิดว่าการแถลงผลงานครบรอบ 5 ปีของรัฐบาลทักษิณ ในที่ประชุมสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่
ผ่านมา จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาลได้หรือไม่
3. ประชาชนพอใจผลงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาลทักษิณหรือไม่
4. คิดว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสภาพโดยรวมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
5. รู้สึกอย่างไรกับการทำงานของรัฐบาลทักษิณในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา
6. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างข้อดีกับข้อเสียแล้วคิดว่ารัฐบาลทักษิณมีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน
7. ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่
8. คิดว่ารัฐบาลทักษิณ 2 จะอยู่บริหารประเทศจนครบวาระ 4 ปีหรือไม่
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง (สำหรับกรุงเทพมหานครเก็บข้อมูลใน 28 เขตจาก 50 เขต ส่วนจังหวัด
นนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการเก็บข้อมูลจังหวัดละ 4 อำเภอ) จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,303 คน เป็นชายร้อยละ 45.5 และหญิงร้อยละ 54.5
กลุ่มตัวอย่างมี อายุ 18-25 ปีร้อยละ 36.3
อายุ 26-35 ปีร้อยละ 31.3
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 21.6
อายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 10.8
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 56.5
ปริญญาตรีร้อยละ 40.1
และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 3.4
กลุ่มตัวอย่าง ประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 16.8
ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 21.3
รับจ้างทั่วไปร้อยละ 7.4
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 29.6
พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 4.2
นิสิตนักศึกษาร้อยละ 18.6 และอื่นๆ ร้อยละ 2.1
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ จากนั้นนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนทำการบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 9-10 กุมภาพันธ์ 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 10 กุมภาพันธ์ 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีการชุมนุมประท้วงต่อไปเพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง
ประชาชนร้อยละ 61.6 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 37.7 เห็นด้วย และร้อยละ 0.7 ไม่แสดงความเห็น
2. ส่วนการแถลงผลงานครบรอบ 5 ปีของรัฐบาลทักษิณในที่ประชุมสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่าน
มานั้น ประชาชนร้อยละ 53.0 เห็นว่าไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นและลดกระแสกดดันนายกรัฐมนตรีได้ ในขณะที่ร้อยละ 28.4 เชื่อว่าการแถลง
ผลงานดังกล่าวช่วยเรียกความเชื่อมั่นและลดกระแสกดดันได้ และร้อยละ 18.6 ไม่แน่ใจ
3. สำหรับความพึงพอใจผลงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาลทักษิณ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่พอใจผลงานด้านเศรษฐกิจการเงิน การประกอบ
อาชีพ และผลงานด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต แต่ไม่พอใจผลงานด้านความมั่นคงปลอดภัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
3.1 ผลงานด้านเศรษฐกิจการเงินและการประกอบอาชีพ พอใจร้อยละ 56.1 ไม่พอใจร้อยละ 32.5 และไม่แสดง
ความเห็นร้อยละ 11.4
3.2 ผลงานด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต พอใจร้อยละ 51.8 ไม่พอใจร้อยละ 35.2 และไม่แสดงความเห็น
ร้อยละ 13.0
3.3 ผลงานด้านความมั่นคงปลอดภัย พอใจร้อยละ 39.9 ไม่พอใจร้อยละ 44.7 และไม่แสดงความเห็นร้อยละ 15.4
4. เมื่อถามถึงสภาพโดยรวมของประเทศไทยในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่ร้อยละ 56.6 เห็นว่าประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไป
ในทางที่ดีขึ้น ขณะที่ร้อยละ 20.5 เห็นว่าแย่ลง และร้อยละ 22.9 เห็นว่าเหมือนเดิม
5. สำหรับความรู้สึกที่มีต่อการทำงานของรัฐบาลทักษิณตลอดระยะ 5 ปีที่ผ่านมานั้น ร้อยละ 52.1 ระบุว่ารู้สึกสมหวัง ร้อยละ 36.3
รู้สึกผิดหวัง ส่วนอีกร้อยละ 11.6 ระบุว่ารู้สึกเฉยๆ เพราะไม่ได้คาดหวัง
6. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างข้อดีกับข้อเสียของรัฐบาลทักษิณ ประชาชนร้อยละ 39.1 เห็นว่ารัฐบาลทักษิณมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ขณะที่
ร้อยละ 19.9 เห็นว่ามีข้อเสียมากกว่าข้อดี และร้อยละ 41.0 เห็นว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียพอๆ กัน
7. ประชาชนร้อยละ 55.5 ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ขณะที่ร้อยละ 30.9 ไม่ต้องการ และร้อย
ละ 13.6 ไม่แสดงความเห็น
8. ประการสุดท้ายเมื่อถามว่าคิดว่ารัฐบาลทักษิณ 2 จะอยู่บริหารประเทศจนครบวาระ4 ปีหรือไม่ ร้อยละ 58.9 เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ครบ
วาระ มีเพียงร้อยละ 27.1 ที่เชื่อว่าอยู่ไม่ครบวาระ และร้อยละ 14.0 ไม่แน่ใจ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 593 45.5
หญิง 710 54.5
อายุ :
18-25 ปี 472 36.3
26-35 ปี 408 31.3
35-45 ปี 282 21.6
46 ปีขึ้นไป 141 10.8
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 737 56.5
ปริญญาตรี 522 40.1
สูงกว่าปริญญาตรี 44 3.4
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 219 16.8
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 277 21.3
รับจ้างทั่วไป 96 7.4
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 386 29.6
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 55 4.2
นิสิตนักศึกษา 242 18.6
อื่นๆ 28 2.1
ตารางที่ 2: เห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีการชุมนุมประท้วงต่อไปเพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 491 37.7
ไม่เห็นด้วย 802 61.6
ไม่แสดงความเห็น 10 0.7
ตารางที่ 3: คิดว่าการแถลงผลงานครบรอบ 5 ปีของรัฐบาลทักษิณในที่ประชุมสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้สามารถเรียกความเชื่อมั่นและลดกระแสกดดันให้นายกลาออกได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 370 28.4
ไม่ได้ 691 53.0
ไม่แน่ใจ 242 18.6
ตารางที่ 4: ความพึงพอใจผลงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาลทักษิณ
พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การประกอบอาชีพ 731 56.1 423 32.5 149 11.4
ด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต 674 51.8 459 35.2 170 13.0
ด้านความมั่นคงปลอดภัย 520 39.9 582 44.7 201 15.4
ตารางที่ 5: สภาพการเปลี่ยนแปลงโดยรวมของประเทศไทยในช่วงระยะ 5 ปีที่รัฐบาลทักษิณบริหารประเทศ
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 737 56.6
แย่ลง 267 20.5
เหมือนเดิม 299 22.9
ตารางที่ 6: ความรู้สึกที่มีต่อการทำงานของรัฐบาลทักษิณตลอดช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา
จำนวน ร้อยละ
รู้สึกสมหวัง 679 52.1
รู้สึกผิดหวัง 473 36.3
รู้สึกเฉยๆ เพราะไม่ได้คาดหวัง 151 11.6
ตารางที่ 7: ความคิดเห็นที่มีต่อรัฐบาลทักษิณเมื่อเปรียบเทียบระหว่างข้อดีกับข้อเสีย
จำนวน ร้อยละ
คิดว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสีย 510 39.1
คิดว่ามีข้อเสียมากกว่าข้อดี 259 19.9
คิดว่ามีข้อดีและข้อเสียพอ ๆกัน 534 41.0
ตารางที่ 8: ต้องการให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ต้องการ 723 55.5
ไม่ต้องการ 403 30.9
ไม่แสดงความเห็น 177 13.6
ตารางที่ 9: คิดว่ารัฐบาลทักษิณ 2 จะอยู่บริหารประเทศจนครบวาระ 4 ปีหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่าอยู่ครบวาระ 767 58.9
เชื่อว่าอยู่ไม่ครบวาระ 353 27.1
ไม่แน่ใจ 183 14.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-