ช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี ชาวไทยเชื้อสายจีนต่างออกมาจับจ่ายซื้อของกันอย่างคึกคักเพื่อเตรียมไว้ใช้เซ่นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ ตามความเชื่อที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานับพันปี ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในตลาดแต่ละปีจำนวนไม่น้อย แต่จากปัญหาเศรษฐกิจและการระบาดของโรคไข้หวัดนก ที่เกิดขึ้นในขณะนี้อาจส่งผลต่อปริมาณการจับจ่ายใช้สอยและความมั่นใจในการบริโภคสัตว์ปีกในช่วงเทศกาลดังกล่าว ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุง เทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ตรุษจีนปี 2552 ในมุมมองคนกรุงเทพฯ” โดยเก็บข้อมูลจากคนไทยเชื้อสายจีนในเขตกรุงเทพ มหานคร ที่มาจับจ่ายซื้อของในตลาด 11 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,108 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.0 และเพศหญิงร้อยละ 52.0 เมื่อวันที่ 21- 2 มกราคม 2552 สรุปผลได้ ดังนี้
- ลดลงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 49.2
โดยให้เหตุผลว่า ต้องประหยัด เศรษฐกิจไม่ดี รายได้ลดลง เป็นต้น
- เท่าๆ กับปีที่แล้ว ร้อยละ 25.5
โดยให้เหตุผลว่า ตั้งงบประมาณพอๆ กับปีที่แล้วแต่ปริมาณของที่ได้
อาจลดลงบ้าง ราคาสินค้าไม่ต่างจากปีที่แล้วมากนัก เป็นต้น
- เพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 25.3
โดยให้เหตุผลว่า ครอบครัวใหญ่ต้องใช้ของไหว้จำนวนมาก
สินค้ามีราคาแพงขึ้น ต้องการใช้ของไหว้ที่มีคุณภาพดี เป็นต้น
- มั่นใจ ร้อยละ 70.7 (โดยมั่นใจมาก ร้อยละ 24.7 และค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 46.0) - ไม่มั่นใจ ร้อยละ 29.3 (โดยไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 26.2 และไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 3.1) 3. การรับทราบเรื่องการจัดทำสายรัดข้อขาสัตว์ปีกที่วางจำหน่ายซึ่งผ่านการตรวจแล้วว่าปลอดภัยจากเชื้อไข้หวัดนก - ทราบ ร้อยละ 42.8 - ไม่ทราบ ร้อยละ 57.2 4. เรื่องที่ตั้งใจจะอธิษฐานขอพรจากเทพเจ้าในวันตรุษจีน (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - ขอให้ค้าขายคล่อง กิจการเจริญรุ่งเรือง มีกำไร ร่ำรวยเงินทอง ร้อยละ 39.7 - ขอให้คนในครอบครัวมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร้อยละ 39.5 - ขอให้ประเทศชาติสงบสุข คนในชาติรักสามัคคีกัน ร้อยละ 7.3 - ขอให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น ร้อยละ 6.8 - อื่นๆ อาทิ ขอให้ประสบความสำเร็จในทุกๆด้าน ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ฯลฯ ร้อยละ 1.7 - ไม่ขอพรใดๆ ร้อยละ 5.0 5. ความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- มั่นใจ ร้อยละ 53.4 (โดยมั่นใจมาก ร้อยละ16.6 และค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 36.8)
- ไม่มั่นใจ ร้อยละ 46.6 (โดยไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 37.8 และไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 8.8)
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่อไปนี้
1. งบประมาณที่จะใช้จ่ายในเทศกาลตรุษจีนในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
2. ความมั่นใจในความปลอดภัยจากการบริโภคสัตว์ปีกในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้
3. การรับทราบเรื่องการจัดทำสายรัดข้อขาเป็ดและไก่ที่ผ่านการตรวจแล้วว่าปลอดภัยจากเชื้อไข้หวัดนก
4. เรื่องที่ตั้งใจจะอธิษฐานขอพรจากเทพเจ้าในวันตรุษจีน
5. ความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 31 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มตลาดที่กระจายอยู่ในเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวน 11 แห่ง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ ง่าย (Simple Random Sampling) ได้แก่ ตลาดคลองเตย ตลาดบางกะปิ ตลาดบางขุนศรี ตลาดบางแค ตลาดบางนา ตลาดพระโขนง ตลาดยิ่ง เจริญ ตลาดเยาวราช ตลาดรุ่งเจริญ ตลาดแสงจันทร์ และตลาดอุดมสุข จากนั้นจึงสุ่มเลือกประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่ม ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน1,108 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.0 และเพศหญิงร้อยละ 52.0
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน+/-4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21-22 มกราคม 2552 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 23 มกราคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 532 48.0 หญิง 576 52.0 รวม 1,108 100 อายุ 31-40 ปี 418 37.7 41-50 ปี 324 29.2 51-60 ปี 234 21.1 61 ปีขึ้นไป 132 12.0 รวม 1,108 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 680 61.4 ปริญญาตรี 380 34.3 สูงกว่าปริญญาตรี 48 4.3 รวม 1,108 100 อาชีพ ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ 74 6.7 พนักงานบริษัทเอกชน 186 16.8 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 462 41.7 รับจ้างทั่วไป 158 14.3 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 174 15.7 อื่นๆ 54 4.8 รวม 1,108 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--