กรุงเทพโพลล์: 1 เดือนรัฐบาลกับการปรับ ครม.

ข่าวผลสำรวจ Wednesday February 4, 2009 09:57 —กรุงเทพโพลล์

จากการที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ประกาศจะชุมนุมยืดเยื้อหากรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอ 4 ประการ นับตั้งแต่ให้ดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ การปลดรัฐมนตรีบางคน การยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 และการยุบสภา ท่ามกลางกระแสข่าว การปรับคณะรัฐมนตรีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศขอเวลา 3 วันในการตัดสินใจ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “1 เดือนรัฐบาลกับการปรับ ครม.” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวกรุงเทพมหานครทุกสาขาอาชีพ จำนวน 1,254 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.8 และเพศหญิง ร้อยละ 50.2 เมื่อวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้

1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอ 4 ประการที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เสนอให้รัฐบาลดำเนินการ ได้แก่

เห็นด้วย(ร้อยละ) ไม่เห็นด้วย(ร้อยละ) ไม่แน่ใจ(ร้อยละ) 1. ให้ดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาล

   สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และสนามบิน                                      59.1             29.7             11.2
2. ให้ปลดนายกษิต ภิรมย์ รมว.กระทรวงต่างประเทศออกจากตำแหน่ง              37.6             39.2             23.2
3. ให้รับร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.)
   หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 แล้วกลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 2540                28.7             49.8             21.5
4. ให้ประกาศยุบสภาทันทีหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่                         27.2             57.5             15.3

2. ความคิดเห็นต่อการนัดชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่ประกาศจะชุมนุมยืดเยื้อหากรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอ 4 ประการข้างต้น ภายใน 15 วัน

          - เห็นด้วย          ร้อยละ  23.7

โดยให้เหตุผลว่า ต้องการความชัดเจนในเรื่องการดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย

ไม่ชอบนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ และอยากได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฯลฯ

          - ไม่เห็นด้วย        ร้อยละ 76.3

โดยให้เหตุผลว่า กลัวเกิดเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย สร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ

ส่วนรวม สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น และควรให้เวลารัฐบาลได้ทำงานก่อน ฯลฯ

3. ความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี
          - เห็นว่าควรมีการปรับคณะรัฐมนตรี                              ร้อยละ  31.9

โดยรัฐมนตรีที่เห็นว่าควรถูกปรับออกมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

                    1. นายกษิต ภิรมย์  รมว.กระทรวงการต่างประเทศ               ร้อยละ  9.7
                    2. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี                    ร้อยละ  5.9
                    3. นายวิฑูรย์ นามบุตร รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ             ร้อยละ  5.5
                    4. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.กระทรวงมหาดไทย               ร้อยละ  1.9
                    5. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี                       ร้อยละ  1.5
                    นอกจากนี้ มีผู้เห็นว่าควรมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีทั้งชุด           ร้อยละ  1.0

          - เห็นว่ายังไม่ควรมีการปรับคณะรัฐมนตรีในระยะนี้                  ร้อยละ   68.1

โดยให้เหตุผลว่า การเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยๆ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ

ภาพลักษณ์ของประเทศ รัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่นานควรให้เวลามากกว่านี้

หลักฐานความผิดของรัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหายังไม่ชัดเจน ฯลฯ

4. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในภาพรวม ได้คะแนนเฉลี่ย 5.42 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10

คะแนน) (โปรดดูรายละเอียดในตารางที่ 2 หน้า 4)

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่อไปนี้

1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอ 4 ประการที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

เสนอให้รัฐบาลดำเนินการ

2. ความคิดเห็นต่อการนัดชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่ประกาศจะชุมนุมยืดเยื้อหากรัฐบาลไม่ปฏิบัติตาม

ข้อเสนอ 4 ประการ

3. ความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี

4. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในภาพรวม

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร

ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้น

สุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,254 คน

เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.8 และเพศหญิง ร้อยละ 50.2

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม

ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด

(Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล

และประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 2 กุมภาพันธ์ — 3 กุมภาพันธ์ 2552(เวลา 10.00 น.)

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 4 กุมภาพันธ์ 2552

ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                                จำนวน         ร้อยละ
เพศ
            ชาย                                   624          49.8
            หญิง                                   630          50.2
รวม                                             1,254         100.0
อายุ
            18-25 ปี                               333          26.6
            26-35 ปี                               348          27.8
            36-45 ปี                               325          26.0
            46 ปีขึ้นไป                              248          19.6
รวม                                             1,254         100.0
การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี                          588          46.9
            ปริญญาตรี                               600          47.8
            สูงกว่าปริญญาตรี                           66           5.3
รวม                                             1,254         100.0
อาชีพ
           ข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ               120           9.6
           พนักงานบริษัทเอกชน                        342          27.3
           ค้าขาย  ธุรกิจส่วนตัว                       317          25.2
           รับจ้างทั่วไป                              201          16.0
           พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                    90           7.2
           อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน และนิสิตนักศึกษา   184          14.7
รวม                                             1,254         100.0

ตารางที่ 2  รายละเอียดการให้คะแนนการทำงานของรัฐบาล
คะแนนที่ประเมินให้  จำนวน       ร้อยละ
          0           74          5.9
          1           50          3.9
          2           48          3.8
          3           73          5.9
          4          109          8.7
          5          291         23.2
          6          147         11.7
          7          216         17.3
          8          135         10.8
          9           48          3.8
          10          63          5.0
          รวม      1,254          100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ